แนวคิดทางภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อบรรเทาภาวะน้ำท่วมพื้นที่เทศบาลตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2019.2คำสำคัญ:
ภูมิสถาปัตยกรรม, การจัดการน้ำ, ภาวะน้ำท่วมบทคัดย่อ
ประเทศไทยอยู่กับภาวะนน้ำท่วมมาตลอดแต่จะสร้างความเสียหายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับลักษณะของชุมชนที่ประสบปัญหา เทศบาลตำบลหนองจ๊อม อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบททางตอนล่างของอำเภอสันทรายที่ประสบปัญหานน้ำท่วมซน้ำซากสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเรื่อยมาปัจจัยทางธรรมชาติที่ทำให้พื้นที่ประสบปัญหา เช่น ลักษณะทางภูมิกายภาพที่เป็นที่ราบนน้ำท่วมถึง การเกิดฝนตกหนาแน่นเป็นเวลาหลายวันทำให้ปริมาณนน้ำฝนสะสมในพื้นที่มาก ชุดดินเป็นชุดดินเหนียวลึกมากการระบายนน้ำเลวถึงค่อนข้างตำและอัตราการไหลซึมของนน้ำลงในดินตำ ส่วนปัจจัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ เช่น การขยายตัวของชุมชุนและการสร้างสิ่งก่อสร้างกีดขวางระบบระบายนน้ำของลำนน้ำธรรมชาติ ทางระบายนน้ำธรรมชาติและท่อระบายนน้ำสาธารณะไม่สามารถรองรับการระบายนน้ำจากพื้นที่ได้ในช่วงที่ปริมาณนน้ำสะสมในพื้นที่มาก การวางผังออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมมีแนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด มีแนวคิดและเทคนิคในการจัดการนน้ำสมัยใหม่ ไม่ใช่การระบายนน้ำออกจากพื้นที่อย่างเดียว แต่มีการจัดการนน้ำเพื่อช่วยบรรเทาภาวะนน้ำท่วมเช่น การกักเก็บนน้ำโดยใช้สระหน่วงนน้ำ การใช้พื้นที่สีเขียวหน่วงนน้ำและซึมนน้ำลงสู่ใต้ดิน โดยการวางผังออกแบบเน้นไปที่การรักษาโครงข่ายลำนน้ำธรรมชาติและวัฏจักรของนน้ำ ในบทความนี้ได้เสนอแนวคิดในการจัดการนน้ำในพื้นที่เทศบาลตำบลหนองจ๊อมที่เหมาะสมตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่นอกจากจะช่วยบรรเทาภาวะนน้ำท่วมแล้วยังเพิ่มพื้นที่สีเขียวแก่ชุมชน สร้างมูลค่าเพิ่มให้โครงการและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับชุมชนด้วย
References
Asla. (2012). 2012 Awards. Retrieved from https://www.asla.org/2012awards/026.html
Boonkham, D. (2009). kān wāng phang bō̜riwēn læ ngān bō̜riwēn. (In Thai) [Site planning]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.Harris, W. C., & Nicholas, T. D. (1995). Time-saver standards for landscape architecture (International edition). Singapore: McGraw-Hill.
Mingtipon, O., Kwosuwan, N., & Powjinda, Y. (2013). kānbō̜rihān čhatkān lumnam phư̄a banthao phāwa nam thūam phư̄nthī lumnam mǣʻō̜n tō̜n lāng. (In Thai) [Watershed management for downstream flood mitigation of Mae On watershed]. Bangkok: The Thailand Research Fund, Faculty of Architecture and Environmental Design, Maejo University.
Mingtipon, O., Powjinda, Y., & Techa, S. (2017). kānpramoē n phāwa sīang dān ʻuthokkaphai læ khwām hǣnglǣng phư̄a bō̜rihān čhatkān nam bǣp būranākān nai phư̄nthī ʻamphoē san sāi čhangwat Chīang Mai. (In Thai) [Flood and drought risk assessment for integrated water management of Sansai district, Chiang Mai province]. Bangkok: The Thailand Research Fund, Faculty of Architecture and Environmental Design, Maejo University.
Panyasook, C., & Boonkham, P. (2013). rapmư̄ nam thūam dūai nǣokhit thāng phūm sathāpattayakam. (In Thai) [Using landscape architecture to mitigate flooding]. Retrieved from http://www.tala.or.th/download/ flight_ flood.pdf
Ruengverayudh, J., Praneetvatakul, S., & Tangtham, N. (2015). kānwāngphǣn khumkhrō̜ng phư̄ nthī kasēttrakam chan dī hai koē t khwāmyangyư̄ n dōi kānmī sūanrūam khō̜ng prachāchon thō̜ngthin nai phư̄ nthī tambon hūa sai ʻamphoē bāng khlā čhangwat cha choē ng thē rā. (In Thai) [Planning for sustainable protection of high potential agricultural land use through local people participation process in Hua Sai sub-district, Bang Khla district, Chachoengsao province]. In The 53th Kasetsart University Annual Conference. Retrieved from http://annualconference.ku.ac.th/cd53/10_050_O361.pdf
Sciencedirect. (2012). 2012 Awards. Retrieved from http://www.sciencedirect.com/science/article/
pii/S136481 5206000053
Tantilertanan, N. (2011). nǣothāng nai kān wāng phang ʻō̜k bǣp phūm that phư̄a kak kep læ rabāi nam phiu din nai phư̄nthī chumchon mư̄ang. (In Thai) [Landscape design for detaining and draining surface run-off in urban area] (Unpublished master’s thesis).
Silpakorn University, Bangkok, Thailand.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ