ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวในพื้นที่ย่านเมืองเก่าท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • ปกรณ์ พัฒนานุโรจน์ สาขาวิศวกรรมโยธา คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • สุธน คงศักดิ์ตระกูล สาขาสถาปัตยกรรม คณะศิลปกรรมและออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2020.8

คำสำคัญ:

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม, ตึกแถวอาณานิคม, ย่านเมืองเก่าท่าแขก, Colonial row houses, Thakhek old town

บทคัดย่อ

ย่านเมืองเก่าท่าแขกเป็นศูนย์กลางย่านถนนการค้าดั้งเดิม ตึกแถวในย่านนี้สร้างขึ้นเพื่อรองรับกิจกรรมด้านการค้าขายและอยู่อาศัย อาคารเหล่านี้มีคุณค่าสำคัญในการเชื่อมโยงประวัติศาตร์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มาตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวในพื้นที่ย่านเมืองเก่าท่าแขก โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัย ข้อมูลการสำรวจภาคสนาม การสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์ แล้วนำมาวิเคราะห์ลักษณะทางสถาปัตยกรรมในประเด็นแผนผังการใช้พื้นที่ รูปด้านหน้า วัสดุและโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่าตึกแถวในย่านนี้แบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบอาณานิคมฝรั่งเศส ที่รับเอาอิทธิพลตะวันตกผสมผสานกับเทคนิคการก่อสร้างของช่างชาวเวียดนาม ลักษณะโครงสร้างก่ออิฐหนาฉาบปูน หลังคาทรงจั่ว และทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องดินเผา กระเบื้องลอนคู่และสังกะสี เน้นการตกแต่งลวดลายปูนปั้น และ 2) รูปแบบสมัยใหม่เป็นการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกไปตามกระแสนิยมในช่วงเวลานั้น ลักษณะโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กผนังก่ออิฐครึ่งแผ่นฉาบปูน หลังคารูปทรงหมาแหงนหรือทรงจั่วแบบต่างๆ และหลังคาคอนกรีต โครงสร้างหลังคาใช้เหล็กรูปพรรณมุงด้วยสังกะสี กระเบื้องลอนคู่และคอนกรีต ไม่เน้นการตกแต่งลวดลาย โดยตึกแถวที่ทำการศึกษาทั้ง 2 รูปแบบมีลักษณะแผนผังการใช้พื้นที่คล้ายคลึงกัน คือ ผังพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้านหน้าขนานกับแนวถนนแบ่งความกว้างช่วงเสาประมาณ 3.00-4.50 เมตร และมีความลึกประมาณ 16.00-24.00 เมตร ส่วนความสูงระหว่างชั้นประมาณ 3.50-4.00 เมตร การใช้พื้นที่ชั้นล่างเพื่อกิจกรรมค้าขาย บริการและเก็บสินค้า ส่วนชั้นบนใช้เพื่ออยู่ชั้นบนตึกแถวในย่านเมืองเก่าท่าแขก เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่รับเอาลักษณะทางสถาปัตยกรรมจากอิทธิพลจากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ตึกแถวเหล่ามีคุณค่าและความสำคัญขององค์ประกอบทางกายภาพในย่านเมืองเก่าแห่งนี้
สำหรับข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นขั้นตอนแรกในกระบวนการอนุรักษ์เมืองและย่านประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการศึกษาหาแนวทางอนุรักษ์ตึกแถว โดยเจ้าของและผู้เช่าตึกแถวให้ความสนใจเรื่องการอนุรักษ์ ซึ่งความเห็นส่วนใหญ่ต้องการรักษารูปด้านหน้าอาคารให้เหมือนเดิม และอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยวางแผนการอนุรักษ์ด้วยวิธีการ และขั้นตอนที่เป็นสากล เพื่อพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่าท่าแขก เชื่อมโยงกับย่านเมืองเก่าสะหวันนะเขตและจังหวัดนครพนมต่อไป

References

Atipattayakul, C. (2019). The Building Style Colonial in Northeast of Thailand. (in Thai) [Udon Thani Rajabhat University Journal of Humannities and Social Science]. 8 (2), 1-22.

Anolac, V. (2002). kānsưksā nǣothāng kānʻanurak yān prawattisāt nai mư̄ang kō̜ranī sưksā mư̄ang kāothā khǣk khwǣng khammūan sāthāranarat prachāthipatai prachāchon Lāo. (in Thai) [Towards the conservation of historic quarter in inner city: A case study of Tha Khek distric, Khammuane province, Lao PDR] (Unpublished master’ thesis (Urban and Regional Planning)). Ladkrabang: King Mongkut’ S institute of Technology Ladkrabang, Bangkok.

Chaimanee, A. (2016). phatthanākān khō̜ng mư̄ang læ rūpbǣp sathāpattayakam nailūang phra bāng phāitai ʻitthiphon tawantok nai yuk ʻānānikhom. (in Thai) [Urban development and architectural topologies in Luang Prabang under the Western influences during the period of colonial state]. Academic Journal: Faculty of Architecture. Khon Kaen University. 15 (2), 33-52.

Chanjanasthiti, P. (2009). kānʻanurak mō̜radok sathāpattayakam læ chumchon. (in Thai) [Conservation of architecture and community heritage]. Bangkok: Chulalongkorn.

Chulasai, B., Povatong, P., Sirithanawat C., Subsook S., Jhearmaneechotechai, P., Fusinpaiboon, C., Chaloeytoy, K., & et al. (2014). mō̜radok watthanatham Thai Lāo sō̜ng fang khōng: sathāpattayakam thī dai rap ʻitthiphon tawantok. (in Thai)[Mekhong riverside cultural heritages of Thailand-Laos: Architecture with Western influence]. Bankok: Research funding.

Day tours in Hanoi. (2010). Old Quarter Hanoi. [Online]. Retrieved fromhttps://daytourshanoi.com/guide/old-quarter-hanoi/

Department of Architecture. (1995). wiwatthanākān thīyūʻāsai khwǣng khammūan. (in Thai) [The evolution of Khammouane housing]. Vientiane: Nation University of Laos.

Evans, G. (2006). History in Laos Central Asian countries. Bangkok: Silk vermicelli.

Feilden, B. M. & Johilehto, J. (1998). Management Guidelines for World Cultural Heritage Site (2nd ed.). Rome: ICCROM UNESCO ICOMOS.

Hall, D.G.E. (1983). A History of South East Asia. London: Macmillan. Hanoi Ancient Quarter Management Department. (n.d.) The 36 Guild Streets area Hanoi’s Ancient Quarter: Historic Centre of the City’s Prosperity. Japan: Institute of International Culture.

ICOMOS and the Authors. (1993e). 15. UNESCO- Recommendation concerning the safeguarding and contemporary role of historic areas. Historic Towns. Sri Lanka: The State Printing Corporation.

Lao National Committee. (2002).ʻanurak kap kānphatthanā lūang phra bāng mư̄ang mō̜radok lōk. (in Thai) [Conservation and development of Luang Prabang World heritage city].Vientiane: Lao National Commission.

Luangphasi, D. (1992). prawattisāt Lāo khwǣng khammūan. (in Thai) [History of Laos, Khammouane district]. Khammouane: Young people.

Lynch, K. (1960). The image of the city. Cambridge, MA: MIT Press.

Maiaunya. (2010). Colonial Style. Retrieved from https://maiaunyo. files.wordpress.com/2010/09colonialarch02.jpg

Maphill. (2011). Gray Simple Map of Khammouane. Retrieved fromhttp://www.maphill.com/laos/khammouane/simple-maps/gray-map/

Mixay, S., Lafont, P. B., Glendinning, A., Engelhardt, R. A., Greck, F., Glendining, A., Rampon, L., & et al. (2004). Luang Phabang an Architectural Journey. Vientiane: Ateliers de la

Peninsule.

Peerapun, P. (2010). kotbat læ māttrathān rawāng prathēt thī kīeokhō̜ng kap kānʻanurak mư̄ang.(in Thai) [Internationnal charters and standards relating to urban conservation]. Research

Journals and material Architecture/Urban Planning (JARS). Faculty of Architecture and Uban Planning. 7 (1), 1-10.

Phusanan, W. (1996). theknōlōyī kānkō̜ ʻaʻit nai sātsanākhān ʻākhān phak ʻāsai læ ʻākhān phānit kō̜ranī sưksā: nō̜ng khāi ืnakhō̜n phanom Mukdāhān læ yasō thō̜n. (in Thai) [Technology in

brick masonry for religious building and commercial building case study: Nong Khai, Nakhon Phanom, Mukdaharn and Yasotorn]. Khon Kaen: Faculty of Architecture Khon Kaen University.

Pimolsathein, Y. (2013). praden wikrit rư̄ang kānʻanurak chumchon prawattisāt nai mư̄ang samrap prathēt Thai. (in Thai) [Critical issues on the conservation of historic community for

Thailand]. Gables: About the Historic Architecture and Architecture Journal, 9 (1), 101-119.

Singyabuth, S. (2010). lūang phra bāng mư̄ang mō̜radok lōk rātchathānī hǣng khwām song čham læ phư̄nthī phithīkam nai krasǣ lōkāphiwat. (in Thai) [Luang Prabang the world cultural heritage : Memories of royal city, ritual space and globalization]. Bangkok: Saytan.

Srikeaw, T. (2015). laksana thāng sathāpattayakam khō̜ng yān tưkthǣo mư̄ang kāonakhō̜n phanom.(in Thai) [Architectural characteristics of row house in Nakhon Phanom old town] (Unpublished master’’ Thesis (Architecture)). Khon Kaen: Khon Kaen University.

Suchaya, C. (2009). kānʻanurak mư̄ang. (in Thai) [Urban conservation]. Bangkok: Department of Urban Design and Planning Faculty of Architecture, Silpakorn University.

Sukporn, C. (2015). kān wikhro̜ rūpbǣp sathāpattayakam si mō̜ʻī sān thī dai rap ʻitthiphon čhāk chāngyūan. (in Thai) [National Academic Conference “Paradigm Architecture” 2015].

Bangkok: Faculty of Architecture Silpakorn University.

Teerasasawat, S. (2009). čhakkrawatniyom nư̄a mǣnam khōng. (in Thai) [Imperialism over the Mekong River]. Special art and culture. Bangkok: Matichon.

Temtananan, P. (2011). kān phœ̄m prasitthiphāp kānchai sǣng thammachāt samrap ʻākhān phānit praphēt tưkthǣo. (in Thai) [Increasing Daylight Performance of Typical Shophouses] (Unpublished master’ thesis (Architecture)) .Thammasat University, Pathum Thani.

The Australian National University. (2017). Loas Base. [Online]. Retrieved July 26, 2019, Retrieved from http://asiapacific.anu.edu.au/mapsonline/base-maps/laos-base

Walalipohom, S. (2010). phāk tawanʻō̜k kap kānsưksā prawattisāt thō̜ngthin. (in Thai) [Heretic view: Grography-Landscape Tang Ban Paeng Muang]. Bangkok: Ancient City.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-06

How to Cite

พัฒนานุโรจน์ ป., & คงศักดิ์ตระกูล ส. (2020). ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของตึกแถวในพื้นที่ย่านเมืองเก่าท่าแขก แขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว . สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 19(2), 23–41. https://doi.org/10.14456/bei.2020.8