การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิกส์

ผู้แต่ง

  • ภัทรพล - เรืองศรี อาจารย์พิเศษ สาขาวิชาออกแบบเซรามิกส์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง อาจารย์ประจำ ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา อาจารย์ประจำ ภาควิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

วัสดุเหลือใช้เซรามิกส์, เซรามิกส์พรุน, กำลังรับแรงอัด, คอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น, Ceramic waste, Porous ceramic, Compressive strength, Interlocking concrete paving blocks

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้อง          เซรามิกส์ 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้อง          เซรามิกส์ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิกส์ และ 4) เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิกส์ โดยการนำวัสดุเหลือใช้เซรามิกส์ประเภทกระเบื้องรีด           (หลังเผา) มาทำการศึกษาและพัฒนาวัสดุด้วยกระบวนการใช้ประโยชน์ในรูปแบบของเซรามิกส์พรุน โดยมีปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสาน โดยใช้หลักทฤษฎีวัสดุเชิงวิศวกรรมมาใช้ในการศึกษาวิจัย ซึ่งจากผลการศึกษากระบวนการใช้ประโยชน์ พบว่า กระบวนการใช้ประโยชน์ กระบวนการที่ 1 สูตร PCS7 ในรูปแบบของเซรามิกส์พรุนที่มีอนุภาคขนาดเล็ก (ขนาดอนุภาค 11.65 ไมครอน) มีความเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งวัสดุที่ได้มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กที่ผิวและมีผิวเรียบ มีค่ากำลังรับแรงอัดอยู่ที่ 57.61 เมกะปาสคาล และมีการใช้ปริมาณวัสดุเหลือใช้เซรามิกส์อยู่ที่อัตราส่วน          ร้อยละ 70 โดยจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น พบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ รูปแบบที่ 2 ซึ่งมีค่าการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด (= 4.51, S.D. = 0.55) และจากผลการทดสอบผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) พบว่า ผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิกส์ ผ่านตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ 827-2531 ทุกรายการ และในส่วนของผลการประเมินระดับความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นจากวัสดุเหลือใช้ในอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิกส์ พบว่า ในส่วนของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัสดุเหลือใช้เซรามิกส์ กรณีศึกษา บริษัท เคนไซ ซีรามิคส์ อินดัสตรี้ จำกัด มีค่าการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด               (= 4.52, S.D. = 0.46) ในส่วนของกลุ่มผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น มีค่าการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด (= 4.63, S.D. = 0.44) และในส่วนของกลุ่มผู้ที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้น มีค่าการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด                  (= 4.80, S.D. = 0.37)

ทั้งนี้จากการศึกษาวิจัยสามารถสรุปได้ว่า วัสดุเหลือใช้เซรามิกส์ประเภทกระเบื้องรีด (หลังเผา) สามารถนำมาเข้าสู่กระบวนการใช้ประโยชน์และพัฒนาเป็นวัสดุประเภทเซรามิกส์พรุนที่มีความแข็งแรง ทนทาน ด้วยวิธีการอัดแบบ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทคอนกรีตบล็อกประสานปูพื้นให้มีรูปทรงที่แปลกใหม่ น่าสนใจ มีลักษณะทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลที่ดี ผ่านตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เลขที่ 827-2531 ที่ได้กำหนดไว้ รวมถึงสามารถนำมาใช้ในกระบวนการผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี

References

กวี หวังนิเวศน์กุล. 2558. วัสดุวิศวกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ รุ่งแสงการพิมพ์.

คมสัน มาลีสี. 2555. ปฏิบัติการคอนกรีตเทคโนโลยี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

วรพงษ์ เทียมสอน. 2555. เซรามิกเพื่อการก่อสร้างและเซรามิกเพื่องานเทคนิค. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. 2539. เครื่องจักสานในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย. 2555. บัญชีของเสียที่เป็นแหล่งทรัพยากรทดแทน.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์สารสนเทศโรงงานอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2559. สถิติโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบ
กิจการ ขยายกิจการ และเลิกกิจการ ในรอบปี 2551 – 2559. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. 2531. มาตรฐานเลขที่ มอก. 827-2531 คอนกรีตบล็อก
ประสานปูพื้น. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

สำนักบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม. 2556. หลักเกณฑ์คุณสมบัติของเสียที่เหมาะสมในการ
นำมาใช้ประโยชน์ในระดับอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวงอุตสาหกรรม.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. 2550. พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อำพล วงศ์ษา และวันชัย สะตะ. 2556. “การใช้เศษวัสดุเป็นส่วนผสมในคอนกรีตพรุน.” ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุดมศักดิ์ สาริบุตร. 2549. เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-25