ภูมินิเวศวิทยาในวัฒนธรรมล้านนากับแนวทางการบูรณาการทางภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อลดผลกระทบทางอุทกวิทยาน้ำผิวดินจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดิน กรณีศึกษาแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน

ผู้แต่ง

  • ยุพเรศ สิทธิพงษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ยุทธนา ทองท้วม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2019.1

คำสำคัญ:

ภูมินิเวศวัฒนธรรม, ภูมินิเวศ, สิ่งปกคลุมผิวดิน, อุทกวิทยา, แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน

บทคัดย่อ

บทความนี้กล่าวถึงประเด็นของการเปลี่ยนแปลงลักษณะสิ่งปกคลุมผิวดินในภูมินิเวศวัฒนธรรมล้านนาผ่าน กรณีศึกษาแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน เพื่อสังเคราะห์พื้นที่กรณีศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับภูมิปัญญาการจัดการน้ำในภูมินิเวศ วัฒนธรรมล้านนา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินในอดีต และปัจจุบัน โดยมีแนวทางทาง ภูมิสถาปัตยกรรมเป็นฐานความคิด ผลจากการสังเคราะห์พื้นที่กรณีศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่และบทบาทหน้าที่ของโครงสร้างภูมินิเวศซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่นั้น ตลอดจนการเข้าไปใช้ประโยชน์จากภูมินิเวศของมนุษย์ ในภูมินิเวศวัฒนธรรมล้านนาด้วยผลการศึกษาพบว่าโครงสร้างภูมินิเวศสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นระเบียงภูมินิเวศของภูมินิเวศวัฒนธรรมล้านนา ในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน ประกอบด้วย ลำห้วย ลำเหมืองฝาย และผืนนา เชื่อมโยงกันเป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ที่ส่งผล
ถึงกันทั้งหมดตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยในรอบ 20 ปี พื้นที่แอ่งเชียงใหม่-ลำพูนมีพื้นที่สิ่งปกคลุมผิวดินประเภทพืชพรรณลดลงร้อยละ 15 ทำให้สัดส่วนพื้นที่สิ่งปกคลุมผิวดินประเภทซึมน้ำได้ดีต่อพื้นที่สิ่งปกคลุมผิวดินประเภทซึมน้ำต่ำลดลงจาก 6:1 เป็น 3:1 ส่งผลให้ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำฝนสะสมกับปริมาณ น้ำหลากบนผิวดินบริเวณพื้นที่กลางน้ำ และปลายน้ำเพิ่มขึ้นจาก 46 เป็น 50 และ 59 เป็น 67 ตามลำดับ มีผลทำให้ ปริมาณน้ำผิวดินเพิ่มขึ้น และอัตราการไหลสูงสุดของน้ำในลำน้ำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการรักษาโครงสร้างภูมินิเวศ เช่น การอนุรักษ์โครงข่ายลำเหมือง การฟื้นฟูทางน้ำในอดีต หรือ การควบคุมบริเวณเพื่อการขยายตัวของเมือง จะเป็นการช่วยลดผลกระทบทางอุทกวิทยาที่อาจเกิดขึ้นได้

References

Reference
Anderson, R., J., Hardy, E. E., Roach, J. T., & Witmer, R. E. (2001). A land use and land cover classification system for use with remote sensor data (U.S.G.P. O). Washington, DC: United States Government Printing Office.

Charernsupkul, A., & Temiyabandha, V. (1996). rư̄anlānnā Thai læ praphēnī kān plūk rư̄an. (In Thai) [Northern Thai domestic architecture and rituals house building]. Bangkok: Thammasat Printing House (Thaprachan). Cook, T. W., & Vanderzanden, A. M. (2011). Sustainable landscape management: Design, construction, and maintenance. New York, NY: John Wiley & Sons.

Forman, R. T. T., & Godron, M. (1986). Landscape ecology. New York, NY: John Wiley & Sons.

Kayan, C. (2012). kānʻō̜kbǣp sư̄ phư̄a hai khwāmrū kīeokap phūm sathāpattayakam lānnā. (In Thai) [Media design for Lanna landscape architectural education in Chiang Mai] (Unpublished master’s thesis). Chiang Mai University, Thailand.

Kruaraya, T. (2017). rư̄anlānnā kap withī chīwit. (In Thai) [Lanna house and way of life]. Chiang Mai Thailand: The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University.

Marsh, W. M. (2005). Landscape planning: Environmental applications (4th ed.). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Mays, L. W. (2005). Water Resources Engineering (2nd ed.). New York, NY: John Wiley & Sons.

McHarg, I. L. (1971). Design with nature. Garden City, NY: Doubleday/Nature History Press.

Poolsawat, C. (2009). kānʻō̜kbǣp lānnāsapā dōi chai saphāpwǣtlō̜m kāiyaphāp khō̜ng rư̄an phư̄n thin Chīang Mai. (In Thai) [Lanna spa design using Chiang Mai’s vernacular house physical environment] (Unpublished master’s thesis). Chiang Mai University, Thailand.

Rinchumphu, D., & Anambutr, R. (2017). kānkamnot khā kān sưm dai khō̜ng nam fon lai nō̜ng bon sūan sap nam fon samrap ngān phūm sathāpattayakam. (In Thai) [Determination of stormwater runoff infiltration on rain water absorbing garden for landscape architecture]. JED: Journal of Environmental Design, 4(2), 84-101.

Taitakoo, D. (2005). khrongsang choeng pariphum khong phum that kap kan wikhro lae kan sang baepchamlong : kan thopthuan thang thruesadi khong krabuankan choeng pariman thang phum niwetwitthaya. (In Thai) [Landscape spatial structure and spatial analysis and modelling : A theoritical review of quantitative methods in landscape ecology].

Academic Journal of Architecture, Chulalongkorn University, 1/2005 (Landscape Architecture to the Society, Department of Landscape Architecture). Retrieved from http://www.land.arch.chula.ac.th/pdf/landspatial.pdf

Taweepetch, P. (1999). kānprayukchai rūpbǣp “khūang” kap kānphatthanā thī lōng nai mư̄ang : kō̜ranī sưksā mư̄ang Chīang Mai. (In Thai) [The application of “Khuang” in urban open space development: A case study of Muang Chiangmai] (Unpublished master’s thesis). Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Thai Green Building Instituteng of Energy and Environment. (2010). ken kan pramoen khwam yangyuen thang phalangngan lae singwaetlom thai samrap akhan rawang chai-ngan. (In Thai) [Thai’s Rating of Energy and Environmental Sustainability for Existing Building]. Bangkok, Thailand: Thai Green Building Institute (TGBI).

Thangkaw, T. (2005). kānsưksā withī chīwit læ khwām chư̄a. (In Thai) [A study on Lanna ways of life and beliefs from Lanna inscriptions] (Unpublished master’s thesis). Silpakorn University, Bangkok, Thailand.

The Federal Interagency Stream Restoration Working Group. (2001). Stream corridor restoration: principles, processes, and practices. USA: Natural Resource Conservation Service.

The United Nations Environment Programme & The Food and Agriculture Organization of the United Nations. (2005). Land Cover Classification System (LCCS), version 2: Classification concepts and user manual. Rome: The Food and Agriculture Organization of the United Nations, Environment and Natural Resources Service Series.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-07

How to Cite

สิทธิพงษ์ ย., & ทองท้วม ย. (2019). ภูมินิเวศวิทยาในวัฒนธรรมล้านนากับแนวทางการบูรณาการทางภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อลดผลกระทบทางอุทกวิทยาน้ำผิวดินจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดิน กรณีศึกษาแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 18(1), 19–35. https://doi.org/10.14456/bei.2019.1