บทบาทของความเชื่อและเพศสภาวะที่มีต่อการจัดการพื้นที่ในเรือนกลุ่มไทพวนในเชียงขวาง สปป. ลาว
คำสำคัญ:
แบบแผนเรือนพื้นถิ่น, ไทพวน, การจัดการพื้นที่เรือน, ความเชื่อ, เพศสภาวะบทคัดย่อ
ในบรรดากลุ่มผู้พูดภาษาตระกูลไททั้งหลาย กลุ่มไทพวนเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจในประเด็นแบบแผนการจัดการพื้นที่ภายในเรือน ซึ่งสะท้อนความเชื่อทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้เป็นกรอบในการอยู่อาศัยร่วมกัน การศึกษานี้จึงตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับโลกทัศน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทพวน เกี่ยวกับความเชื่อ โดยเฉพาะ ความเชื่อเรื่องผี สถานะทางสังคมและเพศสภาวะ ที่มีผลกับการจัดการในเรือนพื้นถิ่น โดยเฉพาะลำดับศักดิ์ของที่ว่าง โดยที่ว่างนั้นๆ มักมีนัยของหน้าที่และมีความหมายแฝงอยู่ด้วยเสมอ ในเรือนไทพวนเชียงขวาง สปป.ลาว มีการจัดการพื้นที่ที่มีลำดับศักดิ์ของที่ว่างสัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องผีกับเพศสภาวะ คือ ส่วนหน้าของเรือนสัมพันธ์โดยตรงกับความเชื่อที่กำหนดให้พื้นที่ที่มีผีควบคุมอยู่มีศักดิ์สูงกว่าด้านหลังเรือน ผู้ชายครองปริมณฑลส่วนหน้าของเรือน สำหรับผู้หญิงซึ่งถือบทบาทดูแลความเป็นอยู่ของสมาชิกในครัวเรือนนั้น จะครองปริมณฑลส่วนในซึ่งส่วนใหญ่เป็นด้านหลังของเรือน
บทความนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของความเชื่อและบทบาทของเพศสภาพที่กำหนดแบบแผนการใช้พื้นที่เรือนที่ยังไม่ค่อยได้มีการอภิปรายในประเด็นนี้มากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาถึงบทบาทของเพศสภาวะเป็นส่วนหนึ่งในการทำความเข้าใจและชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์รวมไปถึงการอธิบายกลไกการก่อรูปทางสถาปัตยกรรมกลุ่มไทพวนผ่านมิติทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งแนวคิดเหล่านี้มีส่วนในการกำหนดคุณลักษณะของที่ว่าง อันถือได้ว่าเป็นปฐมบทของลักษณะร่วมของการก่อรูปสถาปัตยกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท และมีส่วนเติมเต็มความรู้และการวิจัยสถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมกลุ่มผู้พูดภาษาตระกูลไท ที่การกระจายตัวอย่างกว้างขวางและได้รับการพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาอย่างต่อเนื่องนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
References
ฉลาดชาย รมิตานนท์. 2550. เล่าเรื่องเบื้องต้นสตรีนิยมศึกษา. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
ทรงยศ วีระทวีมาศ, นพดล ตั้งสกุล, จันทนีย์ วงศ์คำ และ สุดจิต สนั่นไหว. 2547. สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมในเรือนลาวหลวงพระบางและเชียงขวาง. ม.ป.ท.
ปราณี วงษ์เทศ. 2549. เพศสภาวะในสุวรรณภูมิ (อุษาคเนย์). กรุงเทพฯ: มติชน.
พูมี พงวิจิด. 2546. พิษณุ จันทร์วิทัน (แปล). ในความทรงจำของพูมี วงวิจิด. กรุงเทพฯ: แมชชีนมัลติมีเดียกรุฟ.
วิรดา สมสวัสดิ์. (บรรณาธิการ). 2545. พลวัตสังคมผ่านสายถามนักวิชาการไทย: หกสิบปีฉลาดชาย รมิตานนท์. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
วีระ อินพันทัง. 2556. “ความเชื่อกับสถาปัตยกรรม”. ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (บรรณาธิการ). ด้วยรัก เล่มที่ 8: ศาสนาและความเชื่อกับสังคม. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์. หน้า 279-304.
สุชาดา ทวีสิทธิ์. 2547. เพศภาวะ: การท้าทายร่าง การค้นหาตัวตน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
________. 2550. “มานุษยวิทยา อุษาคเนย์ และชาร์ลล์ คายส์”. วารสารสังคมศาสตร์. 19(1): 311-357.
อรศิริ ปาณินท์ และ นพดล จันทวีระ. 2554. บ้านและเรือนพวนเชียงขวาง: การกลับมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่เดิม. กรุงเทพฯ: อุษาคเนย์.
Rendell, J., Penner, B., Boden, I. (eds.). 2000. Gender pace Architecture: An Interdisciplinary Introduction. New York: Taylor and Francis Group.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ