ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบศาลา พันธุ์ไผ่ และวัสดุประกอบในการก่อสร้างศาลาไม้ไผ่ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
คำสำคัญ:
การก่อสร้างด้วยไผ่, ศาลาไม้ไผ่, พันธุ์ไผ่, วัสดุประกอบบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบศาลา พันธุ์ไผ่ และวัสดุประกอบ (2) แบบศาลาที่ทำการก่อสร้าง อันเป็นภูมิปัญญาที่เกิดจากประสบการณ์ของช่างท้องถิ่น โดยวิธีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจ สัมภาษณ์ รังวัด และสังเกตการณ์การก่อสร้าง บริเวณตลาดชุมชนโคกโจด อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม ประกอบไปด้วย 1) ศาลาขนาดเล็ก 1.20 X 2.00 ม. 2) ศาลาขนาดกลาง 2.00 X 2.00 ม. 3) ศาลาขนาดใหญ่ 2.00 X 3.00 ม. สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
ประเด็นที่ 1 “ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบศาลา พันธุ์ไผ่ และวัสดุประกอบ” สรุปได้ว่า มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอันเกิดจากปัจจัยทางด้านคุณสมบัติทางกายภาพและเชิงกลของไผ่แต่ละสายพันธุ์ กล่าวคือ (1) ในองค์ประกอบศาลาส่วนที่เป็นเสาโครงสร้างหลัก (Superstructure) พบการใช้ไผ่ป่าและไผ่บ้านแบบเต็มลำเท่านั้น อันเนื่องมาจากกำลังรับแรงอัดขนาดเสี้ยนที่มากถึง 400-700 ksc และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8-16 ซม. ส่งผลให้ไผ่ทั้งสองชนิดมีความเหนียวของผิวไผ่และความหนาของเนื้อไผ่ ดังนั้นการใช้วัสดุประกอบจึงสัมพันธ์กับคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้เกิดการใช้ตะปูตอกไม้ขนาด 3” และ 2 ½” ซึ่งไม่ทำให้ผิวไผ่แตกเนื่องมาจากแรงกระแทกหรือแรงเสียดทาน (Friction) ระหว่างผิวไผ่กับผิวตะปู (2) ในองค์ประกอบศาลาส่วนอื่นๆหรือส่วนปิดล้อม (Enclosure) พบการใช้ไผ่สร้างไพรแบบเต็มลำและแบบผ่าซีก ซึ่งมีกำลังรับแรงอัดขนานเสี้ยนอยู่ที่ 386-400 ksc และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-6 ซม. พบรอยต่อแบบสอดลำไผ่ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า เข้าไปในลำไผ่ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า (Positive fitting joint or Ladder joint) และพบการใช้วัสดุประกอบประเภทลูกแม็กลมขาเดี่ยวเบอร์ F25, F30 ในองค์ประกอบศาลาส่วนต่างๆ ยกเว้นบริเวณแป้นปูพื้น ที่ใช้ลูกแม็กลมขาคู่ เบอร์ 416J เท่านั้น อันเป็นผลมาจากการใช้งานและคุณสมบัติของไผ่ที่จะเหี่ยวลงเล็กน้อยหลังการเก็บเกี่ยวหากไผ่นั้นยังไม่แห้งพอ
ประเด็นที่ 2 “แบบศาลาที่ทำการก่อสร้าง” สรุปได้ว่า พบรูปแบบที่เรียกว่า ทรงกระท่อม ซึ่งมีความกว้างของระยะเสา(Span) มากที่สุดไม่เกิน 2.00 ม. ยาวมากที่สุดไม่เกิน 3.00 ม. เป็นผลมาจากปัจจัยทางด้านการขนส่งโดยรถกระบะ ซึ่งมีระยะบรรทุกอยู่ที่ 1.50 X 2.30 ม. ส่งผลให้มีระยะยื่นในการบรรทุกได้ไม่เกิน 2.10 X 3.00 ม. ตามมาตรฐานกฎหมายกรมการขนส่งทางบก
ในการศึกษานี้มุ่งเน้นการลงพื้นที่ภาคสนามร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นรวมถึงจัดเรียงและคัดแยกข้อมูลการก่อสร้างศาลาไม้ไผ่ในท้องถิ่นให้เป็นระบบ สามารถใช้ประโยชน์ในการเป็นฐานข้อมูลเพื่อออกแบบและก่อสร้างศาลารูปทรงอื่นๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการต่อยอดการพัฒนางานไผ่ในระดับท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างต่อไป
References
กิตติสันต์ ศรีรักษา. 2553. "เถียงนา : รูปแบบและการใช้งานในวัฒนธรรมข้าวของชาวนาอิสาน".
วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(2): 46-62.
กรมป่าไม้. 2556. คุณสมบัติของไม้ไผ่บางชนิดเพื่อการก่อสร้าง. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้.
ณฤทธิ์ ไชยศรี . 2547. โครงสร้างไม้ไผ่ช่วงพาดกว้าง. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทรงเกียรติ เที้ยธิทรัพย์. 2545. เทคนิคการก่อสร้างอาคารด้วยไม้ไผ่ การออกแบบและการก่อสร้างอาคารตัวอย่าง
ณ พื้นที่ โครงการพัฒนาดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพัฒน์ บุญสนาน. 2557. "Cool down resort". Room magazine. 12(1): 133-137.
ธนา อุทัยภัตรากูร. 2559. โครงการออกแบบและก่อสร้างหอศิลป์ไม้ไผ่. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์
มหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรม) สถาบันอาศรมศิลป์.
ธนา อุทัยภัตรากูร. 2558. “ชายผู้เปลี่ยนดินและไม้ไผ่ให้เป็นบ้าน”. OKMD. 1(1): 16-18.
ปรัชญา ยังพัฒนา และ ระวี ถาวร. 2557. ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย : ความหลากหลายชนิดและการใช้ประโยชน์ไผ่ใน
ประเทศไทย.กรุงเทพฯ: ดูมายเบส.
ปณิตา วงศ์มหาดเล็ก. 2549. วัสดุและการก่อสร้างเรือนพื้นถิ่นในการอยู่แบบยั่งยืนของไทย. กรุงเทพฯ:
ศูนย์พัฒนาระบบและวัสดุก่อสร้าง การเคหะแห่งชาติ.
ปริญญ์ สะเหมาะสมาน. 2557. การทดสอบไม้ไผ่เพื่อใช้ในการก่อสร้างขื่อ ในโครงสร้างหลังคา. วิทยานิพนธ์
สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เปรมยุดา ชมพูคำ. 2557. การเปรียบเทียบการใช้วัสดุก่อสร้างของเรือนพื้นถิ่นในปัจจุบันกับเรือนพื้นถิ่นอิสานดั้งเดิม กรณีศึกษา หมู่บ้านห้วยซัน ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต (เทคโนโลยีสถาปัตยกรรม) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
วิโรฒ ศรีสุโร. 2538. เถียงนาอิสาน: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานีอุดรธานียโสธร กาฬสินธุ์และสกลนคร.
ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุปรีดี ฤทธิรงค์. 2554. Thai Bamboo: Material Explored. กรุงเทพฯ: G7 Publication.
แสงอรุณ รัตกสิกร และ นิจ หิญชีระนันทน์. 2551. ลักษณะไทย: วัฒนธรรมพื้นบ้าน.กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ.
ระวี ถาวร และ รัตนติกา เพชรทองมา. 2557. ไผ่กับวิถีชีวิตคนไทย: องค์ความรู้ และรูปแบบการจัดการของท้องถิ่น.
กรุงเทพฯ: ดูมายเบส.
Baumann, R. 1912. Tests on the Elasticity and Strength of Bamboo, Acacia, Ash and Hickory
Timbers. Düsseldorf German: Vereines deutscher Ingenieure.
Brunskill, R.W. 2000. Vernacular Architecture: An Illustrated Handbook. 4th Edition. London: Faber and Faber Limited.
Debour, D. 2008. Bamboo building essentials. California: DeBoer Architects.
Janssen, J.A. 2000. Designing and Building with Bamboo. Netherlands: Technical University of Eindhoven.
Katepetch, C. and Rittironk, S. 2015. Study Selecting Criteria of Construction System for Bamboo Construction. 10th World Bamboo Congress, Korea.
Korner, M. and Norby, R. 2007. CO₂ Fertilization: When, Where, How much? . Terrestrial
Ecosystems in a Changing World Series: Global Change The IGBP series. Berlin: Springer publishing.
Laroque, P. 2007. Design of a Low Cost Footbridge. Massachusetts: Department of Civil and
Environmental Engineering, Massachusetts Institute of Technology.
Liese, W. 1985. Anatomy and Properties of Bamboo. Beijing: The Chinese Academy of Forestry.
Lopez, O.H. 2003. Bamboo The Gift of Gods. Columbia: D’vinni.
Marsh, J and Smith, N. 2006. "New Bamboo Industries and Pro-poor Impacts: Lessons from China and Potential for Mekong Countries". International Conference on managing forests for poverty reduction: capturing opportunities in forest harvesting and wood processing for the benefit of the poor. Ho-Chi Minh City, Veitnam.
Pinzón, T. M. and Tistl, M. 2007."Preservation of the Guadua angustifolia Kunth by submersion in aqueous boron solutions: The influence of temperature, concentration and duration of submersion in aqueous boron solutions on the effectiveness of the preservation of Colombian bamboo (Guadua angustifolia Kunth)". Bamboo Science and Culture: The Journal of the American Bamboo Society. 20(1): 21-25.
Stamm, J. 2005. "Vom Deutschen Handwerk zu Kolumbianischen Bambusbrücken". In Tagungsband von Bambusbau-Symposium. Schoss Dyck, Germany.
Uno, S. 1932. Studies on Bamboo: Relations between Chemical Composition and Strength. Japan. Bulletin of the Utsunomiya Agricultural College.
Widyowijatnoko, A. 2012. Conventional vs. Substitutive Bamboo Construction: The
Classification of Bamboo Construction. Germany: Faculty of Architecture RWTH
Aachen.
Yu, XB. 2007. Bamboo: Structure and Culture. Inaugural-Dissertation zur Erlangung des Grades eines Doktors der Philosophie (Dr. Phil.) im Fachbereich Kunst und Design der Universität Duisburg-Essen.
บรรณานุกรมสัมภาษณ์
เดชา เตียงเกตุ. ผู้สร้างอาคารโรงเรียนปัญญาเด่น จ.เชียงใหม่. สัมภาษณ์โดย ปวิตร สุวรรณเกต. 19 มิถุนายน 2554.
เดชา เตียงเกตุ. ผู้สร้างอาคารโรงเรียนปัญญาเด่น จ.เชียงใหม่.สัมภาษณ์โดย ธนา อุทัยภัตรากูร. 6 พฤษภาคม 2555.
ธงชัย ชาญสมัคร. เจ้าของจักรยานไม้ไผ่ Brown Bike จ.เชียงใหม่. สัมภาษณ์โดย รัชนูพรรณ คำสิงห์ศรี. ใน การอบรมเชิงปฎิบัติการงานโครงสร้างไม้ไผ่เบื้องต้น. 17-19 มิถุนายน 2559
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ