การปรับปรุงระบบแสงสว่าง ศูนย์อาหารและบริการ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล

คำสำคัญ:

อาคารมหาวิทยาลัย, การปรับปรุงแสงสว่าง, แสงธรรมชาติ, แสงประดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอปัญหาและแนวทางการปรับปรุงระบบแสงสว่างของอาคาร ศูนย์อาหารและบริการ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นอาคารเปิดบริการแก่บุคลากรและนักศึกษามีการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง  อาคารมีพื้นที่ 22,000 ตารางเมตร ความสูง 4 ชั้น พื้นที่หลักที่ใช้งานสำหรับชั้นที่จอดรถเป็นที่จอดรถ ชั้นที่ 1 - 3 เป็นพื้นที่รับประทานอาหารและร้านค้าเช่าบริการการสำรวจเบื้องต้นพบว่าอาคารนี้มีปัญหาหลักด้านปริมาณแสงสว่างที่อาจไม่เพียงพอกับการใช้งาน งานศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักได้แก่ (1) การสำรวจศึกษาแสงสว่างในอาคาร และจำลองแสงสว่างในอาคารโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรม Dialux 4.13 เพื่อหาค่าเฉลี่ยแสงสว่างในช่วงเวลาและสภาพแสงในลักษณะต่างๆ ได้แก่ การให้แสงสว่างของอาคารโดยแสงธรรมชาติ (Daylighting) แสงประดิษฐ์ในเวลากลางคืน (Artificial lighting) และการใช้แสงธรรมชาติร่วมกับแสงประดิษฐ์ และ (2) วิเคราะห์ผลการศึกษาและนำเสนอแนวทางการให้แสงสว่างของอาคารที่เหมาะสมตามเกณฑ์ด้านปริมาณแสงสว่างและคุณภาพแสงสว่างสำหรับอาคาร ผลการศึกษาพบว่าแสงธรรมชาติเพียงพอสำหรับการใช้งานในพื้นที่ในช่วงเวลากลางวัน ยกเว้นบางพื้นที่ในชั้นที่ 2 การปรับวงจรการเปิดและปิดดวงโคม ให้สอดคล้องกับการกระจายแสงธรรมชาติที่เข้าสู่อาคาร จะเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบแสงสว่างได้  เมื่อพิจารณาการใช้งานช่วงกลางคืน ต้องมีการปรับและเพิ่มดวงโคม 114 ดวงโคม และเพิ่มจำนวนหลอดไฟในดวงโคมเดิมเพื่อให้มีค่าความสว่างเฉลี่ยของแต่ละพื้นที่ได้ปริมาณขั้นต่ำ แนวทางการปรับปรุงด้านคุณภาพเพื่อให้ระบบแสงสว่างดีขึ้น ได้แก่ การเปลี่ยนอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพ การจัดการการใช้พื้นที่ชั้นที่ 3 ให้มีการใช้งานตามช่วงเวลาและปิดการใช้ในเวลา 19:00 - 7:00 น. เพื่อลดการใช้พลังงานในระบบแสงสว่าง และการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Photovoltaic system) บนหลังคาด้านทิศใต้ ขนาดแผงละ 300 วัตต์ จำนวน 64 แผง ที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อใช้กับดวงโคม ที่เปิดในพื้นที่ที่แสงธรรมชาติไม่เพียงพอของชั้นที่จอดรถและชั้นที่ 1 จำนวนทั้งหมด 226 โคม และใช้กับพัดลมโคจรติดผนัง ขนาด 78 วัตต์ ได้อีก 19 ตัวได้เพียงพออย่างน้อย 5 ชั่วโมง ในช่วงเวลากลางวัน

Author Biography

ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล

อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

เอกสารอ้างอิง
กฎกระทรวงมหาดไทย .2537. กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522, กฎกระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงแรงงาน. 2549. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง สำหรับพื้นที่ต่างๆในการทำงาน และอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.

จักรกฤษณ์ จันทรศิริ และ สิงห์ทอง พัฒนเศรษฐานนท์. 2558. "ความแม่นยำของแบบจำลองแสงสว่างจากท้องฟ้าเพื่อการประยุกต์ใช้งานแสงธรรมชาติ ร่วมกับแสงประดิษฐ์ พื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ประเทศไทย". ใน การประชุมวิชาการ งานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ ครั้งที่ 7. ตรัง: ECTI-CARD 2015. หน้า144-147.

ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล. 2560. "ปัญหาแสงสว่างในอาคารของอาคารศูนย์อาหารและบริการ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น". ใน การประชุมวิชาการเทคโนโลยีอาคารด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 4. ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล. (บรรณาธิการ). ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 203-214.

เสริม จันทร์ฉาย, จรุงแสง ลักษณบุญส่ง, จรุงแสง ลักษณบุญส่ง, Manual Nunez, อิสระ มะศิริ, กรทิพย์ โต๊ะสิงห์, ประสาน
ปานแก้ว, รุ่งรัตน์ วัดตาล, เนตรนภา ชิวปรีชา, สุดารัตน์ สุนทโรภาส, อรอนงค์ แช่มเล็ก และ ใหม่เทียน จันทโชติ. 2547. การพัฒนาแผนที่และฐานข้อมูลศักยภาพแสงสว่างธรรมชาติจากภาพถ่ายดาวเทียมสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Chirarattananon, S. and Limmechokchai, B. 1996. "Daylight potential in Thailand". Energy Sources. 18(1): 875-883.

Chirarattananon, S., Chaiwiwatworakul, P. andPattanasethanon, S. 2002. "Daylight availability and models for global and diffuse horizontal illuminance and irradiance for Bangkok". Renewable Energy. 26: (1): 69-89.

CIBSE. 1994. CIBSE Code for Interior Lighting. London: CIBSE.

Hopkinson, R. G. and Kay, J. D. 1972. The Lighting of Buildings. London: Faber and Faber.

IESNA. 2003. IESNA Lighting Handbook. New York: IESNA.

Philips Lighting. 2017. Philips Product Selector 5.2.9.17. Eindhoven: Philips Lighting Holding B.V.

Pritchard, D. C.. 1999. Lighting. Essex: Longman.

Wattyl Australia. n.d.. Wattyl Colour Designer Fandeck. n.p.: Wattyl Australia

ฐานข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์
บจก.เอเน็กซ์ เทคโนโลยี. 2560. "รายการสินค้า On Grid อินเวอร์เตอร์." [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 22 กันยายน 2560]. เข้าถึงได้จาก https://www.mechashop.com/store/product/โซล่า_อินเวอร์เตอร์-1772935-th.html.

ร้านเก็บตะวันเทคโนโลยี แอนด์ มีเดีย. 2559. เอกสารเสนอราคาการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ขอนแก่น. [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 1 มิถุนายน 2559]. เข้าถึงได้จาก https://www.kebtawansolarcell.com/

Aim Tech General Co., L. 2560. "การคำนวณจุดคุ้มทุน." [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 23 กันยายน 2560]. เข้าถึงได้จากhttps://www.aimtechgen.com/index.php/article/29-the-cms/24-2016-01-18-08-49-32.html.

DIALux. 2016. "DIALux" Version 4.13. [Online] [Retrieved June 20, 2016]. Available from https://www.dial.de.

Illuminating Engineering Association of Thailand. 2005. "Minimum illuminance for interior tasks and activities." [Online] [Retrieved September 1, 2016]. Available from https://www.tieathai.org/know/general/lux.htm.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30