พลวัตเรือนพื้นถิ่นของชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • marichtada somjaimak 095-5419362
  • Chaowalid Saicharoent อาจารย์ประจำ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2019.6

คำสำคัญ:

พลวัต, เรือนพื้นถิ่น, กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ, อำเภอกัลยาณิวัฒนา, จังหวัดเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับพลวัตเรือนพื้นถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงปกาเกอะญอ กรณีศึกษาพื้นที่มูเส่คี หรือ ต้นน้ำ แม่แจ่ม  ในเขตอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาเกี่ยวกับพลวัตเรือนพื้นถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้วัตถุประสงค์งานวิจัยในการวิเคราะห์และสรุปเอกลักษณ์หรือภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา รวมถึงผลกระทบจากปัจจัยที่ทำให้เกิดรูปแบบเรือนและการปรับตัว โดยการศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งมีการเก็บข้อมูลโดยเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างในกลุ่มตัวอย่างจากเรือนประเพณีดั้งเดิมและเรือนที่มีการปรับเปลี่ยนไป ประกอบด้วยพื้นที่ ใน 4 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 หลัง ครอบคลุมใน 3 ตำบลของอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการสังเกตการณ์และสัมภาษณ์เจ้าของเรือน ผู้นำชุมชน มีการสำรวจเรือน รังวัด ถ่ายภาพและเขียนแบบ นำมาวิเคราะห์ ตีความ อธิบายผล เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้อง อันมีปัจจัยต่างๆ ซึ่งแยกได้เป็นด้านสังคม นโยบายภาครัฐและนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยได้ยกฐานะก่อตั้งเป็นอำเภอใหม่ที่เป็นพื้นที่ทางชาติพันธุ์

โดยผลการศึกษาสรุปได้ว่า พลวัตเรือนพื้นถิ่นชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในพื้นที่นี้มีการก่อรูปและปรับเปลี่ยนทางกายภาพเรือน อันเป็นผลมาจากการปรับตัว เปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมการดำรงชีพ โดยยังคงสร้างเรือนแบบใหม่คู่กับเรือนแบบดั้งเดิม ที่ถือเป็นเรือนหลักหรือเรือนแม่ ตามการนับถือผีทางฝ่ายมารดาหรือการให้ความสำคัญกับบทบาทของผู้หญิงชาวปกาเกอะญอ ที่มีความสำคัญในครอบครัว พื้นที่เตาไฟจึงเป็นพื้นที่สัญลักษณ์สำคัญ เป็นศูนย์กลางของเรือน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกันกับความเชื่อ พิธีกรรมทางศาสนาและวิถีชีวิตความเป็นอยู่เดิม ส่วนผู้นับถือศาสนาคริสต์จะมีอิสระในการสร้างเรือนมากกว่า ทั้งนี้ด้วยปัจจัยนโยบายเร่งรัดการพัฒนามากระตุ้นการตั้งถิ่นฐานมีแนวโน้มถาวรมากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติค่านิยมและต้องการเพิ่มฐานะทางการเงิน มีการรับเอาเทคนิคของวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่และเทคโนโลยีในการเลื่อยไม้เข้ามา จึงนิยมปรับเปลี่ยนสร้างบ้านด้วยไม้กันมากขึ้น อีกทั้งมีการใช้วัสดุสมัยใหม่จากนอกพื้นที่มาทำการต่อเติมเรือนปรับเปลี่ยนวัสดุที่ใช้แต่เดิม สร้างเรือนเพิ่มในเขตพื้นที่อาศัยเดียวกัน ก่อให้เกิดลักษณะการจัดวางผังบริเวณเรือนกะเหรี่ยง ที่มีกลุ่มเรือนประกอบเพิ่มขึ้น 2-3 เรือน ต่อครัวเรือน เพื่อใช้เป็นเรือนนอนและรับแขกเป็นหลักเพราะปัจจัยความต้องการที่มีมากขึ้น ในการก่อสร้างจึงเพิ่มรูปทรงสัดส่วนให้กับเรือน ซึ่งเป็นผลการปรับตัวด้านวิถีชีวิตและค่านิยมที่ถูกกระตุ้นจากปัจจัยหลักดังกล่าว คือ ปัจจัยด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจ

References

Anupanpong, A. (2007). Bānrư̄ankarīangchāopakākēʻayō̜ khwāmyangyư̄nlækānpraptūaphāitai Niwetwatthanathammunwīan. (In Thai) [Houses of Paka Kyaw Karen: Sustainabity and adaptability on cultural ecology in rotation farming] (Unpublished master’s thesis). Silpakorn University, Bankok, Thailand.

Buadaeng, K. (2002). Karīang: Lāklāichīwitčhākkhunkhaosūmư̄ang. (In Thai) [Karen: A variety of life from the mountains to the city]. Chiang Mai: Center for Ethnic Studies and Development, Social Research Institute, Chiang Mai University.

Buchli, V. (2012). An Anthropology of architecture. New York, NY: Bloomsbury.

Chaiwongkaeo, P. (2015). Penmā Penyū Penpai Mūsēkhī Pāsonwatčhan Kanyāniwatthanā. (In Thai) [Background, life, possibilities: Mu se Klee: Pine forest Chan temple: Galyanivadhana]. Nonthaburi: Watchan Royal Project Development Center.

Gis Information database system Chiangmai Province. (2017). ʻĒkkasānphœ̄iphrǣ. (In Thai) [Published documents]. Retrieved from https://gis.chiangmai.go.th/index.php?name=document&District_ID=26&m=img#5

Lewis, P., & Lewis, E. (1985). Hokphaochāodǭi. (In Thai) [Peoples of the Golden Triangle: Six tribes in Thailand] (pp. 68-99). Chiang Mai: Hill Tribe Handicrafts.

Oliver, P. (1997). Encyclopedia of Vernacular Architecture of the World. New York, NY: Cambridge University Press.

Oliver, P. (2006). Built to meet needs: Cultural issues in vernacular architecture. Oxford: Elsevier.

Pavarajarn, S. 2000)) Rư̄anchāokhao Naikhwāmlāklāikhō̜ngrư̄anphư̄nthinthai. (In Thai) [Hilltribe house: Diversity of Thai vernacular houses] (p.127). Bangkok: Faculty of Architecture, Silpakorn University.

Phatthanaphraiwan, S. (2011). Pāsonwatčhan Rư̄angrāophư̄̄ndinpāsonkhǭngpakākēʻayǭmư̄̄čhekhī. (In Thai) [Chan temple, pine Forest: The story of pine forest land of the Paka kyaw Karen Mu se Klee]. Chiang Mai: Peace in society.

Pianpanussak, J. (2000). phūmpanyā chāobān nai phithīkam khō̜ng chumchon karīang. (In Thai) [local wisdom in the rituals of the Karen] (Unpublished master’s thesis). Chiang Mai University, Thailand.

Punjaruang, U., & Oranratmanee, R. (2015). Rūpbǣplækānkō̜ʻarūpbǣpkhō̜ngsathāpattayakamphư̄nthin Karīangpakākœ̄yō̜naiphư̄nthīphakphingchūakhrāo Bānmǣla ʻAmphœ̄thāsō̜ngyāng Čhangwattāk. (In Thai) [Patterns and Formation of Vernacular Architecture of Karen Refugees in Maela Refugee Camp, Tha Song Yang District, Tak Province]. Journal of Enviromental Design, 2(1), 14-18.

Rodofsky, B. (1964). Architecture without architecture. Garden City, NY: Doubleday & Company.

Saicharoent, C., Raksawin, K., Sinchaiwarawong, K., & Pornkaew, P. (2006). Phūmpanyānaisathāpattayakam phư̄nthin Praphētthīyūʻāsaikhō̜ngčhangwat chīangmailæmư̄anglūangphrabāng. (In Thai) [A Local intelligence in vernacular houses in Chiang Mai and Luang Prabang] (pp. 37-38). Chiang Mai: Faculty of Architecture Chiang Mai University.

Sirimuangmoon, K. (2016). khwāmchư̄akapkānčhatrabīapthīwāngkhō̜ngrư̄ankarīang Naimūbān phrabāthūaitom Tambonnātrāi ʻAmphœ̄lī Čhangwatlamphūn. (In Thai) [Beliefs and Spatial Organization of Karen Houses in Prabaht-Huaytom Village, Nasai Sub-district, Li District, Lumphun Province]. Journal of Enviromental Design, 3(1), 113-141.

Sutthitham, S. (1999). Sākdīchīwitkhǭngchonklumnǭibondǭisūngkrarīang. (In Thai) [Documentary on the lives of Karen minority in the high mountain villages]. Bangkok: World media.

Tienyoy, P. (1992). Kānplīansātsanākhō̜ngchāokhaophaokarīang Naimūbānphāknư̄akhō̜ngprathedthai. (In Thai) [Religious conversion among Karen tribes people at the village in northern Thailand] (Unpublished master’ thesis). Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29

How to Cite

somjaimak, marichtada, & Saicharoent, C. (2019). พลวัตเรือนพื้นถิ่นของชาวกะเหรี่ยงปกาเกอะญอในพื้นที่ต้นน้ำแม่แจ่ม อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 18(2), 1–19. https://doi.org/10.14456/bei.2019.6