การเปลี่ยนแปลงของความทันสมัยภายใต้อิทธิพลของทางรถไฟสายกรุงเทพฯ–อุบลฯ ในตึกแถว 2 ชั้น 7 คูหาริมถนนหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กิตติกานต์ พรประทุม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วารุณี หวัง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความทันสมัย, ตึกแถว, ทางรถไฟ

บทคัดย่อ

ความทันสมัยที่เกิดจากกระแสการปฏิวัติอุตสาหกรรมในชาติตะวันตก ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงประเทศไทยเริ่มมีการรับความทันสมัยนับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง มีการเปิดการค้าเสรี และมีการปรับเปลี่ยนสังคมตามปัจจัยต่าง ๆ ที่มุ่งสู่ความทันสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชกาลที่ 5 เริ่มมีการปฏิรูปการปกครอง เกิดแนวคิดสร้างทางรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2473 (รัชกาลที่ 7) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในหลายมิติ อย่างกรณีศึกษาตึกแถว 2 ชั้น 7 คูหา บนถนนหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่สะท้อนให้เห็นความแตกต่างทั้งก่อนและหลังการมาของเส้นทางรถไฟ จึงเป็นที่มาของวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบ เทคนิคการก่อสร้าง วัสดุ ทั้งก่อนและหลังการมาของทางรถไฟ ผ่านพัฒนาการการก่อสร้างตึกแถว ด้วยวิธีการลงพื้นที่ภาคสนาม ค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า จากปรากฏการณ์การดังกล่าว ที่เชื่อมโยงกับแนวคิดความทันสมัย (MODERNIZATION) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หรือค่านิยมของผู้คนที่ต่างพยายามปรับตัวหรือยอมรับสิ่งใหม่เข้ามาใช้ในวิถีชีวิต ซึ่งการก่อตัวในช่วงแรก 4 คูหา แสดงถึงค่านิยม คติความเชื่อ รวมไปถึงการพกพาสัมภาระทางวัฒนธรรมของชาวจีนอย่างก๋งตั๊บซึ่งเป็นเจ้าของอาคารสู่การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและบริบทปัจจัยต่าง ๆ  โดยรูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างที่ยังคงเป็นแนวคิดแบบจีนผสมตะวันตก  รวมไปถึงมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมของกลุ่มคนที่เข้ามาภายในย่านที่สะท้อนผ่านรูปแบบและเทคนิคการก่อสร้าง แต่หลังจากเส้นทางรถไฟมาถึงอุบลราชธานี มีแนวคิดการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 3 คูหาในช่วงที่ 2 เพื่อรองรับกิจกรรมการค้าและอยู่อาศัยโดยเกิดเทคนิคและกระบวนการก่อสร้างด้วยวัสดุใหม่ ๆ และมีความทันสมัยมากขึ้น ขณะที่รูปแบบของอาคารมีความต่อเนื่องจากช่วงแรก หากแต่ว่าลวดลายบางส่วนลดความปราณีตลงซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านจากความเชื่อในระบบสังคมจารีตสู่ความเรียบง่ายหรือความเป็นสมัยใหม่ ส่วนในมิติเศรษฐกิจ สังคม มีความหลากหลายของสินค้าและผู้คนเริ่มอพยพเข้ามาภายในย่านเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นมิติของความทันสมัยต่างช่วยสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและกระบวนการปรับตัว  ทั้งทางด้านกายภาพ ที่มีทั้งการปรับรูปแบบ วัสดุ และเทคนิคกระบวนการก่อสร้าง หรือแม้แต่การปรับใช้พื้นที่ภายในอาคารเพื่อให้สอดคล้องต่อมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมหรือค่านิยมที่เปลี่ยนไป

References

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายจัดทำหนังสือ( 2535) อุบล 200 ปี.กรุงเทพมหานคร.โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดชวนพิมพ์.
ฉัตรทิพย์ นาถสุภา.(2553). บทความปรับปรุงจากการบรรยายพิเศษเรื่อง “การสมัยใหม่ของไทย” ในโอกาสการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 48 ประจำปี 2553 วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553 ณ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร.

“-----”..(2557).การเป็นสมัยใหม่กับแนวคิดชุมชน.บริษัทสำนักพิมพ์สร้างสรรค์จำกัด.กรุงเทพมหานคร.

ชูวิทย์ สุจฉายา.(2543).สังคมและเศรษฐกิจในงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง.เอกสารคำสอนรายวิชา 264-201.หลักสูตรสถาปัตยกรรมบัณฑิต คณะสภาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์.(2546).การเมืองสองฝั่งโขง .งานค้นคว้าวิจัยระดับปริญญาเอกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องการรวมกลุ่มทางการเมืองของ ส.ส.อีสาน พ.ศ. 2476-2494,สำนักพิมพ์มติชน,กรุงเทพมหานคร.

ดนัย นิลสกุล และ นพดล ตั้งสกุล.(2558).ปัจจัยที่ส่งผลต่อสำนึกในถิ่นที่ในย่านการค้าเก่าเมืองอุบลราชธานี.วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 14 (ฉบับที่ 1), หน้า41-57.

ทักษ์ เฉลิมเตียรณ.(2558). อ่านจนแตก วรรณกรรม ความทันสมัย และความเป็นไทย.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์อ่าน.

ธนัญชัย รสจันทร์.(2550).สภาพเศรษฐกิจของเมืองอุบลราชธานี ระหว่าง พ.ศ. 2335 – ทศวรรษที่ 2460. หลักสูตรปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาควิชาประวัติศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีระ ธุศรีวรรณ.(2545).การขยายตัวของชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอุบลราชธานีระหว่างปี 2478-2542 .กศ.ม.สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประวิทย์ ทองพูนและภูวเดช สติปัญญา.(2556).วิวัฒนาการรถไฟไทยจากอดีตสู่อนาคต, 15 กรกฎาคม 2556.เอกสารการจัดการความรู้.โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า.

ระลึก ธานี และคณะ. (2557). 222 อุบลราชธานี.อุบลราชธานี.พิมพ์ที่บริษัทยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ.(2536).พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม อดีต ปัจจุบัน อนาคต.สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.

“-----”.(2560).เปิดมิติเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมไทยสมัยใหม่.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.กรุงเทพมหานคร.

วารุณี หวัง. (2558). การบูรณาการและการสร้างสรรค์ : การประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นจีนตอนใต้ในฉีโหลว.วารสารลุ่มน้ำโขง ปีที่ 11 (ฉบับที่ 2) พฤศภาคม-สิงหาคม 2558.หน้า75-95.

“-----”. (2557).ประวัติศาสตร์และแนวคิดสถาปัตยกรรมจีน.ขอนแก่น.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น,

“----- ”. (2542). การศึกษาเปรียบเทียบส่วนประดับอาคารพาณิชย์ในแถบจังหวัดหนองคาย,นครพนม,มุกดาหารและอุบลราชธานี.สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร และคณะ.(2536).พัฒนาการแนวความคิดและรูปแบบของงานสถาปัตยกรรม อดีต ปัจจุบัน อนาคต.สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์.

ศรีศักร วัลลิโภดม.(2533).แอ่งอารยธรรมอีสาน แฉหลักฐานโบราณคดี พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ไทย.สำนักพิมพ์มติชน,กรุงเทพฯ

สมภพ มานะรังสรรค์.(2536ป.แนวโน้มพัฒนาการเศรษฐกิจไทยในช่วงก่อนและหลังการปฏิรูปการปกครองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.โครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย.ฝ่ายวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพมหานคร.

สัน สุวัจฉราภินันท์.(2559).เชียงใหม่-ใหม่ :สถาปัตยกรรมสมัยใหม่แห่งเมืองเชียงใหม่ระหว่างปี 2427-2518 .สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สันติ ฉันทวิลาศวงศ์.(2521). ความเข้าใจบางประการจากการศึกษาสถาปัตยกรรมห้องแถว .วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต.ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ ธีรศาศวัต.(2551).ประวัติศาสตร์จีนอีสาน.สาขาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษย์ศาสตร์.ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

“-----” (2549).รายงานการวิจัยเรื่องประวัติศาสตร์อีสาน 2322-2488. สาขาประวัติศาสตร์และโบราณคดี คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สนับสนุนการวิจัยโดย ศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุธิดา ตันเลิศ, อนันทธนา เมธนนนท์ และณัฐพัชร์ เตชะรุ่งไพศาล.(2559).ประวัติชาวจีนเมืองอุบลราชธานี ระหว่างปี พ.ศ. 2411-2488.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม 2559.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุรพล สุวรรณ.(ม.ม.ป). พลวัตทางสังคมและวัฒนธรรมภายใต้ ความสัมพันธ์แบบบ้าน - วัด -โรงเรียน กรณี : ชุมชนสนามชัย อ.สทิงพระ จ.สงขลา.สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สุริยา รักการศิลป์.(2558).เศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนอีสานใต้.สำนักพิมพ์สร้างสรรค์จำกัด.กรุงเทพมหานคร.
ส.ธรรมวิริยะ.(2530).บ้านจีนในกรุงเทพมหานคร คนจีน 200 ปีภายใต้พระบรมโพธิสมภารภาค 2. สหมิตรการพิมพ์ กรุงเทพมหานคร.

หวัง ฉีจุ้น และ จิง ฉีหมิน .แปลโดยวารุณี ภูสนาม.(2547).บ้านจีนพื้นถิ่น.คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Julian Davison. (2015). Singapore shop house.Singapore.Talisman Publishing Pte Ltd.


อ้างอิงสัมภาษณ์

สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2559
วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2559 และ วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560
คุณวิโรจน์ , คุณโฉมจันทร์ และคุณรัศมิ์รวีร์ ทีปิวัฒน์ ผู้อยู่อาศัย
คุณยายเชย นัยวิกุล (แซ่แต้)
สัมภาษณ์โดย กิตติกานต์ พรประทุม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-25