การออกแบบสถาปัตยกรรมอย่างมีส่วนร่วมกับคนตาบอด กรณีศึกษา หอพักชายโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นิธิวดี ทองป้อง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สัญชัย สันติเวส

คำสำคัญ:

ออกแบบสถาปัตยกรรม, การมีส่วนร่วม, คนตาบอด

บทคัดย่อ

การได้มีส่วนร่วมในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมของผู้บริหาร บุคลากร และนักเรียนที่เป็นผู้พิการทางสายตานั้นช่วยให้ผลงานออกแบบที่ได้รับสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานที่เป็นผู้พิการทางสายตาได้เป็นอย่างดี โดยการนำเสนอผลงานจะต้องมีการใช้วิธีบรรยาย การอธิบายแบบตัวต่อตัว และการสร้างผลงานของแบบที่ใช้นำเสนอโดยมีการใช้ภาพนูนต่ำ วัสดุพื้นผิวช่วยสัมผัส (Haptic) และหุ่นจำลองสถาปัตยกรรมที่แสดงการแบ่งพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร เพื่อช่วยในการสื่อสารกับผู้ฟังที่มองเห็นและมองไม่เห็นได้รับรู้เกิดความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นที่นำไปสู่ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่ดีขึ้นได้ต่อไป

แนวทางในการออกแบบเพื่อปรับปรุงอาคารหอพักชายโรงเรียนการศึกษาคนตาบอดขอนแก่น ในกรณีศึกษาครั้งนี้นอกจากจะต้องคำนึงถึง “จุดจำ นำทาง ปลอดภัย” (Finding, Navigating and Being Safe) จึงเป็นหลักการที่สำคัญ 3 ประการ ในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อผู้พิการทางสายตา เช่น มีวัตถุให้สัมผัสเพื่อการจดจำ มีสิ่งอำนวยความสะดวกช่วยนำทางด้วยหลักการของเส้นแนวขอบทาง (Shoreline) และจัดพื้นที่เป็นสัดส่วน ระดับพื้นเท่ากัน พื้นไม่ลื่น และเป็นระเบียบเพื่อความสะดวกและปลอดภัย ยังต้องคำนึงในเรื่องของการออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีความร่มรื่นเป็นธรรมชาติ มีพื้นที่นันทนาการและพื้นที่ส่วนกลาง

Author Biography

นิธิวดี ทองป้อง, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

นิธิวดี ทองป้อง
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มือถือ 0859262400
e-mail: [email protected]

References

Connell, B. R., Jones, M., Mace, R., Mueller, J., Mullick, A., Ostroff, E., Sanford, J., & et al. (1997).
The 7 principles of universal design. Retrieved from https://projects.ncsu.edu/ncsu/
design/cud/about_ud/udprinciplestext.htm
Cooperative Research Centre for Construction Innovation. (2007). Wayfinding design guidelines.
Queensland: Icon.Net Pry.
Kachondham, P., Todee, N., sapaiwan, S., Songcharoen, O., & Peampoon, J. (2016). Khūmư̄
kāndūlǣ phū sūng wai: maithao chūai mō̜ng. (In Thai) [Elder Care Manual: Walking Stick
for Look]. Bangkok: Open Worlds.
Moonwicha, W. Vice Director on Special Affairs at The Christian Foundation for the Blind in
Thailand, under the Patronage of H. M. The King. (2017, May 11). Interview/Interviewer:
Sanchai Santiwes.
Office of the Christian Foundation for the Blind in Thailand. (2017). Khon Kaen School for the
Blind. Retrieved from https://cfbt.or.th/kk/
Office of the Council of State. (2005). Kot krasūng : kamnot sing ʻamnūai khwām sadūak nai
ʻākhān samrap phū phikān rư̄ thupphonlaphāp læ khon charā Phō̜.Sō̜. 2005. (In Thai)
[Ministerial Regulation: Prescribing accessible facilities for persons with disabilities and
the elderly. B.E. 2548].
Phooyam, S., Janejitvanich, J., & Jatunam, T. (2015). Kānʻō̜kbǣp hō̜ngnam samrap khonphikān
thāngkān hen. (In Thai) [Toilet Design for Persons with Visual Disability]. Journal of
Ratchasuda College, 11(14), 71-84.
Preiser, W. F.E., and Ostroff, E. (2001). Universal design handbook. New York, NY: McGraw-Hill.
Santiwes, S. & Tongpong, N. (2017). Thatsanakhati khō̜ng Khon Thai thī mī tō̜ sing ʻamnūai khwām
sadūak khō̜ng phū phikān thī thūk ʻō̜k bǣp phư̄ a khon thangmūan naithī sāthārana.
(In Thai) [Thai Attitudes towards Universal Design of the Public Facilities for the Disabled].
Veridian E-journal, 10(3), 1360-1370.
Sombutyanoochit, C. (2011). Sathāpattayakam bambat kō̜ranī sưksā samrap khon tābō̜t. (In Thai)
[Architecture therapy “A case study of architecture for the blind”] (Unpublished master’
thesis). Silpakorn University, Bangkok, Thailand.
Steinfeld, E., & Jordana, L. M. (2012). Universal design. New Nork, NY: John Wiley & Sons.
Tipatas, P. (1993). Kēn nai kānʻō̜kbǣp sathāpattayakam. (In Thai) [Criteria of architectural design].
Bangkok: Chulalongkorn University.
The Association of Siamese Architects under Royal Patronage. (2014). Khō̜ nænam kānʻō̜kbǣp sing
ʻamnūai khwām sadūak samrap thuk khon. (In Thai) [Buildings and environments design
recommendation for all]. Bangkok: Plus Press.
Thongchiw, I. (2013). Botbāt khō̜ng sathāpanik chumchon kap kānsāng khwāmmankhong nai sit
kān yū ʻāsai khō̜ng chāobān kō̜ranī sưksā chumchon thā wang. (In Thai) [Roles of
community architect in claiming the right to live of community: A case study of Tha
Wang community]. Built Environment Inquiry Journal-BEI, 12(1), 52-63.
Tongpong, N., & Santiwes, S. (2018). Rāingān wičhai kānphatthanā phǣnthī nūn tam phư̄anam
thāng khon tābō̜t nai sūn songsoē m læ phatthanā khunnaphāp chīwit khonphikān phāk
tawanʻō̜k chīang nư̄a. (In Thai) [Research report: Development of bas-relief map to guide
the blind at Center of Quality of Life Improvement for Disabled in the north-eastern part
of Thailand]. Khon Kaen: Faculty of Architecture, Khon Kaen University.
Yam-Iam, C. (1988). Kān fư̄nfū samatthaphāp khō̜ng khon tābō̜t nai chonnabot læ kān fưk phū
sō̜n khon tābō̜t nai thō̜ngthin. (In Thai) [Community-based rehabilitation of the rural
blind-A training guide for field workers]. Bangkok: Donbosgo Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-24