พัฒนาการของรูปที่ว่างเเละองค์ประกอบเมืองของถนนช้างคลานเมืองเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ช้างคลาน, เชียงใหม่, ไนท์บาร์ซาร์, พัฒนาการเมือง, ก่อรูปที่ว่างบทคัดย่อ
งานศึกษานี้มุ่งเน้นเพื่ออธิบายการบวนการพัฒนาและการก่อรูปที่ว่างขององค์ประกอบเมืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านทางแผนที่ในแต่ละยุค ค้นหาอิทธิพลและปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาของโครงสร้างถนน และองค์ประกอบเมือง ถนนช้างคลานนั้นเติบโตขึ้นมาโดยรองรับวัฒนธรรมจากชาวอังกฤษ ชาวพม่า ชาวอินเดีย ชาวจีนยูนนาน และชาวไทย จนกระทั่งเข้าสู่การพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งรองรับการท่องเที่ยวและ กลายเป็นถนนค้าขายของฝากยามค่ำคืนที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่ ความหนาแน่นของการใช้พื้นที่ถูกซ้อนทับลงไปบนพื้นที่ทำให้เกิดเป็นองค์ประกอบเมืองที่หลากหลายซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของ ถนนช้างคลาน อันประกอบไปด้วยวัด มัสยิด โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าอาคารพาณิชย์ โรงเรียน ตลาด รวมถึงบ้านพักอาศัยเดี่ยว เช่นเดียวกับการค้าขาย ที่มีตั้งแต่ ห้างร้านขนาดใหญ่ จนไปถึงร้านแผงลอยขนาดเล็ก ซึ่งการศึกษาการใช้พื้นที่ ของแผงลอยอันมีรูปแบบเฉพาะนั้นสามารถนำไปสู่การอธิบายการก่อรูปที่ว่าง พัฒนาการเมือง และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเมืองทั้งสองข้างถนน ผลลัพท์ที่เห็นในปัจจจุบันยังคงปรากฎร่องรอยจากในอดีต ผ่านลักษณะการใช้พื้นที่ โครงสร้าง ถนน และขนาดของแปลงที่ดิน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ถนนช้างคลานหยุดการพัฒนาตัว เนื่องจากเกิดคู่แข่งจากย่านการค้า การท่องเที่ยวแห่งใหม่ ซึ่งล้วนแต่ค้าขายและทำธุรกิจบนแปลงที่ดินขนาดเล็ก ด้วยเหตุนี้แนวทางการพัฒนาของถนนช้างคลาน ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบนแปลงที่ดินขนาดใหญ่ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบและจุดเด่นของถนนช้างคลาน
References
[Development potential of central business district in Chiang Mai] (Unpublished master’
thesis). Chulalongkorn University, Thailand.
Charoenmueang, A. D. (2005). Mūangyangyūnnaichīangmai: Nǣokhitlæprasopkānkhō̜ngmūangnai
hupkhao. (in Thai) [Sustainable cities in Chiang Mai: A case of a city in a valley].
Chiang Mai: Sangsilp Printing.
Kongthaweesak, P. (2010). Talāt kap Kamnerdlæleelakhō̜ngchīangmainaibāsā. (in Thai) [Market
and ethnicity: The origin and rhythm of Chiang Mai Night Bazaar]. Journal of Social
Sciences, 22(2), 159-196.
_______. (2011). Ākhānaibāsā Kānkhākapkhwāmpen. (in Thai) [Akha Night Bazaar trade with
ethnicity]. Chiang Mai: Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University.
Ongsavangchai, N. (2014). Sathāpattayakammūang. (in Thai) [Urban architecture]. Chiang Mai:
Faculty of Architecture, Chiang Mai University.
Semmanee, A. (2015). Khončhīnyūnnānmutlimnaichīangmai. (in Thai) [Chinese Muslim in
Chiang Mai province of Thailand]. Princess of Naradhiwas University Journal of
Humanities and Social Sciences, 2(2), 39-49.
Srivichai, P., & Ratchusanti, S. (2016). khwāmphưngphō̜čhaikhō̜ngphūchaophūnthītō̜sō̜wonprasom
kāntalātbō̜rikān khō̜ngkālǣnaiBāsā Chīangmai. (in Thai) [Tenant satisfaction towards
service marketing mix of Kalare Night Bazaar Chiang Mai]. CMU Journal of Business, 2(4),
325-344.
Sriworakul, A. (2002). Thurakitbonthāngthaoyānnaibāsākapkānbō̜rihānčhatkān
khō̜ngthētbānnakorn-chīangmai. (in Thai) [Sidewalk business in the Night Bazaar area and
municipal administration] (Unpublished master’s thesis). Chiang Mai University, Thailand.
Suwatcharapinun, S. (2016). Yō̜nʻānsathāpattayakamtưkthǣonaithanonthāphǣ :
Sēnthāngkhō̜ngkhwām-thansamaimūangchīangmai. (in Thai) [Re-reading Architecture of
Row-Houses in Thapae Road: A Passage of Chiang Mai’s Modernization]. NAJUA: History
of Architecture and Thai Architecture. 13, (231-259).
Tansukanun, P., & Daungthima, W. (2013). Nǣothāngkānphatthanākhwāmpenyānlākmitkhō̜ngmūa
ng-chīangmai. (in Thai) [The Multi-Layered Districts of Chiang Mai City]. Chaing Mai:
Pua-Pae.
Tunsuwat, P. (2014). Watnaimūangchīangmaithīprākotnaiphǣnthīprawatsāt (in Thai) [Wat in
Chiang Mai as appeared in historical map] (Unpublished master’s thesis). Ch ulalongkorn
University, Thailand.
Wattananikorn, K. (2018). British teak wallahs in Northern Thailand from 1876-1956. Bangkok:
White Lotus.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ