เรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียงในอีสาน: การยึดแบบแผนดั้งเดิม การปรับตัว และการผสมผสานทางวัฒนธรรม

ผู้แต่ง

  • การุณย์ ศุภมิตรโยธิน คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2019.7

คำสำคัญ:

เรือนโคราช, ลาวเวียง, การยึดแบบแผนดั้งเดิม, การปรับตัว, การปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาเกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภาคอีสานของไทย ผ่านการแสดงออกทางรูปแบบสถาปัตยกรรมและการใช้พื้นที่ โดยศึกษาเปรียบเทียบเรือนกรณีศึกษาใน        จ.นครราชสีมา และ จ.มหาสารคาม เทียบกับเรือนลาวเวียงจันทน์ ทำการวิเคราะห์ อภิปราย และสรุปผล โดยอ้างอิงข้อมูลจากการลงพื้นที่และข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ผลการศึกษาพบว่า เรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียงใน จ.นครราชสีมา และ          จ.มหาสารคาม มีลักษณะบางประการที่คล้ายคลึงกับแบบแผนเรือนลาวเวียงจันทน์ รวมถึงการใช้พื้นที่ ทั้งนี้ เรือนลาวเวียงมหาสารคาม มีความคล้ายคลึงกับแบบแผนเรือนลาวเวียงจันทน์มากกว่า โดยเฉพาะโครงสร้าง ระบบการติดตั้งฝา ตำแหน่งประตู และการใช้พื้นที่ นอกจากนั้น เรือนของกลุ่มลาวเวียงใน จ. นครราชสีมาช่วงแรก ที่มีอายุมากกว่า 100 ปี มีหลักฐานที่แสดงถึงการยึดแบบแผนดั้งเดิมไว้หลายประการ และพบโครงสร้างบางจุดที่เหมือนกับโครงสร้างของเรือนลาวเวียงจันทน์ รวมถึงการยึดขนบธรรมเนียมการใช้วัสดุก่อสร้างชนิดเดิม แต่ในขณะเดียวกันได้มีการปรับตัว โดยคลี่คลายรูปแบบและผสมผสานแบบแผนวัฒนธรรมไทยโคราชเข้ามาเป็นส่วนประกอบ และสร้างลักษณะเฉพาะบางประการขึ้น ปรากฏการณ์นี้สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวทางด้านวัฒนธรรมการอยู่อาศัยให้กลมกลืนกับบริบทพื้นที่ เพื่อการดํารงเผ่าพันธุ์ โดยธํารงรักษาคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียม และยึดแบบแผนดั้งเดิม อันเป็นรากเหง้าทางชาติพันธุ์ของตนไว้บางส่วน แล้วนํารูปแบบทางวัฒนธรรมไทยโคราชของชนชั้นปกครองซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ในพื้นที่มาผสมผสานได้อย่างกลมกลืน

Author Biography

การุณย์ ศุภมิตรโยธิน, คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

  1. การุณย์ ศุภมิตรโยธิน. แนวทางการออกแบบและวางผังชุมชนศิลปหัตถกรรมหล่อหินทรายบ้านหนองโสน อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceedings) เนื่องในโอกาส 50 ปี แห่งการสถาปนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น และครบรอบ 25 ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, 125 – 138. 2556; ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
  2. การุณย์ ศุภมิตรโยธิน และ วารุณี หวัง. สถานภาพการดำรงอยู่ของเรือนโคราชในปัจจุบัน กรณีศึกษาหมู่บ้าน พระเพลิง จ.นครราชสีมา. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง 2558; 11(1): 129-149.
  3. การุณย์ ศุภมิตรโยธิน และ วารุณี หวัง. คุณค่าของเรือนโคราชในทัศนคติของผู้อยู่อาศัย. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 15(2): 17-32.
  4. Karun Suphamityotin, Warunee Wang. Cultural intercourse of the Lao Vieng ethnic groups that reflects on the architectural style and the use of space in the Korat House. Kasetsart Journal of Social Sciences. 2021; Vol

References

Clement-Charpentier, S., & Clement, P. (2003). Hư̄anlāo. (In Thai) [Lao house]. (S. K. Patiyasak, Trans.). Vientiane, Lao PDR: Champa Phap.

Jiramanee, S. (2002). Sinlapasathāpattayakamphư̄nthinʻīsānnaiwatthanathamthai-lāo. (In Thai) [Isan Vernacular architecture in Thai-Lao culture]. Chon Buri: Faculty of Fine and Applied Art, Bhurapa University.

Klangboonklong, V., & Phechsunghan, P. (1987, October). Hư̄anʻīsān. (In Thai) [Isan house]. In kānsammanā rư̄ang ʻēkkalak sathāpattayakam ʻĪsān. (In Thai) [Identity of Isan architecture] (pp. 129-136). Khon Kean: The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King.

Lawrence, R. (1990). Learning from colonial houses and lifestyles. In M., Turan. (Ed.). Vernacular architecture: Paradigms of environmental response (pp. 219-257). Aldershot, UK: Avebury.

Nilathi, S. (1987, October). Rư̄anʻīsānlæpraphēnīkānyūʻāsai. (In Thai) [Isan house and living tradition]. In kānsammanā rư̄ang ʻēkkalak sathāpattayakam ʻĪsān. (In Thai) [Identity of Isan architecture] (pp. 137-140). Khon Kean: The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King Pinijvarasin, W. (2012). Phūmpanyākānpraptūanaibān-rư̄anlāowīang Bō̜riwēnlumnāmphākklāng. (In Thai) [Adaptation in the house-Ruan Lao Vieng, in the central region]. Najuaa Journal: Architecture Design and environment, 27, 45-60.

Pongsapit, A. (2006). khwāmlāklāithāngwatthanatham (krabūanthatlæbotbātnaiprachāsangkhom). (In Thai) [Cultural diversity (Paradigm and role in civil society)] (5th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Rapoport, A. (1969). House form and culture. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Samutkup, S. et al. (1997). Withīkhitkhō̜ngkhonthai: Phithīkam khūangphīfō̜n khō̜ng lāokhāočhao Čhangwatnakhō̜nrātchasīmā. (In Thai) [Thai people's way of thinking: The ritual "Khuang Phee Phon" of "Lao Khao Chao", Nakhon Ratchasima Province] (Research Report). Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology

Tansuwanrat, K. (2002). Sathāpattayakamphư̄nthin: Kranīsưksārư̄ankhōrāt Čhangwatnakhō̜nrātchasīmā.
(In Thai) [Local architecture: Korat house case study in Nakhon Ratchasima] (Research Report). Nakhon Ratchasima: National Research Council of Thailand.

Themeeyaphan, W. (1987, October). Sangkhēpkhwāmkāntangthinthānmanutnaiphākʻīsān (læbāngsūankhō̜nglāo)Naichœ̄nghētkānthāngprawatsātthāngʻēksānlælakthānthưngratsamaiphraphutyō̜tfāčhulālōkmahārāt. (In Thai) [In brief, the human settlement in the northeast (And some parts of Laos) in the way of historical events, documents and evidence of the reign of King Buddha Yot Fa Chulalok the Great (Rama I)]. In kānsammanā rư̄ang ʻēkkalak sathāpattayakam ʻĪsān. (In Thai) [Identity of Isan architecture]. Khon Kean: The Association of Siamese Architects under the Royal Patronage of His Majesty the King.

Wongtes, S. (2012). Mahāsānkhām Māčhāknai?. (In Thai) [Where did Mahasarakham come from?]. Bangkok: Mae Kham Phang.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29

How to Cite

ศุภมิตรโยธิน ก. (2019). เรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียงในอีสาน: การยึดแบบแผนดั้งเดิม การปรับตัว และการผสมผสานทางวัฒนธรรม. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 18(2), 21–33. https://doi.org/10.14456/bei.2019.7