การประมาณปริมาณแสงสว่างด้วยวิธีการใช้ท่อนำแสงแนวดิ่งในเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย

ผู้แต่ง

  • Hanny Chandra Pratama Khon Kaen University
  • Yingsawad Chaiyakul

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2019.11

คำสำคัญ:

แสงธรรมชาติในอินโดนีเซีย, ท่อนำแสง, แนวทางการใช้แสงธรรมชาติ

บทคัดย่อ

ระบบท่อนำแสงแนวดิ่ง (Light pipe) ช่วยเพิ่มแสงในอาคารในตอนกลางวันได้ดี โดยเฉพาะพื้นที่ที่อยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร เนื่องจากการโคจรของดวงอาทิตย์ ทำให้ตำแหน่งดวงอาทิตย์ในเวลากลางวันอยู่ด้านบนของอาคาร จากงานวิจัยที่ผ่านมาในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย พบว่า ประเทศมาเลเซีย เป็นประเทศที่มีความเหมาะสมในการใช้ระบบท่อนำแสงแนวตั้งได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่สามารถใช้ระบบท่อนำแสงได้ดีเนื่องจาก ปริมาณแสงสว่างที่ได้จากท่อนำแสงมีปริมาณแสงสว่างต่ำ ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเรื่องระบบท่อนำแสงในประเทศอินโดนีเซีย ในการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพการใช้ท่อนำแสงแนวดิ่ง สำหรับประเทศอินโดนีเซีย โดยใช้ เมืองสุราบายา เป็นพื้นที่ศึกษา ท่อนำแสงที่ใช้ในงานนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6 เมตร 0.8 เมตร และ 1 เมตร โดยความยาวของท่อมีขนาดตั้งแต่ 1 ถึง 6 เมตร ทำการจำลองแสงสว่างในโปรแกรม DIALux 4.13 ในวันสำคัญ 4 วัน ได้แก่ วันที่ 21 มีนาคม 21 มิถุนายน 21 กันยายน และ 21 ธันวาคม ภายใต้สภาพท้องฟ้าแจ่มใส สภาพท้องฟ้ามีเมฆปานกลาง และสภาพท้องฟ้ามีเมฆครึ้ม จากการศึกษาพบว่าการใช้ท่อนำแสงแนวตรงในจังหวัดสุราบายา มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเพิ่มปริมาณและคุณภาพของแสงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลา 9:00-15:00 น. ท่อที่เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 0.8 เมตรและ 1 เมตร เป็นขนาดท่อที่สามารถให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับการใช้งานภายใต้ทุกสภาพท้องฟ้า สำหรับ ท่อขนาด 0.6 เมตร ไม่สามารถช่วยเพิ่มแสงได้อย่างเพียงพอในสภาพท้องฟ้าที่มีเมฆปานกลาง และมีเมฆครึ้ม และ นำเสนอสมการและวิธีการคำนวณปริมาณแสงสว่างที่ได้จากระบบท่อนำแสงแนวดิ่ง

References

Badan Standar. (2000). Energy consevation on lighting system. Jakarta: Badan Standar Nasional.

Cabfis, R. C., & O. IL Pereira, F. (1996). Luminous efficacy of daylighting in intertropical region: An analysis for toplighting systems. Renewable Energy, 8, 210-213.

Chaiyakul, Y. (2013, March). Daylighting in building through a vertical light pipe in Thailand. Paper presented at the Lux Pacifica, Bangkok, Thailand.

Kadir, A. A., Ismail, L. H., Kasim, N., & Kaamin, M. (2016). Potential of light pipes system in Malaysian climate. International Engineering Research and Innovation Symposium (IRIS), 160, 8.

Lechner, N. (2015). Heating, cooling, lighting (4th ed). Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Littlefair, P. (2011). Site layout planning for daylighting and sunlight (2nd ed). Watford: IHS BRE Press.

Malet-Damour, B., Boyer, H., Fakra, A. H., & Bojic, M. (2014). Light Pipes Performance Prediction: inter model and experimental confrontation on vertical circular light-guides. Energy Procedia, 57(1), 1977–1986.

Muladi, E., Jamala, N., & Rahim, R. (2007, August). An examination on daily horizontal illuminance data in Indonesia. Paper presented at the 8th SENVAR & 2nd MALAY, Surabaya, Indonesia.

Pemerintah Provinsi DKI Jakarta. (2012). User guide for green building in Jakarta (Vol. 1). Jakarta: Pemprov DKI.

Pratama, H. C., & Chaiyakul, Y. (2018). Implication of the National Standard Indonesia (SNI) on lighting conversation as a basis of architectural design. Journal of Building Energy & Environment, 1(2018), 7.

Rahim, R. (2000). Analysis of sky illumination through sky ratio. Journal of Dimensi Teknik Arsitektur, 28(2), 5.

Sok, E. (2017). The (hidden) benefits of daylighting. SageGlass Europe & Middle East. Retrieved from https://www.sageglass.com/eu/sites/.../the_hidden_benefits_of_natural_light

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-29

How to Cite

Pratama, H. C., & Chaiyakul, Y. (2019). การประมาณปริมาณแสงสว่างด้วยวิธีการใช้ท่อนำแสงแนวดิ่งในเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 18(2), 83–98. https://doi.org/10.14456/bei.2019.11