การพัฒนาชุมชนให้เป็นมิตรต่อการเดินและใช้จักรยานโดยการสร้างถิ่นที่

ผู้แต่ง

  • ศุภธิดา สว่างแจ้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พลเดช เชาวรัตน์

คำสำคัญ:

เมืองจักรยาน, การสร้างถิ่นที่, พื้นที่สาธารณะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเมืองชุมชนให้เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่สอดคล้องกับหลักการสร้างถิ่นที่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความเร็วของรถและการเลือกรูปแบบการเดินทาง ก่อนและหลังกิจกรรมการสร้างถิ่นที่ 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้พื้นที่สาธารณะ ก่อนและหลังกิจกรรมการสร้างถิ่นที่  โดยมีพื้นที่ศึกษา คือ ชุมชนสุขสบายใจ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์

ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่สอดคล้องกับหลักการสร้างถิ่นที่ คือ เป็นสถานที่สำหรับผู้คนทุกเพศทุกวัยและปลอดภัยต่อผู้คน โดยใช้การวาดภาพศิลปะบนกำแพง และการตีเส้นจราจรบนผิวถนนตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  2) ประสิทธิภาพในการการลดความเร็วและการเลือกรูปแบบการเดินทาง พบว่าช่วงก่อนกิจกรรม มีความเร็วเฉพาะตำแหน่งเฉลี่ยสูงถึง 31.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  หลังกิจกรรมมีความเร็วเฉพาะตำแหน่งเฉลี่ยลดลง เหลือเพียง 22.6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  เมื่อผ่านไป 1 เดือนพบว่า  ความเร็วเฉพาะตำแหน่งเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 30.4 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การเลือกรูปแบบการเดินทางของผู้ใช้พื้นที่ลานสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงโดย ปริมาณการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นหลังการดำเนินกิจกรรมการสร้างถิ่นที่ โดยพบว่าหลังกิจกรรมมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.9 คัน/วัน สูงสุดในวันเสาร์ จำนวน 10 คัน แต่เมื่อหลังกิจกรรม 1 เดือน พบว่าผู้ใช้จักรยานลดจำนวนลงเหลือเพียง 1.7 คัน/วัน  3) การสร้างถิ่นที่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้พื้นที่สาธารณะได้ โดยพบว่า หลังการดำเนินกิจกรรมมีคนมาใช้พื้นที่ลานสุขภาพเพิ่มขึ้น 93.03% และหลังการดำเนินกิจกรรม 1 เดือน ความถี่สะสมของผู้ใช้พื้นที่ดังกล่าวก็ยังสูงกว่าก่อนเริ่มโครงการ โดยเพิ่มขึ้น 21.78%

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-24