ความคาดหวังในชีวิตหลังเกษียณในกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และ เจนเนอเรชั่นเอ๊กซ์ ในกรุงเทพมหานคร และ เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • Sumavalee Chindapol Faculty of Architecture, Chiang Mai University

คำสำคัญ:

ความคาดหวัง, ชีวิตหลังเกษียณ, เบบี้บูมเมอร์, เจนเนอเรชั่นเอ็กซ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังของกลุ่มผู้ที่เตรียมความพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณ โดยมีสมมติฐานว่าช่วงวัยและวัฒนธรรมในพื้นที่ที่ต่างกันส่งผลต่อทัศนคติและความคาดหวังในชีวิตหลังเกษียณของกลุ่มเป้าหมาย โดยแบ่งช่วงวัยออกเป็นกลุ่ม Baby Boomer (BB) และ กลุ่ม Generation X (GEN X) ทำการสำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามเชิงสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มประชากรทั้งสองช่วงวัยของทั้งสองพื้นที่ จำนวนกลุ่มละ 100 คน รวม 400 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณา และการวิเคราะห์เชิงสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) วัฒนธรรมของพื้นที่ศึกษาส่งผลต่อความคาดหวังในชีวิตหลังเกษียณ โดยพบว่าคนทั้งสองช่วงวัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีความคาดหวังการมีรายได้หรือมีงานทำหลังจากเกษียณ ต้องการหลักประกันเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ อยากได้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกายและใจ และมีสถานที่ที่ชอบไปยามว่างคือ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และตลาด ในขณะที่ในพื้นที่เชียงใหม่ คนทั้งสองช่วงวัยมีความคาดหวังว่าจะได้พักผ่อนกับคนในครอบครัวหลังเกษียณ มีความต้องการอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้สูงอายุในบ้าน ต้องการมีกิจกรรมช่วงกลางวันทำเป็นงานอดิเรก และมีสถานที่ที่ชอบไป คือ วัด ห้างสรรพสินค้า และตลาดสด 2) ความคาดหวังในการทำกิจกรรมหลังเกษียณของทั้งสองช่วงวัยมีความแตกต่างกัน โดยที่กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ซึ่งถือว่าส่วนใหญ่เข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ชอบทำกิจกรรมประจำวัน ได้แก่ ดูโทรทัศน์และทำอาหาร ในขณะที่กลุ่มเจนเนอร์เรชั่นเอ็กซ์ยังคงชอบทำกิจกรรมทางสังคม เช่น การเล่นอินเตอร์เน็ตและการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค อย่างไรก็ตามทั้งสี่กลุ่มยังคงมีความต้องการที่เหมือนกัน ได้แก่ ประชากรทั้งหมดต้องการอยู่ที่อยู่อาศัยเดิมหลังเกษียณ (Aged-in-place) ต้องการได้อยู่กับคนในครอบครัวหลังเกษียณ และทั้งหมดต้องการอยู่บ้านเดี่ยวหากเป็นไปได้ ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า พื้นที่มีผลกระทบต่อวัฒนธรรมและความคาดหวังในชีวิตหลังเกษียณมากกว่าช่วงวัย แต่ผู้สูงอายุในอนาคตหรือกลุ่ม GEN X มีแนวโน้มที่จะมีกิจกรรมติดสังคมมากขึ้นหลังเกษียณ ด้วยทิศทางดังกล่าวการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้สูงอายุในอนาคตจึงควรคำนึงถึงความต้องการเฉพาะที่แตกต่างจากผู้สูงอายุในปัจจุบัน ที่เป็นกลุ่ม BB ทั้งด้านนวัฒนธรรมของพื้นที่และกิจกรรมของช่วงวัย

References

Asisontisakul, R. & Ruangrueng, A. (2005). kānsāng khwāmkhaočhai rūam kan kīeokap
čhēnnoē rēchanwāi phư̄a kānprayukchai naithī tham ngān. (in Thai) [Generation Y: Building
a mutual understanding for workplace application] (Unpublished bachelor’s individual
Study). National Institute of Development Administration, Bangkok, Thailand.
Bergh, D., & Behrer, M. (2013). How cool brands stay hot: Branding to generation Y. London:
Kogan Page.
Charnchang, P. (2011). kān soē msāng khunnaphāp chīwit khō̜ng phū sūngʻāyu nai Krung Thēp.
(in Thai) [Enhaning the quality of life of the elderly in Bangkok]. Pathumthani University
Academic Journal, 3(3), 66-78.
Chindapol, S. (2016). Thermal comfort and heat stress of the elderly in hot-humid summers in
Thailand. (Unpublished dissertation). University of New South Wales, Sydney, Australia.
Commonwealth Department of Health and Ageing. (2002). Ageing in place. A guide for providers
of residential aged care. Canberra: Commonwealth of Australia.
Elderly Loans. (2018). sāng ngoē n bamnān dūai Reverse Mortgage: sinchư̄a phư̄a phū sūngʻāyu dōi
mī thīyūʻāsai pen lakprakan. (in Thai) [Create a pension by reverse mortgage: Loan for
the elderly using collateral residences]. Aommoney (Ed.), Retrieved from https://
aommoney.com/stories/news/reverse-mortgage/2452#jvkxu7qx42
Electronic Transactions Development Agency (Public Organization). (2017). rāingān phonlakā
rasamrūat phrưttikam phūchai ʻinthoē net nai prathēt Thai 2560. (in Thai) [Thailand
internet user profile 2017 report]. Bangkok: Digital Ministry for Economy and Society.
Grimms, K. (2015). Customizing your content to appeal to all generations. Retrieved from https://
www.socialmediatoday.com/marketing/kimberlygrimms/2015-07-24/customizing-yourcontent-
appeal-all-generations
Jarutach, T. (2017, August). thitthāng kānphatthanā thīyūʻāsai Thai phư̄ a rō̜ng rap sangkhom sūng
wai. (in Thai) [Housing development trend for ageing society]. In the seminar “Housing for
Aging Society: From Policy to Practical”. The seminar conducted at the meeting of Real
Estate Information Center, Government Housing Bank, Bangkok, Thailand.
National Statistical Office Thailand. (2012). rāingān kānsamrūat phāwa kān khrō̜ng chīp khō̜ng
khārātchakān phonlarư̄an sāman pī Phō̜.Sō̜. 2555. krasūang theknōlōyī sārasonthēt læ
kānsư̄sān. (in Thai) [Report of the civil servant living survey of the year 2012. Bangkok:
Ministry of Information and Communication Technology.
Ngamyan, A., & Phowphu, N. (2012). phū sūngʻāyu Thai: kāntē rī yomkā rathā ngō̜dā nakān ngoē n
læ laksana bānphak lang kasīan thī tō̜ngkān. (in Thai) [Thai senior citizens: Financial
preparation for retirement and required retirement housing features]. Journal of Business
Administration, Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University, 35(136),
62-87.
Nitniran, N. (2018). kāndamnoē n chīwit lang kasīanʻāyu rātchakān khō̜ng ʻāčhān Mahāwitthayālai
Rāmkhamhǣng. (in Thai) [Ways that Ramkhamhaeng University lecturers lead their lives
after retiring]. Ramkhamhaeng University Journal Humanities Edition, 37(1), 139-158.
Panyindee, S. (2018). ʻitthiphon khō̜ng sakkayaphāp nai kānthamngān kān sanapsanun thāng
sangkhom phrưttikam kāndūlǣ tonʻēng læ kān hen khunkhā hǣng ton thī mī phon tō̜
khwām phrō̜m nai kānthamngān lang kasīan khō̜ng phū sūngʻāyu nai khēt Krung Thēp
Mahā Nakhō̜n. (in Thai) [The influence of work potentiality, social support, self-care
behaviours and self-esteem on readiness to work of retired elderly in Bangkok]. Journal
of Humanity and Social Science, Burapa University, 26(51): 46-69.
Prachachat Thurakit. (2014). sēn mūbān sukkhaphāp mā rǣng asanghā hǣ longthun čho̜ talāt wai
kasīan. [ “Healthy village” Highlight trend-Real estate developers are investing with
retirement marketing]. Retrieved from https://www.prachachat.net/news_detail.
php?newsid=1388936110
Sinnitithaworn, T. (2010). Generation X. Retrieved from http://sites.google. com/site/490880tippaw
ansinnititaworn/examinatio/generation-x
Smart SME. (2016). phrưttikam kān rap khāosān phān sư̄ tāng tāng khō̜ng khon tǣ čhēn. (in Thai)
[Information receiving behaviour through medias of each generation]. Retrieved from
https://www.smartsme.co.th/content/54256
Thai Junior Encyclopedia Project. (2017). sārānukrom Thai samrap phū sūng wai. (in Thai)
[Thai encyclopedia for the elderly]. Bangkok: Thai Junior Encyclopedia Project.
United Nations Population Fund. (2011). Impact of demographic change in Thailand. Bangkok:
UNFPA (Thailand).
Yathip, S. (2017). sư̄ bān wan nī mī ngoē n chai pai čhon kǣ. (in Thai) [Buying a house today–Have
money until elders]. GPF Journal, September 2017, 4-9.
Yordphet, S. (2001). sawatdikān phū sūngʻāyu. (in Thai) [The elderly welfare]. Bangkok:
Chulalongkorn.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-10-24