แนวทางการปรับปรุงคุณภาพเสียงภายในห้องเรียนอาคารวิศิษฏ์อักษร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
คำสำคัญ:
คุณภาพเสียงในห้องเรียน ค่าการสะท้อนก้องของเสียง วัสดุดูดซับเสียงบทคัดย่อ
ในงานศึกษาชิ้นนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงคุณภาพเสียงของห้องเรียนจำนวน 30 ห้องภายในอาคารวิศิษฏ์อักษร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ห้องเรียนดังกล่าวใช้เป็นห้องเรียนภาษาต่างประเทศ ซึ่งมีการสื่อสารเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ การศึกษาจะมุ่งเน้นไปที่ดัชนีคุณภาพเสียง 3 ดัชนี ได้แก่ ค่าเสียงรบกวนพื้นหลัง (BNL) ค่าการสะท้อนก้องของเสียง (RT) และค่าการป้องกันเสียงของผนัง (STC) โดยอ้างอิงระเบียบวิธีและเกณฑ์มาตรฐานจากมาตรฐาน ANSI S12.60-2010/Part 1 จากผลการศึกษา พบว่าห้องเรียนที่ใช้เป็นห้องตัวอย่างมีค่าการสะท้อนก้องของเสียง (RT) ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ถึงแม้ว่าห้องดังกล่าวได้ดำเนินการตกแต่งภายในและติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงที่ผนังด้านหลังห้องเรียนแล้ว ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางการปรับปรุงคุณภาพเสียงห้องเรียนดังกล่าวด้วยการติดตั้งวัสดุดูดซับเสียงเหนือฝ้าเพดานยิปซัมฉลุรูเพิ่มเติมและยืนยันผลสำเร็จจากการติดตั้งด้วยวิธีการคำนวณจากสมการ
References
American National Standard. (2010). Acoustical performance criteria, design, and guidelines for schools, part 1: permanent schools. New York: Acoustical Society of America.
Egan, M. D. (1988). Architectural acoustics. New York: Mc Graw-Hill.
Eldakdoky S., & Elkhateeb, A. (2017). Acoustic improvement on two lecture auditoria: Simulation and experiment. Frontiers of Architectural Research, (6), 1-16.
Larm, P., Karanen, J., Helenius, R., Hakala, J., & Hongisto, V. (2004). Acoustics in open-plan offices-A laboratory study. Proceeding of Forum Acusticum 2005, pp. 2021-2025.
Liniwa, P., & Uppala P. (2018). phonkrathop khō̜ng kāndūtsapsīang thīmītō̜ khunnaphāpsīang phāinai hō̜ngrīan. (in Thai) [Effects of sound absorption on acoustics quality in classroom]. The Journal of King Mongkuts University of Technology North Bangkok, (28), 361-372.
Long, M. (2006). Architectural acoustics. California: Elsevier Academic Press.
Losuwan, S. (2009). nawattakam kānsāngsan hō̜ngrīan khunnaphāpsūng dūai rabop thammachāt. (in Thai) [The innovation design of high quality classroom using natural system] (Unpublished doctoral dissertation). Faculty of Architecture, Chulalongkorn University, Bangkok.
Madbouly, A. I., Noaman, A.Y., Ragab, A. H. M., Khedra, A. M., & Fayoumi, A. G. (2016). Assessment model of classroom acoustics criteria for enhancing speech intelligibility and learning quality. Applied Acoustics, (114), 147-158.
Thongkhamsamut, C. (2014). kānprapprung saphāpwǣtlō̜m khō̜ngsīang naihō̜ng banyāi khana sathāpattayakammasāt mahāwitthayālai Khō̜n Kǣn. (in Thai) [An improvement of acoustical environment in lecture room, Faculty of architecture, KhonKaen university].Journal of the Faculty of Architecture King Mongkut Institute of Technology Ladkrabang, (19), 38-50.
Thunaphon K., & Thongkhamsamut C. (2012). kān prapprung saphāpwǣtlō̜m khō̜ng sīang phāinai hō̜ng prachum khana theknōlōyī mahāwitthayālai Khō̜n Kǣn. (in Thai) [The improvement of acoustical environment in conference room, Faculty of technology, Khon Kaen university], Built Environment Inquiry Journal, (11), 33-51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ