แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนตลาดเทศบาลตำบลหล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • กิตติกุล บุญเปลี่ยน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศีตลา กลิ่นรอด คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ณัฐพงษ์ ประดิษฐ์ธรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ณัฏฐกฤษฏ์ ศุภกรพินธคุปต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์และพัฒนา, กระบวนการมีส่วนร่วม, ชุมชนตลาดเทศบาลตำบลหล่มเก่า

บทคัดย่อ

ชุมชนตลาดเทศบาลตำบลหล่มเก่า อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นย่านเก่าแก่ที่ยังคงเป็นศูนย์กลางของเมืองหล่มเก่า มีเอกลักษณ์ของตนเองที่สืบทอดผ่านกายภาพของเมืองที่มีอายุมากกว่า 100 ปี และสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีของชาติพันธุ์ชาวไทหล่มเอาไว้ จากการสำรวจพบกลุ่มเรือนแถวไม้ที่มีความสมบูรณ์ของลักษณะเรือนค้าขายและเป็นโครงสร้างไม้ระบบเสาคานหรือใกล้เคียงมากที่สุดกับรูปแบบดั้งเดิมตั้งแต่ก่อตั้งถิ่นฐานตามประวัติศาสตร์ และแสดงเอกลักษณ์เรือนค้าขายที่ควรแก่การอนุรักษ์เพื่อสืบทอดเรื่องราวของหล่มเก่า รวมทั้งหมด 122 หลัง ประกอบด้วย ห้องแถวไม้ชั้นเดียวที่สมบูรณ์ 28 หลัง และเรือนแถวไม้สองชั้นที่สมบูรณ์ 94 หลัง ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างชาวชุมชนที่เป็นพื้นที่ศึกษากับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จนได้ข้อมูลด้านแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน ประกอบด้วย 1. การพัฒนาชุมชนให้เป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่ควรได้รับการอนุรักษ์ปรับปรุงอาคารและภูมิทัศน์ตลอดแนวสองฝั่งถนนให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ 2. ถนนสายหลักและแยกหลักของชุมชนที่เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมและงานประเพณีต่างๆ ควรปรับปรุงทางเดินเท้าให้มีความต่อเนื่องเชื่อมต่อกันทั้งระดับและความกว้าง มีความปลอดภัยและใช้งานง่ายขึ้น 3. พื้นที่โล่งหรือพื้นที่สาธารณะที่ชาวหล่มเก่าเข้าถึงและใช้พื้นที่ด้วยความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ควรมีความปลอดภัยด้านการจัดการพื้นที่และการใช้งานที่เท่าเทียมกัน และ 4. อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวหล่มเก่าและลานหน้าอาคารควรมีไว้สำหรับทำกิจกรรมค้าขาย ประชาสัมพันธ์หรือกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกับชาวหล่มเก่า และเป็นพื้นที่ศูนย์รวมเรื่องราวในอดีตพร้อมกับเชื่อมโยงการใช้งานพื้นที่ในปัจจุบันให้นักท่องเที่ยวและคนในชุมชนเองได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าและเอกลักษณ์ของชุมชนตลาดเทศบาลหล่มเก่านอกจากนี้ยังพบว่า ลักษณะทางสถาปัตยกรรมอาคารบ้านเรือนในชุมชนตลาดเทศบาลตำบลหล่มเก่า ควรได้รับการปรับปรุงหรือออกแบบให้มีความสอดคล้องกับลักษณะดั้งเดิมให้มากที่สุด ทั้งองค์ประกอบอาคาร ขนาดและสัดส่วน ต้องคำนึงถึงความปลอดภัย แสงสว่างที่เหมาะสม การระบายอากาศที่ดี และการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งควรควบคุมความสูงของอาคารให้เท่ากับย่านเก่าทั้งบริเวณ อ้างอิงความสูงจากเรือนแถวไม้สองชั้น ไม่ควรเกิน 8 เมตร และความสูงจากอาคารพาณิชย์สามชั้นของกรมธนารักษ์ ไม่ควรเกิน 15 เมตร แม้แต่การปรับปรุงหรือสร้างอาคารใหม่ต้องคำนึงถึงบริบทของย่านการค้าเก่าแก่ของหล่มเก่าด้วย ทั้งนี้ ต้องเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้และสร้างความเป็นเอกภาพในการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนของตนเอง

Author Biographies

กิตติกุล บุญเปลี่ยน, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาจารย์ประจำ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี 12110

ศีตลา กลิ่นรอด, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาจารย์ประจำ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี 12110

ณัฐพงษ์ ประดิษฐ์ธรรม, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาจารย์ประจำ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประทุมธานี 12110

ณัฏฐกฤษฏ์ ศุภกรพินธคุปต์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

อาจารย์ประจำ สาขาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี 12110

References

Chukaew, P. (2014). kānsamrūat læ čhattham thānkhō̜mūn ʻākhān thī mī khunkhā khūan kǣkānʻanurak bō̜riwēn chumchon talāt kao thamūang ʻamphœ̄ thamūang čhangwat kānčhana burī. (In Thai) [Survey and Inventory of Important Buildings Worthy of Preservation in Tha Muang Old Market Community, Tha Muang District, Kanchanaburi Province] NAJUA: Architecture, Design and Built Environment, 11, 152-175.

Khanjanusathiti, P. (2009). kānʻanurak mō̜radok sathāpattayakam læ chumchon. (In Thai) [The Conservation Architectural Heritage and Community]. Bangkok: Chulalongkorn University Print.

Khuaphan,W. (2011). nǣothāng kān fư̄nfū bō̜riwēn chumchon kao bān sing thāčhangwat yasōthō̜n. (In Thai) [Guidelines for the Rehabilitation of Old Communities: Singh-Tha, Yasothon Province]. JARS:Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 8(2).69-80

Rodjanapradied, R. (2017). Urban Design Process. Bangkok: Chulapress.

SuchaXaya, C. (2009). Urban Conservation. Bangkok: Amarin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-29