ประสิทธิภาพของพรรณไม้เลื้อยแบบผนังสีเขียวต่อการลดการถ่ายเทความร้อน

ผู้แต่ง

  • ไตรภพ บุญธรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อน, พรรณไม้เลื้อย, ผนังสีเขียว

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของพรรณไม้เลื้อยแบบผนังสีเขียวต่อการลดการถ่ายเทความร้อน โดยทำการคัดเลือกพรรณไม้เลื้อย 6 ชนิด ด้วยการทดสอบความสามารถในการเจริญเติบโต เป็นระยะเวลา 30 วัน พบว่า พวงชมพูดอกขาว (Antigonon leptopus) มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด รองลงมาคือ ลีกวนยู (Vernonia elliptica) และเหลืองชัชวาล (Macfadyena unguis-cati) ตามลำดับ จากนั้นทำการศึกษาประสิทธิภาพของพรรณไม้เลื้อยบนกำแพงจำลอง 4 กำแพง โดยกำหนดให้กำแพงที่ 1 เป็นกำแพงควบคุม (ทิศตะวันตก) และกำแพงที่ 2-4 ปกคลุมด้วยพรรณไม้เลื้อยด้านหน้ากำแพง (ทิศตะวันตก) ได้แก่ ลีกวนยู พวงชมพูดอกชาว และเหลืองชัชวาล ตามลำดับ เก็บบันทึกอุณหภูมิเป็นระยะเวลา 5 วัน โดยแบ่งการเก็บข้อมูลเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงกลางวัน (6.00-18.00 น.) และช่วงกลางคืน (18.00-6.00 น.) ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่าอุณหภูมิด้านหน้ากำแพงที่ 1 ในช่วงเวลา 10.00-12.00 น. และ 16.00-20.00 น. ให้ค่าสูงกว่ากำแพงอื่นๆ ที่มีการปลูกพรรณไม้เลื้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในเวลา 14.00 น. กำแพงที่ปกคลุมด้วยลีกวนยู ให้ค่าอุณหภูมิด้านหน้ากำแพงต่ำที่สุดและน้อยกว่ากำแพงที่ปกคลุมด้วยพวงชมพูดอกขาว เหลืองชัชวาล และกำแพงควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่ 12.00-21.00 น. พบว่าอุณหภูมิด้านหลังของกำแพงควบคุม (ทิศตะวันออก) ไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับอุณหภูมิหลังกำแพงมีการปลูกพรรณไม้เลื้อย โดยผลที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้จะสามารถใช้ลีกวนยูเป็นแนวทางในการลดอุณหภูมิด้านหน้ากำแพงเพื่อช่วยลดการถ่ายเทความร้อนเข้าสู่ผนังอาคารอีกทางหนึ่ง

References

Manso, M., & Castro-Gomes, J. (2015). Green wall system: A review of their characteristics. Renewable and Sustainable Energy, 41, 863-871.

Sheweka, S. M., & Mohamed, N. M. (2012). Green facades as a new sustainable approach towards climate change. Energy Procedia, 18, 507-520.

Sunakorn, P., & Yimprayoon, C. (2011). Thermal performance of biofacade with natural ventilation in the tropical climate. Procedia Engineering Journal, 21, 34-41.

Wong, H. N., Kwang Tan, A. Y., Chen, Y., Sekar, K., Tan, P. Y., Chan, D., Chiang, K. & Wong, N. C. (2010). Thermal evaluation of vertical greenery systems for building walls. Building and Environment journal, 45, 663-672.

Boontia, V., & Teerawatananon, A. (2011). ‘ayapradap. (in Thai) [Climber]. Bangkok: Baanlaesuan.Chaidee, A. (2011). kān wat ʻattrā kn čharœ̄n tœ̄ptō khō̜ng phư̄t. (in Thai) [Measure of growth rate of plants] In N. Angkinand (Ed.), khūmư̄ prakō̜p sư̄ kānsō̜n witthayāsāt læ khanittasāt radap matthayommasưksā tō̜n plāi wichā chīwawitthayā .(in Thai) [Manual of science and mathematics teaching in high school: Subject in biology] (pp. 1-21). Bangkok: Chulalongkorn University.

Laopanitchakul, V. & Srisutapan, A. (2007). prasitthiphāp khō̜ng phanang ʻaya nai kānlot kān thāithē khwām rō̜n phān phanang ʻākhān.(in Thai) [The performance of climbing-plant panel for reducing heat transfer throught sold wall]. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 5(1), 173-183.

Sunakorn, P. & Yimprayoon, C. (2008). samatthana kān pō̜ngkan khwām rō̜n khō̜ng phǣng kandǣt ʻaya nai saphāpwǣtlō̜m khēt rō̜n chư̄n. (in Thai)[Thermal performance of climbing-plant panel in the tropical climate]. Journal of Energy Research. 7(1), 50-64.

Sunakorn, P. (2015). phư̄t phan prakō̜p ʻākhān. (in Thai)[Building Greenery]. Bangkok: Kasetsart University.

Veesommai, U., Siriphanich, S., Menakanit, A., & Pichakum, N. (2008). phan mai nai phūm sathāpattayakam 1 (Phim khrang thī 2).(in Thai) [Plants for landscape architectural uses in Thailand]. Bangkok: H.N. Group.

Veesommai, U., & Janjittikul, T. (2001). phrưksā phan (Phim khrang thī 2).(in Thai) [Plants for Materials in Thailand]. Bangkok: H.N. Group.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-06