สภาพแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม: กรณีศึกษา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • พันธพัฒน์ บุญมา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อัศนัย เล่งอี้ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2020.14

คำสำคัญ:

ความเสี่ยงของผู้สูงอายุ, ลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้ม, อาคารที่พักอาศัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในที่พักอาศัย โดยศึกษาในพื้นที่ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์คือศึกษาทางกายภาพ พื้นที่กิจกรรม และการพลัดตกหกล้ม รวมถึงแนวทางการลดความเสี่ยงการพลัดตกหกล้มในที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ โดยใช้แบบสำรวจและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการศึกษามีดังนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพค่อนข้างแข็งแรง มีการใช้ยาเป็นประจำ ส่วนใหญ่จะมีปัญหาทางสายตา อุบัติเหตุในที่พักอาศัยพบว่าเกิดจากสภาวะหน้ามืด โดยสถานที่ที่เกิดเหตุมากที่สุดคือที่ห้องนั่งเล่น ห้องครัวตามลำดับ และเกิดอุบัติเหตุมากที่สุดคือช่วงเวลา 8.00–15.00 น. การอยู่อาศัยส่วนใหญ่จะอยู่กับบุตรหลาน รูปแบบบ้านส่วนใหญ่เป็นปูนชั้นเดียว และในบ้าน2ชั้นผู้สูงอายุจะพักอาศัยอยู่ชั้นล่างของบ้าน มีการวางตำแหน่งของเตียงชิดผนังด้านหนึ่งและโล่งด้านหนึ่ง มีหน้าต่างอยู่บริเวณด้านข้างของที่นอน ห้องน้ำโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในตัวบ้าน โดยโถส้วมแบบนั่งราบและแบบนั่งยองมีจำนวนใกล้เคียงกัน พื้นที่นั่งเล่นและรับแขกส่วนใหญ่จะใช้เก้าอี้นั่ง ห้องครัว ส่วนใหญ่จะอยู่ในบ้าน และพบว่ามีการใช้เตาถ่าน (ตั้งกับพื้น) พื้นของบ้านส่วนใหญ่เป็นวัสดุที่แข็งแรง โดยพื้นที่มีแป้งฝุ่น (ทาตัว) หรือทรายทำให้เกิดการลื่นมากที่สุด ส่วนพื้นที่ต่างระดับจะทำให้เกิดการสะดุดมากที่สุด บ้านที่มีสิ่งของรกรุงรัง ทำให้หกล้มมากที่สุด และบ้านส่วนใหญ่จะมีราวจับบันได ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมในที่พักอาศัยที่มีผลต่อความเสี่ยงมีความแตกต่างหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานรวมถึงสภาพบริบทของที่พักอาศัย ดังนั้นการจัดเตรียมสภาพที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ โดยคำนึงถึงรูปแบบลักษณะการใช้งานจริง รวมถึงข้อจำกัดที่พบในการใช้งาน จะทำให้เราทราบปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนำไปสู่แนวทางแก้ไขที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพื้นที่รวมถึงข้อจำกัดของแต่ละบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่อุบัติเหตุในการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุในที่พักอาศัยได้

References

คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2545). การหกล้มในผู้สูงอายุโครงการขยายโอกาสทางการเรียนรู้ด้านการดูแลตนเองสู่ประชาชน. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.formumandme.com

แดนเนาวรัตน์ จามรจันทร์ และคณะ. (2548). การศึกษาเรื่องการทรงตัวและหกล้มในผู้สูงอายุไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะ. (2548). โครงการศึกษามาตรฐานขั้นตำสำหรับที่พักอาศัย และสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ.4วิจัย,มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

นงนุช วงศ์สว่าง และคณะ. (2560). ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในบ้านต่อการพลัดตกหกล้มและอุบัติการณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences

and arts), 10(3), 2492-2506.

บุญพา จีนแผ้ว. (2552). รูปแบบพื้นผิวกันกระแทกภายในห้องน้ำสาหรับผู้สูงอายุ.อ้างใน อารยา เอกปริญญาและสมพิศ ฟูสกุล.วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.12,45-56.

ปะราลี โอภาสนันท์ และคณะ. (2559). การพยาบาลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.พิมพ์ครั้งที่ 2. พะเยา.

พรศิริ พฤกษะศรี และคณะ. (2551). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยลีลาศต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม. สงขลานครินทร์เวชสาร, 26(4), 323-337.

วิชัย เอกพลากร และคณะ, (2555). คู่มือการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551. สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา. (2558). สรุปผลการดำเนินงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา ปีงบประมาณ 2558. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2559, จากhttp://www.pyomoph.go.th /sub_index.php?id

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกสำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559, จาก http://service.nso.go.th/ nso/nsopublish/ themes/ files/elderlyworkReport57.pdf

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2558). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิภาวี กิจกำแหง และคณะ. (2549). ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี.

ศวิษฐ์ พิริยะสุรวงศ์ และคณะ. (2017). การออกแบบพื้นที่ภายในห้องของอาคารชุดพักอาศัยสำหรับ ผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา:แฟลตเคหะชุมชนดินแดง 1. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28, 174-18.

United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division. (2015). World Population Prospects: The 2015 Revision, DVD Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-12

How to Cite

บุญมา พ., & เล่งอี้ อ. (2020). สภาพแวดล้อมในบ้านของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม: กรณีศึกษา ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 19(3), 43–60. https://doi.org/10.14456/bei.2020.14