การถ่ายทอดอัตลักษณ์ท้องถิ่นผ่านงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย กรณีศึกษาในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย

ผู้แต่ง

  • ณัฐกรณ์ ธนานันต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพดล ตั้งสกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2021.1

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์ท้องถิ่น, การออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย, สถาปัตยกรรมในเอเชีย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิธีการถ่ายทอดอัตลักษณ์ท้องถิ่นในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย จากการถอดองค์ประกอบและวิเคราะห์อาคารกรณีศึกษา ซึ่งได้ทำการคัดเลือกจากบทความและสิ่งพิมพ์ที่เผยแพร่ในสื่อทางด้านสถาปัตยกรรมทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย จำนวน 30 ตัวอย่าง โดยพิจารณาในประเด็นต่างๆได้แก่ อัตลักษณ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่น อัตลักษณ์ศิลปะท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัสดุท้องถิ่น และเงื่อนไขเฉพาะของที่ตั้ง

ผลการศึกษาพบว่า 1) ในแต่ละภูมิภาคมีการเชื่อมโยงและสะท้อนถึงท้องถิ่น โดยผ่านการแสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นในสถาปัตยกรรม และมีวิธีการถ่ายทอดอัตลักษณ์ที่ทั้งแตกต่างและมีจุดร่วมที่คล้ายคลึงกัน โดยมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ ทรัพยากรในท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมเฉพาะของท้องถิ่นหรือภูมิภาคนั้นๆ 2) อัตลักษณ์ท้องถิ่นในสถาปัตยกรรมร่วมสมัยมีหลายลักษณะ เช่น การประยุกต์ใช้องค์ประกอบสถาปัตยกรรมท้องถิ่น การประยุกต์ใช้ลวดลายศิลปะท้องถิ่น การนำภูมิปัญญาการก่อสร้างดั้งเดิมมาประยุกต์ 3) ในอาคารกรณีศึกษาหนึ่งอาจมีวิธีการถ่ายทอดอัตลักษณ์ท้องถิ่นมากกว่าหนึ่งวิธีการ 4) ประเภทการใช้งานของอาคารมีผลต่อวิธีการถ่ายทอดอัตลักษณ์ท้องถิ่นในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย 5) ประเด็นที่พบว่า มีการประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดอัตลักษณ์ท้องถิ่นมากที่สุด ได้แก่ การใช้ลักษณะบางประการจากการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับใช้กับอาคารร่วมสมัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-27

How to Cite

ธนานันต์ ณ., & ตั้งสกุล น. (2021). การถ่ายทอดอัตลักษณ์ท้องถิ่นผ่านงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย กรณีศึกษาในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 20(1), 1–20. https://doi.org/10.14456/bei.2021.1