ปัจจัยทุนทำงสิ่งแวดล้อม ทุนทำงสังคมและวัฒนธรรม และทุนทำงเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • วีระศิษฏ์ แก้วป่อง สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ทัศนาวลัย อุฑารสกุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2020.16

คำสำคัญ:

ปัจจัยทุนทางสิ่งแวดล้อม, การจัดการสิ่งแวดล้อม, ถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน

บทคัดย่อ

ถนนคนเดินข่วงเมืองน่านเป็นพื้นที่ที่มีความ สำคัญต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดน่าน ตั้งอยู่ใจกลำงเมืองใกล้กับสถานที่ที่มีความงดงาม และเป็นเป้าหมายของนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาเยือนน่านนครในการเยี่ยมชมความงามของน่านยามค่ำคืน การพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบของถนนคนเดิน นับเป็นส่วน สำคัญในการช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่น ส่งเสริมวิถีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ ในขณะเดียวกันก็มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่สืบเนื่องจากกิจกรรมการท่องเที่ยว
การวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยทุนทางสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม และทุนทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้น (AHP)โดยมีผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ให้คะแนนความ สำคัญของปัจจัย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยชี้วัดการจัดการท่องเที่ยวของถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมมีความ สำคัญเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาคือเกณฑ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม และเกณฑ์ด้านเศรษฐกิจตามลำดับ เมื่อพิจำรณาถึงค่ำคะแนนความ สำคัญของด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าปัจจัยในด้านขยะและเศษอาหาร เป็นสิ่ง สำคัญที่ควรได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีเป็นลำดับแรก โดยมีข้อเสนอแนะให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมจัดการขยะ ลดปริมาณอาหารเหลือทิ้ง ในส่วนของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรร่วมกันวางแนวทางการใช้ประโยชน์จากเศษอาหาร รวมทั้งสร้างความร่วมมือในการกำหนดแนวทางการจัดการขยะที่กลุ่มผู้ค้า เพื่อการลดปริมาณขยะตั้งแต่ต้นทาง ด้านสังคมและวัฒนธรรม พบว่าปัจจัยด้านความปลอดภัยมีค่ำคะแนนความ สำคัญเป็นลำดับที่ 1 โดยมีข้อเสนอแนะให้จัดการวางแผนด้านความปลอดภัยในบริเวณถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน และบริเวณโดยรอบ สำหรับด้านเศรษฐกิจ พบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวมีค่าคะแนนความ สำคัญลำดับที่ 1 ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นสิ่ง สำคัญที่ทำให้เกิดความยั่งยืนของกิจกรรมถนนคนเดิน นำไปสู่การกระจายรายได้สู่ผู้ค้าและเครือข่ายผู้ประกอบการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนในพื้นที่เพื่อก้าวสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมมลพิษ.

เทศบาลนครน่าน. (2560, 16 กรกฎาคม). ปฏิทินแอ่วน่าน ลำนวัฒนธรรม ปี ๒๕๖๐ โครงการพัฒนาอัตลักษณ์ฯ.สืบค้นจาก http://nancity.go.th/nan/index.php/2017-01-26-03-17-50.

น้ำฝน พุฒิสันติกุล. (2553). การเลือกทำเลที่ตั้งศูนย์กระจำยสินค้าของอะไหล่ยานยนต์โดยใช้ กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปิติ ปิติเพิ่มพูน. (2550). กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ สำหรับการตัดสินใจมีรถขนส่งของเอง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาริชาติ ยาน้อย. (2562). อัตลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อ สำรการตลำดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวกำดข่วงเมืองน่าน(ถนนคนเดินวัดภูมินทร์) . กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พัทธวรรณ์ เลิศสุชาตวนิช. (2559). การพัฒนาแบบจำลอง สำหรับการประเมินความวิกฤตจากการท่องเที่ยว ประเภทภูเขาลูกโดด : กรณีศึกษาเขากระโจม อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี,วีระ สัจกุล.(2555).การใช้พื้นที่ สำธารณะเป็นถนนคนเดินแบบตลำดนัดในเมืองของไทย.เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วีระศิษฏ์ แก้วป่อง. (2562). Proceeding ENVI2019 การประชุมวิชาการ ระดับชาติด้านสิ่งแวดล้อม ในหัวข้อเรื่อง “สิ่งแวดล้อม 2562: วิกฤติ หรือ โอกำสทางด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อม” Environment 2019: Crisis or Opportunity in Environmental Management. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สมัญญา รังสิเสนำ ณ อยุธยา. (2552). ปัจจัย สำหรับการบริหารฝูงรถยนต์เสื่อมสภาพของกองทัพอำกำศโดยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพาดา สิริกุตตา และไพบูลย์ อำชารุ่งโรจน์. (2558). ปัจจัยสู่ความ สำเร็จของโมเดลต้นแบบถนนคนเดินประเทศจีน: กรณีศึกษาเมืองกวางโจว และหางโจว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-11

How to Cite

แก้วป่อง ว., & อุฑารสกุล ท. (2020). ปัจจัยทุนทำงสิ่งแวดล้อม ทุนทำงสังคมและวัฒนธรรม และทุนทำงเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมถนนคนเดินข่วงเมืองน่าน จังหวัดน่าน. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 19(3), 79–96. https://doi.org/10.14456/bei.2020.16