การพัฒนาผังแม่บทมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในทศวรรษหน้า

ผู้แต่ง

  • วรายุทธ อินอร่าม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2021.15

คำสำคัญ:

ผังแม่บทมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนาผังแม่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในทศวรรษหน้า ตั้งแต่ปี 2560-2570 และศึกษาความเหมาะสมการวางผังแม่บทมหาวิทยาลัยและพื้นที่ต่อเนื่องแปลงที่ 1 (พื้นที่ทำเลพื้นที่ป่าช้าโนนกอง) และแปลงที่ 2 (พื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์โนนแค) การดำเนินการวิจัยได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมการวางผังแม่บทมหาวิทยาลัยในอนาคต ด้วยการทำแบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามชุดที่ 1 สอบถามกลุ่มคนในมหาวิทยาลัย และแบบสอบถามชุดที่ 2 สอบถามกลุ่มคนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบมหาวิทยาลัย ผลจากการสำรวจความคิดเห็นทั้ง 2 กลุ่ม นำมาจัดทำ(ร่าง)ผังแม่บทมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ 2) สำรวจความคิดเห็นจาก (ร่าง)ผังแม่บทมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ด้วยวิธี Delphi จากผู้เชี่ยวชาญ 5 กลุ่ม คือ (1) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (2) กลุ่มบริหารสถาบันอุดมศึกษา (3) กลุ่มผู้บริหารของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (4) กลุ่มคนใช้งานโดยนักศึกษา และ(5) กลุ่มคนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบมหาวิทยาลัย ซึ่งผลสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มคนในมหาวิทยาลัยพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ แนวทางการออกแบบและปรับปรุงผังแม่บทด้านประโยชน์ใช้สอยพื้นที่ รองลงมาแนวทางการออกแบบและปรับปรุงผังแม่บทด้านระบบการสัญจร และแนวทางการออกแบบและปรับปรุงผังแม่บทด้านจินตภาพ ผลสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มคนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบมหาวิทยาลัยพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ การใช้ประโยชน์พื้นที่ต่อเนื่องแปลงที่ 1 (พื้นที่ทำเลพื้นที่ป่าช้าโนนกอง) มีความเหมาะสมในการแบ่งโซนนิ่งด้านการจัดระบบสัญจรรถยนต์ด้านการกำหนดประโยชน์ใช้สอยและที่ตั้งอาคาร และการใช้ประโยชน์พื้นที่แปลงที่ 2 (พื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์โนนแค) มีความเหมาะสมในการแบ่งโซนนิ่งด้านพื้นที่จอดรถด้านการกำหนดประโยชน์ใช้สอยและที่ตั้งอาคาร และผลสำรวจความคิดเห็นด้วยวิธี Delphi ผังแม่บทที่ดินต่อเนื่องแปลงที่ 1 (พื้นที่ทำเลพื้นที่ป่าช้าโนนกอง)  และ แปลงที่ 2 (พื้นที่ทำเลเลี้ยงสัตว์โนนแค) พบว่า การใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชน ข้อบังคับการก่อสร้าง โครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน

References

Amonchai, S. (2009). Green Product for Sustainable Environment. Journal of the Department
of Science Service. Journal of Department of Science Service, 57(179), 29-36.
Anantasan, U. (1996). Site Planning Design. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.
(In Thai)
Aruninta, A. (2016). Landscape Architectural Design and Construction Technology. Bangkok:
Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)
Boonkham, D. (2009). Site Planning and Work. Bangkok: Chulalongkorn University Printing
House. (In Thai)
Buakaw, T. & Bejrananda, M. (2012). Policy and Strategy Formation Towards ‘Green
University’:a Case of Thaksin University, Phatthalung Campus . Journal of The Faculty of Architecture King Mongkuts Institute of Technology Ladkrabang, 14(14), 40–
55. (In Thai)
Buranasompop, T. et al., (2003). Green and clean campus. Faculty of Architecture Silpakorn
University. (In Thai)
Ching, F. D. K. (1979). Architecture: Form, Space and Order. New York: Van Nostrand Reinhold
Company, Inc.
Horayangkura, V. (1992). Preparation of project details for architectural design. Bangkok:
Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)
Janjamsai, M. (1999). Site Planning. Bangkok: Phranakhon Rajabhat institute. (In Thai)
Kevin, L. (1980). Site Planning. Massachusetts: MIT Press.
Kulchon, K. (2002). What is urban design: a 40-year pursuit of answers. Bangkok: Faculty of
Architecture Silpakorn University. (In Thai)
King Mongkut's Univerity of Technology Thonburi. (2015). Project Unite for Power of Two
University.Retrived April 29, 2015, from https://www.green.kmutt.ac .th/index2.html.
(In Thai)
Siriphanich, S. (2011). Fundamental Landscape. Bangkok: BTS Press. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-01

How to Cite

อินอร่าม ว. (2021). การพัฒนาผังแม่บทมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในทศวรรษหน้า. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 20(3), 1–16. https://doi.org/10.14456/bei.2021.15