การปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคารเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก : กรณีศึกษาอาคารสถานศึกษาอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • บุษกร ดวงแก้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สัทธา ปัญญาแก้ว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.2

คำสำคัญ:

วัสดุกรอบอาคาร, ก๊าซเรือนกระจก, อาคารสถานศึกษาอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

               งานวิจัยนี้ศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรอบอาคารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จากแบบมาตรฐาน เพื่อหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงานขั้นต่ำ (Building energy code, BEC) ประเภทอาคารสถานศึกษา คือ มีค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของผนัง (OTTV) ไม่เกิน 50 วัตต์/ตร.ม. (W/m2) และมีค่าการถ่ายเทความร้อนรวมของหลังคา (RTTV) ไม่เกิน 15 วัตต์/ตร.ม. (W/m2) คำนวณโดยใช้โปรแกรม BEC v.1.0.6 ซึ่งในการคำนวณหาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้อยู่ในรูปของกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (kgCO2eq) ด้วยการประเมินวัฏจักรชีวิต เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ตรวจสอบถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของอาคาร โดยใช้โปรแกรม SimaPro 9.1.1 ด้วยวิธีการประเมินของ IPCC 2013 GWP 100a V1.03 มีขอบเขตการศึกษา คือ Cradle to gate ซึ่งพิจารณาตั้งแต่การได้มาของวัตถุดิบในการก่อสร้าง ไปจนถึงการขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้าง ไม่รวมกระบวนการก่อสร้างอาคาร

            จากผลการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรอบอาคารศูนย์วิทยบริการก่อนการปรับปรุง มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของกรอบอาคารทั้งหมด 51,197.99 kgCO2eq ซึ่งผนังก่ออิฐครึ่งแผ่น มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 33.48 รองลงมา ได้แก่ หลังคา คิดเป็นร้อยละ 26.35, เสา ค.ส.ล. คิดเป็นร้อยละ 21.08, คาน ค.ส.ล. คิดเป็นร้อยละ 12.74 และกระจกใส หนา 5 มม. คิดเป็นร้อยละ 6.36 ตามลำดับ จากผลการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยการปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคารที่ผ่านเกณฑ์ BEC ประเภทอาคารสถานศึกษา พบว่า ผนังทึบแสง คือ ผนังคอนกรีตบล็อกกลวง+ฉนวนใยแก้ว+แผ่นยิปซั่มบอร์ด, วัสดุผนังโปร่งแสง คือ กระจก Dark Coolgray Float Glass 5 mm. และวัสดุหลังคา คือ หลังคาที่มีการเพิ่มความหนาฉนวนใยแก้วกันความร้อนความหนาแน่น 32 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร (Kg/m3) ความหนา 25 มม. ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากที่สุด ซึ่งหลังการปรับปรุงมีค่า OTTV 34.471 วัตต์/ตร.ม. และมีค่า RTTV 13.276 วัตต์/ตร.ม.

            สรุปผลการเปรียบเทียบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของวัสดุกรอบอาคารทั้งหมดหลังการปรับปรุงมีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงจากกรอบอาคารก่อนปรับปรุง 1,168.63 kgCO2eq เมื่อคิดตามจำนวนสถานศึกษาสังกัด สอศ. ทั่วประเทศไทย จะสามารถช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง 1,068,127.82 kgCO2eq ดังนั้นวัสดุกรอบอาคารทางเลือกนอกจากจะต้องผ่านเกณฑ์ BEC และยังควรมีการศึกษาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมด้วยประกอบการตัดสินใจเลือกวัสดุของสถาปนิก, ผู้ครอบครองอาคารและผู้ที่สนใจ ช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการสร้างความตระหนักการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๗๓. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กระทรวงพลังงาน. (2558). แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี (พ.ศ. 2554 - 2573).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). นโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่สากล พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๒๕๖๙. กรุงเทพฯ.
ศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน. (2558). แนวทางการออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-15

How to Cite

ดวงแก้ว บ., & ปัญญาแก้ว ส. (2022). การปรับเปลี่ยนวัสดุกรอบอาคารเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก : กรณีศึกษาอาคารสถานศึกษาอาชีวศึกษา. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(1), 21–36. https://doi.org/10.14456/bei.2022.2