องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของห้องแถวไม้โบราณตลาดเก่าก๊กพระยา จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ประธาน ยานกูลวงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ธนพร วรฉัตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • อมร ปิยะวาจี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2021.19

คำสำคัญ:

ลักษณะทางกายภาพ, การปรับตัว, ห้องแถว, ตลาดชุมชนเก่า

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการสำรวจลักษณะทางกายภาพที่ปรากฏในส่วนบริเวณทางเดินกลางของตลาดเก่าก๊กพยา จังหวัดนครปฐม ประกอบไปด้วย ห้องแถวที่มีการปรับตัวเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งตลาดเมื่อพ.ศ. 2450 จำนวน 46 ห้องแถว ซึ่งพิจารณาลักษณะทางกายภาพที่มองเห็นจากทางเดินกลาง เช่น ประตู ช่องแสงระบายอากาศ หน้าต่าง ระแนงไม้ ผนัง ลวดลาย ชายคา พื้นที่หน้าบ้าน เครื่องเรือน เป็นต้น ที่ชุมชนได้แสดงออกมา นำไปสู่การรวบรวมและระบุตำแหน่ง เพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นลักษณะร่วมกัน สิ่งที่มีคุณค่าความหมายต่อการดำเนินชีวิต ค่านิยมของการปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัย

            ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพที่มีร่วมกันในมิติทางสถาปัตยกรรมห้องแถวบริเวณด้านหน้าร้าน สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวของชุมชนที่มีต้นกำเนิดของชาวจีน ผสมกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทย ตั้งแต่การอยู่ในเรือนที่ปลูกสร้างอย่างเรียบง่ายทรงบังกะโลตามแบบตะวันตกที่มีการแพร่หลายในไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็แฝงเอาคติแบบจีนที่แสดงออกผ่านช่องแสงเหนือประตูสื่อความหมายของการไหลเวียนของอากาศและเงินทอง อันเป็นภูมิปัญญาของจีนที่ทำให้ห้องแถวดูไม่อึดอัด การเลือกใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ล้วนมีการเชื่อมต่อสัมพันธ์สอดคล้องกันตามวิถีชีวิตที่การค้าขายในอดีตในพื้นที่ริมน้ำท่าจีนมีความเจริญรุ่งเรือง ด้วยพื้นที่หน้าร้านที่ช่วยส่งเสริมการค้าขาย จนถึงยุคยุคปัจจุบันชุมชนเปลี่ยนไปตามกาลเวลาและคนรุ่นใหม่ประกอบอาชีพอื่นจึงเน้นรูปแบบการอยู่อาศัยทำให้เกิดพื้นที่ที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แต่ก็ยังคงสืบทอดลักษณะอันมีคุณค่าของบรรพบุรุษมาจวบจนปัจจุบัน

References

จี วิลเลียม สกินเนอร์. (2529). สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์ และคนอื่นๆ .กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
น ณ ปากน้ำ. (2555). แบบแผนบ้านเรือนในสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
ปุณยนุชวิภา เสนคำ และเอกพล สิระชัยนันท์. (2560). การศึกษาอัตลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมของชุมชนริมน้ำจันทบูรเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมภายในร้านค้า. วารสารสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย. ปีที่ 16. ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560. ประจำปี 2560. หน้าที่. 41-54.
พรรณนิภา ปิณฑวนิช และคณะ. (2555). ย่านพาณิชยกรรมวังกรด กระบวนการเรียรู้จากสิ่งละอันพันละน้อย. โดยคณะทำงานโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยย่านชุมชนตลาดวังกรด. กรุงเทพฯ: ซีดี มีเดียไกด์.
มนัชญา วาจก์วิศุทธิ์. (2548). เสวนาสัญจรชุมชนตลาดริมน้ำ : พิพิธภัณฑ์มีชีวิต. อิโคโมสไทย. กรุงเทพฯ
ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์. (2556). เอกลักษณ์ชุมชนริมน้ำ: แม่กลองและบางปะกง. กรุงเทพฯ: สถาปัตยกรรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2557). ลำนำลำพญา: เสบียงความรู้คู่การท่องเที่ยวตามสายน้ำลำพญา. นครปฐม: ศูนย์สยามทรรศน์ศึกษา และศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
กฤตพร ห้าวหาญ (2561). วิถีท้องถิ่นและผังกายภาพของตลาดชุมชนริมบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน กรณีศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดนครปฐม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2564 จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/132386/99419
ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์. (2561). ประตูเหล็กยืด อิทธิพลยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่บุกเข้ายึดบ้านตึกแถวจนเป็นภาพจำไปทั่วไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564 จาก https://readthecloud.co/architect-folding-metal-door/
ปัญญา เทพสิงห์ และ วุฒิ วัฒนสิน. (2547). รายงานวิจัยเรื่อง ลวดลายตกแต่งหน้าอาคารชิโน-ปอร์ตุกีสในจังหวัดภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2564 จากhttps://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2553/5354
วีระ อินพันทัง. (2554). การกลายรูปในเรือนลาวโซ่ง. วารสารหน้าจั่วว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย ฉบับที่ 7 กันยายน 2553-สิงหาคม 2554. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2564 จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NAJUA/article/view/16620/15040
สืบพงศ์ จรรย์สืบศรี (2559). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564 จาก https://issuu.com/suebpongchans/docs/vernarchbook58
อังคณา แสงสว่าง. (2550). บทบาททางเศรษฐกิจของชาวจีนในจังหวัดฉะเชิงเทราระหว่าง พ.ศ. 2398-2475. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564 จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/His/AUNGKANA_S.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29

How to Cite

ยานกูลวงศ์ ป., วรฉัตร ธ., & ปิยะวาจี อ. (2021). องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของห้องแถวไม้โบราณตลาดเก่าก๊กพระยา จังหวัดนครปฐม. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 20(3), 61–78. https://doi.org/10.14456/bei.2021.19