แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน กรณีศึกษาสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง)
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2022.9คำสำคัญ:
การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน, สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง), การใช้งานพื้นที่, มรดกรถไฟบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน โดยใช้กรณีศึกษาสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนได้เสีย ตามแนวคิดการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development: TOD) กรณีศึกษาสถานีรถไฟ 9 แห่ง จาก 6 ประเทศ ผลการศึกษา พบว่า สัดส่วนของพื้นที่ของกรณีศึกษาสถานีรถไฟในต่างประเทศ แบ่งเป็น 5 กลุ่มพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สาธารณะ มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 16.49 พื้นที่สำหรับทำงาน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 29.96 พื้นที่การค้าปลีก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 18.91 พื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 33.81 และพื้นที่สีเขียว มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 17.50 อนึ่งแนวทางการพัฒนาพื้นที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 27 คน การร่วมจัดกิจกรรมสื่อสารสาธารณะ จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน และการร่วมจัดเวทีสาธารณะ 2 ครั้ง จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 54 คน สามารถระบุรูปแบบการจัดสรรพื้นที่ออกเป็น 8 ประเภท คือ Community Mall, Creative Space, Mixed-use, Museum, Multimodal Transportation, Creative district, Park/Creative Park, Hotel/Resident อีกทั้งยังพบว่าแนวการพัฒนาพื้นที่ควรมีลักษณะเชื่อมโยงกันทุกมิติ ได้แก่ มิติที่ 1 ควรสร้างทางเท้าเชื่อมต่อพื้นที่ภายในและภายนอกสถานี มิติที่ 2 เตรียมพื้นที่จอดจักรยานและเส้นทางจักรยาน มิติที่ 3 สร้างการเชื่อมต่อระหว่างย่านใกล้เคียง พัฒนาพื้นที่เป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อของนักท่องเที่ยวและศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ มิติที่ 4 ทำให้สถานีกลายเป็นจุดเชื่อมโยง ในลักษณะ “ใยแมงมุม” เข้าถึงได้สะดวกจากทุกพื้นที่ มิติที่ 5 จัดสรรพื้นที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มคนที่หลากหลายวัย ใช้พื้นที่ลักษณะผสมผสาน อันส่งเสริมให้เกิดพื้นที่ชุมชนยั่งยืน มิติที่ 6 กระตุ้นให้พื้นที่ได้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชนและคนกรุงเทพฯ อีกทั้งพัฒนาให้พื้นที่กลายเป็น “ย่านสร้างสรรค์” และเกิดธุรกิจเชิงวัฒนธรรม มิติที่ 7 ผลักดันให้เกิดพื้นที่สีเขียวของกรุงเทพฯ และมิติที่ 8 การพัฒนาที่ช่วยปรับภาพลักษณ์และสร้างความเข้าใจใหม่ให้แก่สถานี สร้างความมั่นคงทางรายได้แก่คนในชุมชน จัดสรรพื้นที่เพื่อสร้างศูนย์ฝึกอาชีพและพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัยที่ทุกคนจ่ายได้ อย่างไรก็ตามผลการศึกษายังระบุสิ่งที่มีคุณค่าสำคัญที่สุดในพื้นที่ แบ่งได้เป็น 5 ประเด็น คือ 1) คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ 2) คุณค่าด้านความงามทางสถาปัตยกรรม 3) คุณค่าด้านการขนส่งสาธารณะ 4) คุณค่าด้านพื้นที่สาธารณะ และ 5) คุณค่าด้านจิตใจ
References
(eds.), Fostering Equitable and Sustainable Transit-Oriented Development. Chicago: Centre for Transit-Oriented Development.
Calthorpe, P. (1993). The Next American Metropolis: Ecology, Community, and the American Dream. New York: Princeton Architectural.
Edwards, M. (2009). Urban Design and the British Urban Renaissance. London: Routledge.
Hsu, K.W., Chao, NA, & Hong, P L., (2020). Combining Transit-Oriented Development and Urban Agriculture Strategy on Constructing Urban
Environment Sustainability, the Case of Taiyuan railway station, Taichung, Taiwan. IOP Conference Series: Earth and Environmental
Science. Volume 581, 2020 10th International Conference on Future Environment and Energy 7-9 January 2020, Kyoto, Japan.
Institute for Transportation and Development Policy. (2017). TOD Standard, 3rd ed. New York: ITDP.
Kittelsen & Association. (2012). Aberdeen TOD Master Plan: Aberdeen, Maryland. Baltimore: Kittelsen & Association.
Lejava, J. (n.d.). TOD Development. Retrieved 23 November 2020 from TOD Developments – TOD line (pace.edu)
NIA. (n.d.) Osaka Osaka, the kingdom of knowledge, in which the area around the railroad has been turned valuable. Retrieved 23
November 2020 from https://www.nia.or.th/OSAKA
Prosperity Fund, Foreign Commonwealth Office. (2016). Your guide to Transit Oriented Development.
Public-private partnership ACT, B.E. 2562 (2019). (2019, 10 March). Royal Thai Government Gazette. Rule Number 136 Section Number 29 a.
Pages 1-29. พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562. (2562, 10 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 29 ก. หน้า 1-29.
Srisakulchairak, T., Arnmanee, T., & Uthaipattrakoon, T. (2020). The Study for Identity Values and Social Needs for Conservation Development of Bangkok Railway Stations Hua Lamphong. Bangkok: Thailand Science Research and Innovation (TSRI). ธิป ศรีสกุลไชยรัก, ธน.
ภัทร อานมณี, และธนา อุทัยภัตรากูร. (2563). โครงการวิจัย การศึกษาคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ และความต้องการทางสังคมในการอนุรักษ์พัฒนาสถานีรถไฟหัวลำโพง.
กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
Suzuki, H., Cervero, R., & Iuchi, K. (2013). Transforming Cities with Transit: Transit and Land-Use Integration for Sustainable Urban
Development. Washington D.C.: The World Bank.
The Secretariat of the Senate. (2020). PUBLIC-PRIVATE PARTNERSHIP ACT, B.E. 2562 (2019). Bangkok: The Secretariat of the Senate. สำนักงาน
เลขาธิการวุฒิสภา. (2563). พระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
Zacharias, Zhang, & Nakajima. (2011). Tokyo Station City: The railway station as urban place. Retrieved 23 November 2020 from
https://keio.pure.elsevier.com/en/publications/tokyo-station-city-the-railway-station-as-urban-place
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ