แนวทางการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านสำหรับบ้านผู้มีรายได้น้อย

ผู้แต่ง

  • วรุตน์ วีระศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • จิระ อำนวยสิทธิ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.3

คำสำคัญ:

พื้นที่ส่วนกลาง รายได้น้อย บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านสำหรับบ้านผู้มีรายได้น้อย เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้พื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านสำหรับบ้านผู้มีรายได้น้อย และเพื่อสร้างแนวทางในการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านสำหรับบ้านผู้มีรายได้น้อย โดยวิธีการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ตำแหน่ง ขนาด และพฤติกรรมการใช้พื้นที่ภายในบ้านของบ้านผู้มีรายได้น้อยทั้ง 2 รูปแบบ รูปแบบละ 4 กรณีศึกษา เพื่อนำมาออกแบบเป็นแปลนบ้านต้นแบบ อย่างละ 4 แบบ และนำแปลนบ้านต้นแบบที่ได้จากการวิเคราะห์ มาให้กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเลือกรูปแบบที่เหมาะกับพฤติกรรมการใช้งานของตัวเองมากที่สุด เพื่อสรุปหาแนวทางในการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านสำหรับบ้านผู้มีรายได้น้อย

จากการวิจัยพบว่า บ้านผู้มีรายได้น้อยส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพภายในบ้านเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดย สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 พื้นที่ส่วนกลางของบ้านผู้มีรายได้น้อยแบบเวิร์คช๊อป (Work Shop) เป็นรูปแบบของบ้านอยู่อาศัย ที่มีพฤติกรรมการใช้งานร่วมกันระหว่างการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพภายในบ้าน โดยใช้พื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านในการประกอบอาชีพของตัวเอง ร่วมกับฟังก์ชันอื่น ๆ ในเวลาที่ต่างกัน โดยจะมีพื้นที่สำหรับจัดวางอุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่ต้องใช้ในการประกอบอาชีพภายในบ้าน จะมีการใช้พื้นที่ส่วนพักอาศัยกับพื้นที่ที่ใช้ในการประกอบอาชีพร่วมกัน หรือซ้อนทับกันในบางเวลา ซึ่งบริเวณที่มีการใช้พื้นที่ร่วมกันหรือซ้อนทับกันนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณส่วนตรงกลางภายในบ้าน ลักษณะการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านส่วนใหญ่จะจัดแบบอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ และเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านจะชิดฝาผนังบ้านทั้งสองด้าน โดยเว้นพื้นที่ว่างตรงกลางบ้านเพื่อใช้เป็นพื้นที่ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ตามพฤติกรรมของผู้ใช้ รูปแบบที่ 2 พื้นที่ส่วนกลางของบ้านผู้มีรายได้น้อยแบบช๊อป (Shop) เป็นรูปแบบของบ้านอยู่อาศัย ที่มีพฤติกรรมการใช้งานร่วมกันระหว่างการอยู่อาศัย และการประกอบอาชีพค้าขายภายในบ้าน โดยใช้พื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านในการประกอบอาชีพค้าขาย ร่วมกับฟังก์ชันอื่น ๆ โดยจะมีพื้นที่สำหรับจัดวางชั้นขายของ  หรือโต๊ะขายอาหารภายในบ้าน ซึ่งพื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านจะมีการใช้พื้นที่ส่วนพักอาศัย กับพื้นที่ส่วนค้าขาย ค่อนข้างแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ส่วนใหญ่ร้านค้าจะอยู่บริเวณส่วนด้านหน้าของตัวบ้าน เพื่อเป็นการโชว์สินค้าและให้ผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาสามารถสังเกตุเห็นได้อย่าชัดเจน และลักษณะการจัดวางเฟอร์นิเจอร์พื้นที่พักอาศัยภายในบ้านจะเป็นการจัดวางแบบตายตัว แต่เฟอร์นิเจอร์ในพื้นที่ส่วนร้านค้าสามารถปรับเปรี่ยนขยับได้ตามความต้องการของผู้ใช้

References

คู่มือบ้านมั่นคงฉบับชาวบ้าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2562, จาก https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2019/05/คู่มือบ้านมั่นคงฉบับชาวบ้าน_ปรับปรุงใหม่.pdf

รายงานโครงการวิจัยการประเมินผลโครงการบ้านมั่นคง เรื่อง คนจนเมือง การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์และทัศนะที่มีต่อตนเองและสังคม. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.codi.or.th/ baanmankong

วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2526). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรุตน์ วีระศิลป์. (2555). แนวทางการจัดพื้นที่ภายในบ้านมั่นคงสำหรับผู้ประกอบอาชีพภายในบ้าน กรณีศึกษา ชุมชนศิรินทร์และเพื่อน. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมภายใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Becker, M.H. (1977). The Health Belief Model and Prediction of dietary Compliance: A field Experiment. Journal of Health and Social Behavior; Academic Article no.4 : 348-366.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-15

How to Cite

วีระศิลป์ ว., & อำนวยสิทธิ์ จ. (2022). แนวทางการออกแบบพื้นที่ส่วนกลางภายในบ้านสำหรับบ้านผู้มีรายได้น้อย . สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(1), 37–54. https://doi.org/10.14456/bei.2022.3