สถานการณ์ที่ตั้งและองค์ประกอบเมืองเก่าในพื้นที่แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน

ผู้แต่ง

  • ลักษณา สัมมนานิธิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
  • สิริวัฒก์ สัมมานิธิ คณะวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.13

คำสำคัญ:

สถานการณ์, ที่ตั้ง, องค์ประกอบเมือง, เมืองเก่า, แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่ตั้ง การเข้าถึง และองค์ประกอบเมืองเก่า 25 พื้นที่เมืองเก่า วิธีการวิจัยใช้การสำรวจวิเคราะห์เรื่องราวเอกสาร การสำรวจและสังเกตการณ์พื้นที่ การพัฒนาฐานข้อมูลที่ตั้งและองค์ประกอบเมืองเก่า ทำการประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกันบนระบบภูมิสารสนเทศด้วยแบบจำลองวิเคราะห์พื้นผิว และการซ้อนทับชั้นข้อมูลปัจจัยที่ตั้งเมือง การเข้าถึง และองค์ประกอบเมืองเก่า เช่น แนวกำแพงเมือง คันดิ คูน้ำ ศาสนสถาน สถานที่และองค์ประกอบเมืองสำคัญ ผลวิจัยพบว่า เมืองเก่ามีพัฒนาการของช่วงเวลาสำคัญ ได้แก่ สมัยหริภุญไชย (พุทธศตวรรษที่ 13-19) สมัยล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 19-23) และสมัยฟื้นฟูบ้านเมืองล้านนา (พุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา) สถานการณ์เมืองเก่าพบลักษณะกลุ่มเมืองสามลักษณะ ได้แก่ 1) กลุ่มเมืองเก่าสถานการณ์ดี องค์ประกอบเมืองได้รับการอนุรักษ์ไว้อย่างเหมาะสม เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตในบริทเมืองและชุมชน เช่น เมืองหริภุญไชย เมืองเชียงใหม่ เวียงกุมกาม และเวียงท่ากาน 2) กลุ่มเมืองเก่าสถานการณ์ปานกลาง องค์ประกอบเมืองมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของการเป็นเมือง การอยู่อาศัย และการใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม องค์ประกอบเมืองเก่าหลงเหลือแทรกตัวอยู่ในบริบทพื้นที่เมืองและชานเมือง เช่น เวียงสวนดอก เวียงเจ็ดลิน เวียงบัว เวียงเถาะ และเวียงมโน เป็นต้น 3) กลุ่มเมืองสถานการณ์ที่จำเป็นต้องพิจารณา องค์ประกอบเมืองมีจำนวนน้อย อยู่ในบริบทพื้นที่ชานเมือง หุบเขา และขอบที่ราบของแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน มีความเชื่อมโยงกับพื้นที่ธรรมชาติ และแหล่งมรดกวัฒนธรรมการตั้งถิ่นฐานของแหล่งเตาเผาอินทขีล แหล่งผลิตเครื่องถ้วยโบราณ และเรื่องราวประวัติศาสตร์ เช่น เมืองแกน เมืองกื้ด เมืองออน และเมืองกลาง เป็นต้นนอกจากนั้นพบว่าองค์ประกอบเมืองประเภทไม้ยืนต้นสำคัญทางพุทธศาสนา (ต้นโพธิ์) เชื่อมโยงกับวิถีวัฒนธรรมล้านนาพบได้ในทุกพื้นที่เมือง มีการรักษาไว้ผ่านประเพณีและความเชื่อท้องถิ่น กลุ่มเมืองเก่าทั้งสามลักษณะมีปัจจัยสำคัญต่อการพิจารณาในด้านบริบทที่ตั้ง การเปลี่ยนแปลงจากการเป็นเมือง การรับรู้และการสื่อความหมายความเป็นเมืองเก่า เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกทำลายลงขององค์ประกอบเมืองเก่าในอนาคต ตลอดจนการบูรณาการฐานข้อมูลองค์ประกอบเมืองเก่า เพื่อเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการวางแผน การอนุรักษ์ การพัฒนา ร่วมกับการบริหารจัดการมรดกวัฒนธรรมเมืองประวัติศาสตร์ร่วมกันได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

Dumrikul, S. (2004). The History and Art of Haripunchai. Bangkok: Dran Sutha Press Company Limited.

(In Thai)

สุรพล ดำริห์กุล. (2547). ประวัติศาสตร์และศิลปหริภุญไชย. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

Monwithun, S. (1958). Chinnakanmalupakqn. Bangkok: Siwaporn Limited Partnership. (In Thai)

แสง มนวิทูร. (2501). ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2011). Knowledge Set of Ancient City

in Conservation, Development and Management Volume 1 Knowledge of Thailand Ancient City.

Retrived January 26, 2020, from http://lib.mnre.go.th/lib/TNE/book1final.pdf (In Thai)

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2554). ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และ

บริหารจัดการเมืองเก่า เล่มที่ 1 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองเก่าในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563, จาก

http://lib.mnre.go.th/lib/TNE/book1final.pdf

Ongsakun, S. (2000). The Ancient Community in Chiang mai – Lamphun Basin. Bangkok: Amarin Printing

and Publishing Public Company Limited. (In Thai)

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2543). ชุมชนโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด

(มหาชน).

Ongsakun, S. (2018). The Complete History of Lanna. Bangkok: Amarin Publishing. (In Thai)

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2561). ประวัติศาสตร์ล้านนา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อัมรินทร์.

Penth, H. (1983). A Brief History of Lanna. Chiang mai: Dhipayanet Printing. (In Thai)

ฮันส์ เพนธ์. (2526). ความเป็นมาของล้านนาไทย. เชียงใหม่: ทิพยเนตรการพิมพ์.

Punyathong, S. (2012). Elements of Historic Landscape for Conservation of Old Town, Chiang mai.

Retrived January 26, 2020, from (In Thai)

สุปิยา ปัญญาทอง. (2555). องค์ประกอบภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ เพื่อการอนุรักษ์เมืองเก่า จังหวัดเชียงใหม่.

สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45026 (In Thai)

Sanyakiatikun, S. (2009). The Ancient Cities in Chiang mai – Lamphun Basin. Tarnpanya Company Limited.

(In Thai)

สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ. (2552). เมืองโบราณในแอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. เชียงใหม่: บริษัท ธารปัญญา จำกัด.

Sethakul, R. (2009). The Historic of Economic and Culture; Chiang mai- Lamphun Basin. Chiang mai,

silkworm Press. (In Thai)

รัตนาพร เศรษกุล. (2552). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรม แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม.

The United Nation. (2016). HABITAT III 17-20 October 2016, The United Nation Conference on

Housing and Sustainable Urban Development. Retrieved from https://habitat3.org/the-conference.

The Office of the Prime Minister. (2003). The Regulation of The Office of Prime Minister on Conservation

and Development of Krung Rattanakosin and Old Town B.E. 2003. Retrived January 26, 2020, from

https://nced.onep.go.th/wp-content/uploads/2016/09/00121665.pdf (In Thai)

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2546) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า

พ.ศ.2546. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563, จาก

https://nced.onep.go.th/wp-content/uploads/2016/09/00121665.pdf (In Thai)

Thongaroun, N. (2017). Media and Data Management for Ancient Temples Route of Ayutthaya Island

area for Historical Tourism Development. Retrived January 26, 2020, from

https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/291592. (In Thai)

นิรันดร ทองอรุณ. (2557). การจัดการสื่อและข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวโบราณสถานประเภทวัดในเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา

และบริเวณใกล้เคียงเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563, จาก

https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/2/291592

Tunkitikorn, W. (1989). Archaeological Site of Bann Wang Hi; Lamphun. Bangkok: Office of Archaeological,

The Fine Arts Department. (In Thai)

วิชัย ตันกิตติกร. (2532). แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ลำพูน. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี กรมศิลปากร.

Virunha, C. (2017). Knowledge Management on historical data to increase the applicable potential

for the development of tourist industry for Amphoe Muang of Petchaburi Province. Retrived January

, 2020, from https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/292986. (In Thai)

ชุลีพร วิรุณหะ. (2560). การจัดการข้อมูลประวัติศาสตร์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาอุตสาหกรรม

การท่องเที่ยวของอำเภอเมืองเพชรบุรี. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2563, จาก

https://dric.nrct.go.th/index.php?/Search/SearchDetail/292986. (In Thai)

Wanlipodom, S. (2002). The Archaeological History of Lanna. Bangkok: Matichon Press.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2545). ประวัติศาสตร์โบราณคดีของล้านนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

Boonma, T. Bann Mae Village Committee, Vieng Mae, San Pa Tong District, Chiang mai Province.

(2020, April 23). Interview.

โท บุญมา. คณะกรรมการชุมชนบ้านแม เวียงแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. (2563, 26 เมษายน). สัมภาษณ์.

Boonyoung, R. Teacher of Pa Sang School, Pa Sang District, Lamphune Province. (2020, April 30). Interview.

เรียมเล็ก บุญยัง. ครูโรงเรียนป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน. (2563, 30 เมษายน). สัมภาษณ์.

Intarangsri, B. People of Vieng Mano, Hang Dong District, Chiang mai Province. (2020, April 23). Interview.

บรรจง อินต๊ะรังสี. ประชาชนในพื้นที่เวียงมโน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. (2563, 23 เมษายน). สัมภาษณ์.

Khunkaew, T. People of Vieng Mano, Hang Dong District, Chiang mai Province. (2020, April 23). Interview.

ฐา เขื่อนแก้ว. (2563, 23 เมษายน). ประชาชนในพื้นที่เวียงมโน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. สัมภาษณ์.

Phra Kittiphum Sumantalo. Abbot of Saleamwan, Bann Hong District, Lamphun Province. (2020, April 28).

Interview.

พระกิติภูมิ สุมันทะโล. เจ้าอาวาสวัดสะเลียมหวาน อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (2563, 28 เมษายน). สัมภาษณ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-26

How to Cite

สัมมนานิธิ ล., & สัมมานิธิ ส. (2022). สถานการณ์ที่ตั้งและองค์ประกอบเมืองเก่าในพื้นที่แอ่งเชียงใหม่-ลำพูน . สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(2), 39–56. https://doi.org/10.14456/bei.2022.13