ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนตลาดน้อย กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุพรรณสา ฉิมพาลี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กฤตพร ห้าวเจริญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.17

คำสำคัญ:

ปัจจัย, การเปลี่ยนแปลง, ชุมชนตลาดน้อย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาองค์ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ พัฒนาการและความเป็นมาของชุมชนตลาดน้อย รวมถึงศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำมาสรุปถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนตลาดน้อย ที่ได้วิเคราะห์ผ่านลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจากการศึกษาพบว่า ชุมชนตลาดน้อยเป็นชุมชนการค้าเก่าแก่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร โดยเริ่มมีการตั้งถิ่นฐานในช่วงสมัยอยุธยาจากการอพยพเข้ามาของกลุ่มชาวจีน และเริ่มมีการขยายตัวของชุมชนมากขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมการค้าบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และได้กลายเป็นย่านการค้าที่รุ่งเรืองหลังจากมีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นช่วงที่กิจกรรมการค้าเป็นไปอย่างคึกคักและดึงดูดให้ผู้คนเข้ามายังชุมชนเป็นจำนวนมาก ต่อมามีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบก ส่งผลให้บทบาทของแม่น้ำลำคลองลงน้อยลง รวมถึงการขยายตัวของเมืองความเจริญเริ่มไปสู่พื้นที่อื่น และมีการเกิดขึ้นของย่านการค้าแห่งใหม่ ทำให้การค้าขายในชุมชนตลาดน้อยเริ่มถดถอยลงจนถึงปัจจุบัน หากแต่ยังคงหลงเหลือความเป็นชุมชนการค้าดั้งเดิมที่สะท้อนผ่านมรดกทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่ยังคงสืบทอดมายังปัจจุบันและสามารถเป็นจุดสำคัญที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนผ่านฐานรากทางวัฒนธรรมต่อไปในอนาคตได้ ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถสรุปปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนตลาดน้อย ซึ่งปัจจัยหลักคือ ปัจจัยทางด้านกายภาพ โดยมีการเปลี่ยนแปลงการตั้งถิ่นฐาน การเปลี่ยนแปลงด้านคมนาคมที่เห็นได้ชัดมากที่สุด และปัจจัยรองคือ ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของชุมชนตลาดน้อยจนถึงปัจจุบัน

References

กิติยวดี ชาญประโคน. (2552). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ฉัตรชัย พงศ์ประยูร. (2536). การตั้งถิ่นฐานมนุษย์ ทฤษฎี และแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นําพวัลย์ กิจรักษ์กุล. (2528). ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ภูมิ ภูติมหาตมะ. (2558). จีนย่านตลาดน้อย: ศรัทธาและเศรษฐกิจการค้าแห่งจีนสยาม. วารสารวิชาการสาขา

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(2), 2590-2606.

มนู วัลยะเพ็ชร์. (2520). การตั้งถิ่นฐานในชนบทของประเทศไทย. นครปฐม: ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์

มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. (2550). การศึกษาองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาการ

ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ย่านเยาวราชและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อ

พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

Chorley Richaed J. and Haggett peter (Eds). (1967). Models in Geography. New Yok: Methuen.

Rapoport Amos and Haryadi. (1977). Human aspects of urban form. Oxford: Pergamon Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-12

How to Cite

ฉิมพาลี ส., & ห้าวเจริญ ก. (2022). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนตลาดน้อย กรุงเทพมหานคร. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(2), 109–127. https://doi.org/10.14456/bei.2022.17