แนวทางการออกแบบตลาดชุมชนเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สวนสุขภาพ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย ใจขาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุภาณี จันทร์ศิริ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปรีชา เรืองฤทธิ์ คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นัฐนันท์ ภัทรตานนท์ คณะศิลปประยุกต์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.26

คำสำคัญ:

ตลาดชุมชน, การพัฒนาพื้นที่, การใช้ประโยชน์ที่ดิน, การออกแบบอย่างมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนารูปแบบพื้นที่ตลาดชุมชนในสวนสุขภาพตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีภายใต้แนวคิดการสร้างสถานที่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและสอดคล้องต่อวิถีชีวิตของผู้คนในชุมชน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการสำรวจทางกายภาพ และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม และทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยด้วยวิธีแบบเจาะจง (Purposive sampling) กับผู้มีส่วนได้เสีย (ผู้นำชุมชน ตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่หน่วยงานท้องถิ่น) จาก 20 หมู่บ้าน   ของตำบลบุ่งหวย และจัดให้มีการระดมสมองผ่านการจัดทำประชาคมด้วยยกระบวนการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ โจทย์ที่ได้มาจากชุมชนและผ่านการออกแบบเพื่อแก้ไขหรือพัฒนาด้วยความเป็นวิชาการ โดยผลของการวิจัยแสดงให้เห็นถึงแนวทางที่สำคัญที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในการพัฒนารูปแบบพื้นที่ตลาดชุมชนให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของผู้คนและแสดงให้เห็นถึงการจำลองรูปแบบการออกแบบที่เหมาะสมที่ได้มาจากการวิเคราะห์ข้อมูล

References

Chapin, Stuart F. (1972). Urban Land Use Planning. 3d. ed. Urban: University of Ilinois Press.

Community Organizations Development Institute. (2020). Community business model canvas: CBMC. Bangkok: Community Organizations Development Institute (CODI). [in Thai].

Rattanaprichavej, N., Rungruangphon, W. and Kumhom, R. (2018), The Spatial Development of Hua Lam Phong District, Bangkok Built Environment Inquiry Journal (BEI): Faculty of Architecture, Khon Kaen University, 21(1) 1-19. [in Thai].

Khamkerd, T., Chaiyo, P., Sangiemsilp, P., Therawat, J., Reangkrit, U., and Chuayphen, P. (2020). Development of community agricultural tourism by multilateral in Wang - Yang community, Suphan Buri province. Area Based Development Research Journal, 12(6), 432-450. [in Thai].

Kim, M.J., Cho, M.E. and Chae, H.H. 2014. “A Smart Community for Placemaking in Housing Complexes”. Journal of Asian Architecture and Building Engineering, 13(3), 539-546.

Meekhamthong, P. and Saenpong, K. (2019). Techniques for Analyzing Development Conditions for Strategic Planning of School. NEU Academic and Research Journal, 9(3), 111-120. [in Thai].

Pimwiangkham, P. (n.d.). Chapter 4 Choosing a Location. Retrieved from https://sites.google.com/site/etestingsellingajprasit/bth-thi-4-kar-leuxk-thale-thi-tang. [in Thai].

Yiu, C. and Yau, Y. 2006. “An Ecological Framework for the Strategic Positioning of a Shopping Mall”. Journal of Retail and Leisure Property, 5(4), 270-280.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-18

How to Cite

ใจขาน ส., จันทร์ศิริ ส., เรืองฤทธิ์ ป., & ภัทรตานนท์ น. (2022). แนวทางการออกแบบตลาดชุมชนเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สวนสุขภาพ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(3), 129–143. https://doi.org/10.14456/bei.2022.26