แนวทางการปรับปรุงโรงอาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย กรณีศึกษา โรงอาหารเทิดกสิกร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้แต่ง

  • พิชญาภา ธัมมิกะกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.25

คำสำคัญ:

โรงอาหารมหาวิทยาลัย, โรงอาหารสีเขียว, รูปแบบทางกายภาพ

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมโรงอาหารคุณภาพ สะอาดปลอดภัย (GREEN Canteen) กรณีศึกษา โรงอาหารเทิดกสิกร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  เป็นการวิเคราะห์ภาพของโรงอาหารเทิดกสิกร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและรูปแบบการจัดการโรงอาหาร เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการโรงอาหารตามมาตรฐานโรงอาหารสีเขียว (GREEN Canteen) โดยใช้วิธีการ สังเกตการณ์ สำรวจและสืบค้นจากข้อมูลเอกสารมาพิจารณาในการเสนอแนะแนวทางการออกแบบ

ปัจจุบันโรงอาหารเทิดกสิกรได้มีการรับมือการสถาณการณ์โควิด-19 โดยได้มีการจำกัดบริเวณเข้า-ออก จำกัดพื้นที่บางส่วน มีการกำหนดจุดลงทะเบียน จุดวัดอุณหภูมิ และบริการเจลแอลกอฮอร์ การเว้นระยะห่าง ซึ่งถือเป็นการรับมือเฉพาะหน้า และชั่วคราว หากจะปรับปรุงโรงอาหารในอนคตจำเป็นที่จะต้องนำหลักเกณฑ์โรงอาหารสีเขียว (GREEN Canteen) พิจารณา พบว่าในด้านการจัดการขยะมีการจัดการที่ดีตามมาตรฐาน แต่ควรเพิ่มจุดทิ้งขยะแยกประเภทให้มากขึ้น ในด้านห้องส้วมมีอยูในส่วนลับตาควรเพิ่มป้ายบอกทาง และปรับปรุงเรื่องแสงสว่างภายในห้องส้วม ด้านการใช้พลังงาน พบว่าโรงอาหารมีแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้จำเป็นต้องเปิดไฟในช่วงเวลากลางวัน หากทำการเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาเป็นวัสดุโปร่งแสงจะช่วยให้ได้รับแสงธรรมชาติในตอนกลางวัน ในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม พบว่าโรงอาหารมีรูปแบบการใช้งานที่ไม่หลากหลาย ในชั้น 2 ไม่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ควรมีการเพิ่มทางเลือกของที่นั่ง และเพิ่มกิจกรรมในพื้นที่ปล่อยโล่งที่ชั้น 2 เช่น Co-working space เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้นักศึกษาใช้ทำงาน และพักผ่อน งานวิจัยได้ทำการเสนอแนะแนวทางในการปรังปรุงโรงอาหารจากการวิเคราะห์กายภาพในปัจจุบันจะสามารถทำให้เกิดแนวทางการปรับปรุงโรงอาหารที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

References

กัญญา ลัยภาค และมาฤดี ผ่องพิพัฒน์พงศ์. (2560). การออกแบบโรงอาหารอย่างถูกสุขลักษณะของโรงเรียนในสังกัด

กรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ระดับชาติ ครั้งที่ 18 และระดับ

นานาชาติ ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร, 7-9 กันยายน 2560.

กรมอนามัย. (2564). เกณฑมาตรฐานโรงอาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย (GREEN Canteen). สำนักงานสุขาภิบาล

อาหารและน้ำ. [ออนไลน์][อ้างเมื่อ 2 กันยายน 2564] จาก https://foodsan.anamai.moph.go.th/th/green-

canteen/204474

งานยุทธศาสตร์และติดตามประเมินผล กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้

ระยะ 15 ปี (พ.ศ.2555-2569). กองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้. [ออนไลน์][อ้างเมื่อ 14 กันยายน 2564] จาก

https://planning2.mju.ac.th/wtms_document.aspx?bID=396&lang=th-TH

วิจิตรา ยวดยิ่ง. (2553). การบริหารจัดการพื้นที่อาคารโรงอาหาร(ส่วนรับประทานอาหาร)ให้มีประสิทธิภาพสงสุด

กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

รุ่งเรือง กิจผาติ. (2557). สํานักโรคติดต่อทั่วไป เตือนอาหารเป็นพิษในโรงเรียน. สํานักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวง

สาธารณสุข.

Griffin, R. W. (1997). Management. 5th ed. Houghton: Miffin.

Lelieveld, H.L.M., J. Holah and D. Napper. (2014). Hygiene in Food Processing (Second Edition)

Principles and Practice. Cambridge. Woodhead Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-11

How to Cite

ธัมมิกะกุล พ. (2022). แนวทางการปรับปรุงโรงอาหารคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย กรณีศึกษา โรงอาหารเทิดกสิกร มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(3), 113–127. https://doi.org/10.14456/bei.2022.25