การสำรวจปริมาณขยะและจำแนกชนิดขยะบนชายหาดบางแสน

ผู้แต่ง

  • ธิฆัมพร บุญชัย คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ไชยพิพัฒน์ ปกป้อง คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะ และการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.1

คำสำคัญ:

การสำรวจขยะ, ประเภทขยะ, ชายหาดบางแสน

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจปริมาณขยะและจำแนกชนิดของขยะบนชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบพัฒนาอุปกรณ์เก็บขยะบนชายหาด โดยทำการลงพื้นที่สุ่มสำรวจพื้นที่ชายหาดจำนวน 3 จุด มีพื้นที่รวมทั้งหมด 27 ตารางเมตร ซึ่งในแต่ละจุดพื้นที่เป้าหมายได้ทำการกั้นพื้นที่ขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ลึกจากผิวหน้าหาดทรายลงไปไม่เกิน 5 เซนติเมตร มีการเก็บข้อมูล 3 ครั้งคือ วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ โดยการใช้อุปกรณ์ตะแกรงที่มีรูขนาด 3 มิลลิเมตร มาใช้ในการกรองขยะออกจากทราย ทำการแยกขยะที่ได้มาจากแต่ละหาดจำแนกประเภทของขยะ จากการสำรวจพบจำนวนขยะเฉลี่ยทั้งหมด 57,010 ชิ้นต่อวัน บนชายหาดพื้นที่ 1,890 ตารางเมตร โดยการเก็บขยะในวันจันทร์ จะมีปริมาณขยะมากที่สุด และ วัน พุธ มีปริมาณขยะน้อยที่สุด เมื่อจำแนกชนิดของขยะพบว่า มีขยะทั้งหมด 20 ชนิด โดยขยะที่พบมากที่สุดคือ เส้นพลาสติกที่เกิดจากการแตกตัวของเชือกที่ใช้ในอุตสาหกรรมประมงหรือเชือกพลาสติก โดยมีปริมาณเฉลี่ย 75.233 ชิ้น หรือร้อยละ 28 ของพื้นที่ขนาด 27 ตารางเมตร รองลงมาคือเศษพลาสติกที่มีขนาดเล็กตั้งแต่ 0.5 เซนติเมตรลงไป โดยมีปริมาณเฉลี่ย 31.967 ชิ้น หรือจำนวนร้อยละ 12 ของพื้นที่ขนาด 27 ตารางเมตร ผลจากการสำรวจปริมาณขยะและจำแนกชนิดของขยะบนชายหาดบางแสนจะถูกนำไปข้อมูลอ้างอิงในการออกแบบพัฒนาอุปกรณ์เก็บขยะบริเวณชายหาดบางแสนเพื่อให้การจัดเก็บขยะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้ชายหาดบางแสนสะอาดสวยงาม

References

ฐานข้อมูลความรู้ทางทะเล. (2560). ขยะทะเล, กรมควบคุมมลพิษ. เข้าถึงได้จาก : http://www.mkh.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=309&Itemid=254&lang=th

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2553). คู่มือขยะทะเลและกิจกรรมทำความสะอาดชายหาดสากล.

เข้าถึงได้จาก : https://www.dmcr.go.th/downloadLib/?file

นวลพรรณ คณานุรักษ์. (2555). ประเภท และแหล่งที่มาของขยะทะเลตามฤดูกาลบริเวณหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เข้าถึงได้จาก : http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=9938918

วริษฐา แสงยางใหญ่, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ และบุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดขยะครัวเรือนของประชาชนในเขตเทศบาลจังหวัดสมุทรปาการ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาลัยบูรพา

เข้าถึงได้จาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/88980/7007

กิตติพงษ์ หลังสัน. (2558). โครงการออกแบบอุปกรณ์เก็บขยะบนชายหาดเพื่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง.

วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

เข้าถึงได้จาก : https://opacimages.lib.kmitl.ac.th/medias/pdf/09001187.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). พระราชบัญญัติการสาธารณสุข 2535.เข้าถึงได้จาก : http://www.legal.moph.go.th/index.php?option=com_remository&Itemid=

&func=fileinfo&id=1309

สมาคมพัฒนาสิ่งแวดล้อม. (2563). ความหมาย/ประเภท/องค์ประกอบและสาเหตุของขยะมูลฝอย.เข้าถึงได้จาก :

https://adeq.or.th/ขยะมูลฝอยคืออะไร/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-26

How to Cite

บุญชัย ธ., & ปกป้อง ไ. (2023). การสำรวจปริมาณขยะและจำแนกชนิดขยะบนชายหาดบางแสน. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(1), 1–16. https://doi.org/10.14456/bei.2023.1