การศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษา ภาคมหานคร

ผู้แต่ง

  • พนิต ภู่จินดา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2022.30

คำสำคัญ:

สังคมผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมการอยู่อาศัย, การออกแบบที่อยู่อาศัย, อารยสถาปัตย์

บทคัดย่อ

พฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ (elder living behavior) เป็นปรากฏการณ์สำคัญที่มีความน่าสนใจ
สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยบทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ
(quantitative research) เพื่อการจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุและการศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของกลุ่มผู้สูงอายุใน
ประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างของการศึกษาเป็นการเลือกกลุ่มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในภาคมหานคร หรือ กรุงเทพมหานคร
และปริมณฑลเป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้จำแนกแนวทางการดำเนินการศึกษาออกเป็น 2 ขั้นตอนได้แก่
1) การศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) และ 2) การรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) การเก็บข้อมูล
(data collection) ด้วยวิธีการสำรวจโดยใช้แบบสอบถาม (questionnaire) โดยผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล
ด้วยการสร้างแบบสอบถามออนไลน์ใน Google form และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (sampling) ด้วย
วิธีการแบบเจาะจง (purposive sampling) และซึ่งผลการศึกษา พบว่า เมื่อวิเคราะห์ตามลักษณะฃองการเคลื่อนไหว
พบว่า สามารถจำแนกกลุ่มผู้สูงอายุออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ต้องใช้รถเข็น คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ต้อง
พึ่งอุปกรณ์และพึ่งอุปกรณ์ประเภทไม้เท้า (walker) และกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งอุปกรณ์ประเภทรถเข็น (wheelchair)
โดยกลุ่มผู้สูงอายุจะมีรูปแบบของที่อยู่อาศัย คือ บ้านเดี่ยว ตึกแถว และคอนโดมิเนียม ตามลำดับ และมีพฤติกรรม
การอยู่อาศัยสามารถ คือ อยู่ตามลำพัง อยู่ตามลำพังเฉพาะช่วงกลางวัน และอยู่ตามลำพังในที่พักอาศัยแต่มีญาติ/
ผู้ดูแลอยู่ในละแวกใกล้เคียง และอยู่อาศัยกับครอบครัวตลอดเวลา นอกจากนี้ยังได้นำมาทดสอบไคสแควร์ (Chi-Square
test) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูล โดยพบว่า พฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยทั้งกลุ่มก่อนผู้สูงอายุและกลุ่มผู้สูงอายุ
มีความต้องการรูปแบบที่อยู่อาศัยและมีลักษณะของรูปแบบที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้
ค่าไคสแควร์ 5.069 และมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.408 นอกจากนี้ พฤติกรรมของกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่มีข้อจำกัด
ด้านการเคลื่อนไหวมีความต้องการรูปแบบของที่อยู่อาศัยแตกต่างกันเช่นเดียวกัน โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้
ค่าไคสแควร์ 5.027 และมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.413

References

นิศา ชูโต. (2525). คนชราไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมาสน์ เพชรสม. (2558). พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546, ธันวาคม 31). ราชกิจจานุเบกษา, 120(130).

พุทธชาติ แผนสมบุญ, โกศล จึงเสถียรทรัพย์ และธนวรรณ สาระรัมย์. (2561). กระบวนการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลังในผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 267–283.

ศุภวรินทร์ หันกิตติกุล. (2539). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง (รายงานผลงานวิจัย). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

Fletcher, P.C. and Hirdes, J.P. (2004). Restriction in Activity Associated with Fear of Falling among Community-Based Seniors Using Home Care Services. Age and Ageing, 33, 273-279.

Permsirivanich et al. (2009). Comparing the effects of rehabilitation swallowing therapy vs. Neuromuscular electrical stimulation therapy among stroke patients with persistent pharyngeal dysphagia: A randomized controlled study. J Med Assoc Thai, 92(2). 259-265.

Seplaki, Agree et al. (2013). Assistive Devices in Context: Cross-Sectional Association Between Challenges in the Home Environment and Use of Assistive Devices for Mobility, The Gerontologist, 54(4), 651–660. doi:10.1093/geront/gnt030

Skelton, Howe et al. (2013). Environmental and behavioural interventions for reducing physical activity limitation in community-dwelling visually impaired older people. John Wiley & Sons, Ltd.: United States of America.

Wilson, Mitchell et al. (2009). Psychological Health and Life Experiences of Pregnant Adolescent Mothers in Jamaica. Age and Ageing, Int. J. Environ. Res. Public Health 2014, 11, 4729-4744. doi:10.3390/ijerph110504729

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-20

How to Cite

ภู่จินดา พ. (2023). การศึกษาพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษา ภาคมหานคร. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 21(3), 177–196. https://doi.org/10.14456/bei.2022.30