การให้ค่าน้ำหนักตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองเดินได้โดยประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process : AHP)
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2023.6คำสำคัญ:
กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น, ตัวชี้วัดความเป็นเมืองเดินได้ของเมืองขอนแก่นบทคัดย่อ
บทความในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพิจารณาให้ค่าน้ำหนักความสำคัญตัวชี้วัดความเป็นเมืองเดินได้ของเมืองขอนแก่น (Walkable City) จาก 6 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) ระบบกิจกรรมในพื้นที่ของเมือง 2) สภาพแวดล้อมทางกายภาพของถนนและทางเดินเท้า 3) คุณภาพและประสิทธิภาพของระบบขนส่งสาธารณะ 4) ปฏิกิริยาของผู้คนต่อสภาพแวดล้อมของเมือง 5) คุณภาพของงานออกแบบชุมชนเมือง 6) สังคมและเศรษฐกิจระดับตัวบุคคลหรือครัวเรือน และมีองค์ประกอบรองรวมทั้งหมด 28 องค์ประกอบรองโดยใช้วิธีการตัดสินแบบหลายหลักเกณฑ์ (Multiple Criteria Decision Marking) ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process : AHP) ซึ่งจะทำการสอบถามความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนกับการพัฒนาเมืองจำนวน 10 คน
ผลจากการศึกษา พบว่าองค์ประกอบหลักที่ส่งผลและมีอิทธิพลต่อความเดินได้ของเมือง 3 อันดับแรกคือ 1) ระบบกิจกรรมในพื้นที่ของเมือง 2) คุณลักษณะของสภาพแวดล้อมทางกายภาพของถนนและทางเดินเท้า และ 3) ด้านคุณภาพ / ประสิทธิภาพของระบบขนส่งสาธารณะ
References
กฤดแก้ว ชิโนรักษ์. (2557). ระบบการเดินเท้าโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา :
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสอ่อนนุช. การค้นคว้าอิสระปริญญาภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
ภูมิสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จีรนันท์ อินทร์ประเสริฐ, แทนวุธธา ไทยสันทัด, โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร และพันธุ์ระวี กองบุญเทียม.
(2560). ความต้องการของผู้เดินทางต่อสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเส้นทางเดินเท้าในพื้นที่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารวิชาการ การวางแผนภาคและเมือง, 2(1), 459-469.
ฉัตรดนัย เลือดสกุล. (2555). การศึกษาค่าดัชนีการเดินเท้า: กรณีศึกษาภายในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา.
วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีสุรนารี.
ณิชนันท์ บุญอ่อน และวงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์. (2563). การพัฒนาทางเท้าเพื่อกรุงเทพมหานครเมืองสะดวก :
กรณีศึกษาทางเท้าตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สายสีลม). วชิรเวชสารและวารสาร
เวชศาสตร์เขตเมือง คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช, 64(3), 213-222.
ทรงยศ อยู่สุข. (2557). การศึกษาศักยภาพในการรองรับการขยายตัวทางประชากรเพื่อการพัฒนาพื้นที่ตาม
แนวทาง TOD กรณีศึกษา : สถานีไฟฟ้าอ่อนนุชและสถานีรถไฟฟ้าสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญา
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์.
ปริญญา กลิ่นเมฆ. (2561). การศึกษารูปทรงของเมืองเพื่อการออกแบบชุมชนเมืองน่าเดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ