การประเมินหลังการใช้งานภายในอาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม กรุงเทพมหานคร
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2023.2คำสำคัญ:
การประเมินหลังการใช้งาน, อาคารปฏิบัติธรรม, วัดมัชฌันติการามบทคัดย่อ
อาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม กรุงเทพมหานคร หลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยอาคารปฏิบัติธรรมนี้ได้ก่อสร้างขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมมีพื้นที่ใช้งานที่ชัดเจน จากเดิมที่ใช้พื้นที่สวนและอาคารอื่น ๆ ของวัด หลังจากมีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่เกิดขึ้นมาหลากหลายประเภททั้งกิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมทางสังคมอื่นๆ ที่วัดมีส่วนเกี่ยวข้อง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานภายในอาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม (2) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งานภายในอาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการาม (3) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่ภายในอาคารปฏิบัติธรรม วัดมัชฌันติการามให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ใช้งานในปัจจุบัน มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ใช้งานอาคารปฎิบัติธรรมช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2565 จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้เครื่องมือคือแบบสังเกต เริ่มเก็บข้อมูลเดือน ธันวาคม พ.ศ.2564 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2565 ใน 4 กิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า (1)ผู้ใช้งานอาคารปฏิบัติธรรม มีความพึงพอใจมากที่สุด ในด้านพื้นที่ทางสัญจรภายในอาคาร อุปกรณ์ประกอบอาคาร พื้นที่ปฏิบัติธรรม พื้นที่สนับสนุน ตามลำดับ (2)ผู้ใช้งานอาคารปฏิบัติธรรมให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน ด้านองค์ประกอบอาคารอื่นๆ ในประเด็นรูปแบบป้ายสัญลักษณ์ และความปลอดภัยของผู้ใช้อาคาร (3)การใช้งานในปัจจุบันต้องเพิ่มความต่อเนื่องของการใช้พื้นที่บริเวณโถงทางเข้า และพื้นที่เก็บอุปกรณ์
References
จุฬาลักษม์ วงศ์สงวน. (2557). การศึกษาสภาพแวดล้อมเชิงพื้นที่ของสำนักปฏิบัติธรรมที่สนับสนุนต่อกิจกรรมการปฏิบัติธรรม กรณีศึกษาสำนักปฏิบัติธรรมภายในวัดปทุมวนารามและวัดมหาธาตยุวราชรังสฤษฎิ์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า และพีรดร แก้วลาย. (2564). การออกแบบการวิจัยสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระพิพัฒน์ โสภณจิตฺโต ทับงาม, พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร, พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ. (2563). รูปแบบการบริหารจัดการของสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8(1), 222-232. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/237049
พระสมุห์สุรินทร์ รตนโชโต, พระครูวิสุทธานันทคุณ, พระสมุทรวชิรโสภณ. (2562). ความพึงพอใจของพุทธศาสนิกชนที่มีต่อการจัดปฏิบัติธรรมของวัดป่าพุทธาราม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 2(2), 1-10. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jidir/article/view/255847
พีรยา บุญประสงค์. (2565). การออกแบบโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนการใช้สอยในอาคารเก่า. นครปฐม: สาละพิมพการ.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2550). ระเบียบวิธีวิจัย. พิมพ์ครั้งที่8. มหาวิทยาลัยนเรศวร.คณะศึกษาศาสตร์.
วิมลสิทธ์ หรยางกูร บุษกร เสรฐวรกิจ และศิวาพร กลิ่นมาลัย. (2554). จิตวิทยาสภาพแวดล้อม : มูลฐานการสร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัดมัชฌันติการาม. (2564). ประวัติวัดมัชฌันติการาม. Retrieved January 14, 2021, from https://watmatchan.net/history/
สุภัค พฤกษิกานนท์ และธานัท วรุณกูล. (2553). การประเมินหลังการใช้งานเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงกลุ่มหอพักเชิงดอย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์พักอาศัยและเรียนรู้. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 1(2), 45-46. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/26388
Bruce Boul. (2020). The Role of the Post Occupancy Evaluation in Architecture. Retrieved May 14, 2022, from https://hmcarchitects.com/news/the-role-of-the-post-occupancy-evaluation-in-architecture-2020-01-22/
Horgen, Turid., and Sheridan Sheila., (1996). Post-occupancy evaluation of facilities: a participatory approach to programming and design, Facilities Volume 14 Number 7/8 July/August. (1996). pp16-25, MCB University Press, ISBN 0263-2772
Preiser, W.F.E., (1994). Building evaluation: conceptual basic, benefits and user, Journal of Architectural and Planning Research 11 (2)
Theo J.M. Van der Voordt. (2004). An Integral tool for Diagnostic Evaluation of Non-territorial offices. In: B,Martens and A.G. Keul (eds), Designing Social Innovation. Planning, Buliding, Evaluating. Bottingen: Hogrefe&Huber Publishers, 241-250
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ