การกำหนดแนวทางในการออกแบบ และพัฒนาลักษณะทางกายภาพฟาร์มตัวอย่าง สู่การเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสรรค์

ผู้แต่ง

  • ทัชชญา สังขะกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา
  • เรืองรัมภา อินทรักษ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา
  • นันทชัย ชูศิลป์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา
  • อัจฉรา รัตนมา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.15

คำสำคัญ:

สถาปัตยกรรมยั่งยืน, สถาปัตยกรรมสีเขียว, การสรรค์สร้างสภาพแวดล้อม, การท่องเที่ยวเชิงเกษตรแนวใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นทีฟารม์ ตัวอย่างนำสู่การพัฒนา
ปรับปรุงลักษณะทางกายภาพฟาร์มตัวอย่าง (build environment) และการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโครงการฟาร์ม
ตัวอย่าง โดยนำกรอบแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเที่ยวและกรอบแนวคิดสถาปัตยกรรมอย่างยั่งยืนเพื่อสามารถ
ดำรงไว้ซึ่งทรัพยากร ในพื้นที่อันสอดรับกับการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ โดยชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมและได้รับ
ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างเหมาะสม จากการวิเคราะห์ศักยภาพของของฟาร์มตัวอย่างโดยการนำเทคนิคการวิเคราะห์
พื้นที่ให้บริการ พบว่าการวิเคราะห์โครงข่ายการสัญจร (network analysis) บริเวณที่มีศักยภาพสูงต่อการสร้างตำแหน่ง
จุดจอดรับผู้โดยสารจะกระจายตัวอยู่บริเวณศูนย์กลางของโครงการ และทั้งนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมของ
นักท่องเที่ยวพบว่าส่วนใหญ่จะมาเที่ยวชม และศึกษาดูงานภายในโครงการฟาร์มตัวอย่าง 1 ครั้งต่อปี โดยมีจำนวน
ผู้เข้าชมเยี่ยมชม 150 คน (ซึ่งคิดเป็น 50% ของผู้เข้าเยี่ยมชมทั้งหมด) สำหรับการใช้เวลาอยู่ภายในโครงการฟาร์ม
ตัวอย่างพบว่าคนส่วนใหญ่จะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงในการเดิน ชมฟาร์มตัวอย่าง โดยมีผู้เข้าชมเยี่ยมชมฟาร์มตัวอย่าง
106 คน (คิดเป็น 43.98% ของผู้เข้าเยี่ยมชมทั้งหมด) และทั้งนี้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวในการ
มาเที่ยวโครงการฟาร์มตัวอย่าง คือ ปัจจัยทางด้านองค์ความรู้ที่ได้รับ คิดเป็น 24.33% ของปัจจัยทั้งหมด นอกจากนี้
พบว่านักท่องเที่ยวมีความสนใจด้านผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจมาเยี่ยมชมโครงการ
ฟาร์มตัวอย่างมากที่สุด ข้อมูลจากการสำรวจ การประชุมหารือแนวทางในการออกแบบ และการศึกษาวิจัยพบว่า
การออกแบบสภาพแวดล้อมโดยนำจุดเด่นและทรัพยากรในพื้นที่ เช่น ทรัพยากรทางการเกษตรและกิจกรรมทางการ
เกษตรโดยการถอดอัตลักษณ์นำสู่การจัดสรรพื้นที่ การนำเสนอป้ายสื่อความหมาย ผลิตภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ ฐานการ
เรียนรู้ต้นไม้ และพื้นที่เรียนรู้ทางการเกษตร รวมถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ การรับรู้
และการสร้างสื่อสัญลักษณ์ใหม่นำสู่การเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสร้างสรรค์

References

พัทธ์ยมล สื่อสวัสดิ์วณิชย์. (2558). ต้นแบบการบริหารจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพในภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากรฉบับภาษาไทย, 35(1), 103-124.

Henderson, J. C. (2009). Agro-tourism in unlikely destinations: A study of Singapore. Managing Leisure, 14(4), 258-268.

Faisala, F. B., & Latifb, M. N. (2010). Design and Character of Architecture of the Agro-Tourism Site in Indonesia and Malaysia. International Conference on Social Sciences and Humanities UKM 2012, (pp 718-720).

Jolly, D. A., & Reynolds, K. A. (2005). Consumer demand for agricultural and on-farm nature tourism. Small Farm Center, University of California-Davis.

Joshi, P. V., & Bhujbal, M. B. (2012). Agro-Tourism a Specialised Rural Tourism: Innovative Product of Rural Market. International Journal of Business and Management Tomorrow, 2(1).

Karampela, S., Andreopoulos, A., & Koutsouris, A. (2021). “Agro”,“Agri”, or “Rural”: The Different Viewpoints of Tourism Research Combined with Sustainability and Sustainable Development. Sustainability, 13(17), 9550.

Khanal, S., & Shrestha, M. (2019). Agro-tourism: Prospects, importance, destinations and challenges in Nepal. Archives of Agriculture and Environmental Science, 4(4), 464-471.

Kubickova, M., & Campbell, J. M. (2020). The role of government in agro-tourism development: a top-down bottom-up approach. Current Issues in Tourism, 23(5), 587-604.

Pongwiritthon, R. (2015). Development guidelines for sustainable agro-tourism: Pang Da Royal Project. Suranaree Journal of Social Science, 9(1), 19-35.

Romanenko, Y. O., Boiko, V. O., Shevchuk, S. M., Barabanova, V. V., & Karpinska, N. V. (2020). Rural development by stimulating agro-tourism activities. International Journal of Management (IJM), 11(4), 605-613.

Seong-Woo, L., & Sou-Yeon, N. (2005). Agro-tourism as a rural development strategy in Korea. Journal of Rural Development, 29(6), 67-83.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-03

How to Cite

สังขะกุล ท., อินทรักษ์ เ., ชูศิลป์ น., & รัตนมา อ. (2023). การกำหนดแนวทางในการออกแบบ และพัฒนาลักษณะทางกายภาพฟาร์มตัวอย่าง สู่การเพิ่มศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสรรค์. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(2), 128–141. https://doi.org/10.14456/bei.2023.15