วัฒนธรรมด้านอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบภาคใต้ สู่กระบวนการถอดนัยยะการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2023.21คำสำคัญ:
แนวความคิด, วัฒนธรรมอาหาร, ประเพณีวันสารทเดือนสิบ, นัยยะบทคัดย่อ
วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบ แนวคิด นัยยะ และภูมิปัญญาของวัฒนธรรมด้านอาหาร
ในประเพณีวันสารทเดือนสิบภาคใต้ ในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา และ 2) สร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจาก
รูปแบบ แนวคิด นัยยะ และภูมิปัญญาของวัฒนธรรมด้านอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบภาคใต้ ผู้วิจัยมีวิธีการ
ศึกษาและสร้างเครื่องมือในการทดลอง เพื่อการสร้างแนวความคิดในการออกแบบดังนี้ 1) ทบทวนรูปแบบแนวคิด
นัยยะ และภูมิปัญญาด้านอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบ ด้วยวิธีการสำรวจ 2) แบบสอบถามความเข้าใจประเพณี
วันสารทเดือนสิบ และผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก จากกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ประกอบการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
3) การสัมภาษณ์คนในชุมชน และผู้มีความรู้ในท้องถิ่น เรื่องแนวคิด นัยยะ ความหมาย และภูมิปัญญาที่มีความเกี่ยวข้อง
กับวัฒนธรรมอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบ เพื่อนำไปสู่กระบวนการสร้างแนวความคิดในการออกแบบ โดยการ
ค้นหาอัตลักษณ์ และถอดความหมาย นัยยะของวัฒนธรรมอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบ สู่การสรุปแนวความคิด
ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกที่สามารถสื่อสารถึงวัฒนธรรมอาหารในประเพณีวันสารทเดือนสิบ นอกจากนี้
ยังพิจารณาถึงศักยภาพ ความสามารถ และข้อจำกัดด้านวัสดุของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเป็นหลัก โดยสรุปความต้องการ
และทิศทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว จากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน พบว่า
กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกสูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ของใช้ส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.70 สินค้า
เก็บสะสม มีค่าเฉลี่ย 4.34 และของประดับตกแต่ง มีค่าเฉลี่ย 4.46 ตามลำดับ ออกแบบร่วมกับการใช้วัสดุหลักและ
ภูมิปัญญาที่พบในพื้นที่ ได้แก่ วัสดุพื้นถิ่น (เส้นใยตาลโตนด) ภูมิปัญญาเชิงช่าง (งานไม้) การถ่ายทอดวัฒนธรรมผ่าน
ลวดลายบนผ้าบาติก และการวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชน คือ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มโหนดทิ้ง วิสาหกิจชุมชน
กลุ่มบ้านเห็ดสวนเพชรปลายนา และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโกเมนทร์บาติก
References
Chankit Cho̜pthamkit. (1980). souvenir In the tradition of the tenth month (Sart Day) 1979 of Nakhon Si
Thammarat Province. Bangkok: Krung Siam Printing.
ชาญกิจ ชอบทำกิจ. (2523). เดือนสิบ’ 23 ที่ระลึกในการจัดงานบุญสารทเดือนสิบ ประจำปี 2522 ของจังหวัด
นครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: กรุงสยามการพิมพ์.
Justin, B. (2019). The art of emotions. 3 levels of emotional design by Don Norman. Retrieved from
https://medium.muz.li/the-art-of-emotion-normans-3-levels-of-emotional-design-88a1fb495b1d
Prathabjai Suwanthada and Sakchai Sikka. (2018). Community Product Design and Development Applying
the Cultural Capitaland Wisdom : in the Upper Northeastern Region. Journal of Faculty of Fine
and Applied Arts, University Maha Sarakham, 9, 137-155.
ประทับใจ สุวรรณธาดา และศักดิ์ชาย สิกขา. (2561). การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญา : ในเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนบน. วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9, 137-155.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ