การเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในบริบทผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) พ.ศ.2565
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2023.9คำสำคัญ:
การใช้ประโยชน์ที่ดิน, โครงข่ายคมนาคม, การเข้าถึงพื้นที่, ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่, สแปซซินแทกซ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างเชิงสัณฐานผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ผ่านค่าการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งกับการใช้ที่ดิน วิธีวิจัยใช้การวิเคราะห์เอกสาร สำรวจพื้นที่ พัฒนาฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศ แบบจำลองสแปซซินแทกซ์ และวิเคราะห์ซ้อนทับชั้นข้อมูลบนระบบภูมิสารสนเทศ ผลวิจัย พบว่า ผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ (ปรับปรุงครั้งที่ 4) มีรูปแบบการใช้ที่ดินหลักในอนาคตหนาแน่นมากจากศูนย์กลางเมืองและเบาบางลงในพื้นที่ชานเมือง โครงสร้างเชิงสัณฐานโครงข่ายคมนาคมและการขนส่งมีลักษณะเป็นตารางกริดบริเวณศูนย์กลางเมืองเชียงใหม่ ล้อมรอบด้วยถนนวงแหวน และถนนรัศมีเชื่อมศูนย์กลางเมืองกับชุมชนเมืองโดยรอบ ผลวิเคราะห์ค่าการเข้าถึงพื้นที่ของโครงข่ายคมนาคมและการขนส่ง ด้วยแบบจำลอง สแปซซินแทกซ์ มีค่าเฉลี่ยการเข้าถึงระดับเมือง พื้นที่เฉพาะ และการเชื่อมต่อ 0.147122, 1.01382 และ 2.22492 ตามลำดับ ค่าการเข้าถึงมีความสัมพันธ์กับการใช้ที่ดินหลักของเมืองสูงบริเวณพื้นที่พาณิชยกรรม และอยู่อาศัย อย่างไรก็ดีลักษณะโครงสร้างเชิงสัณฐานของโครงข่ายคมนาคมและการขนส่ง ที่มีค่าการเข้าถึงสูงมีลักษณะเป็นบล็อกขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยถนนหลัก มีข้อพิจารณาต่อการพัฒนาเพื่อเชื่อมโยงระบบโครงข่ายถนนหลัก และถนนรองภายในบล็อค เพื่อป้องกันปัญหาการจราจรแออัด นอกจากนั้น แนวถนนหลักที่มีค่าการเข้าถึงระดับเมืองสูงพาดผ่านที่ดินชนบทและเกษตรกรรมของเมือง อาจส่งผลต่อการพัฒนาเมืองตามแนวถนน
References
Al_Sayed, K, et al. (2018). Space Syntax methodology. A Teaching textbook for the MSc.Spatial
Design: Architecture & Cities. Bartlett School of Architecture, UCL, London: UCL press.
Bartholomew, H. (1955). Land use in American cities. Cambridge: Harvard University Press.
Burgess, E.W. (1925). The growth of city. Chicago: University of Chicago Press.
Chiang Mai Province. (2022). Information of Chiang Mai province 2022. Retrieved September 5, 2022,
from http://chiangmai.go.th/managing/public/D8/8D17Jan2022133138.pdf
Department of Provincial of Administration. (2022). Population statistics. Retrieved September 25, 2022,
from https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/webPage/statByYear.php
Department of Public Works and Town & Country Planning. (2022). Chiang Mai comprehensive
plan (The fourth modification) in 2022. Retrieved September 10, 2022, from
https://onedptgis.dpt.go.th/onedpt-complain-ppl/announce/15/10568?fbclid=
IwAR1xpomgIQ69KxPmtd7XUzizQVfeIyPCbZrVZE64wmJVDMIqGjT8OqjYqE8
Harris. C.D. & Ullman, E.L. (2020). Multiple nuclei model. Retrieved from: October 10, 2022, from
https://planningtank.com/settlement-geography/multiple-nuclei-model
Hillier, B. (1996). Space is a machine. London: The University of Cambridge.
Hillier, B. (1999). “Centrality as a process: accounting for attraction in equalities in deform grids”
Urban design international (1999). Retrieved October 15, 2022, from
https://www.academia.edu/12147617/Centrality_as_a_process_by_bill_hillier
Hoyt, H. (1939). The structure and growth of residential neighborhoods in American cities.
Washington, DC: Federal Housing Administration.
Kasemsuk, A. (2018). Space Syntax; One of the studies of morphology. Bangkok: Magic publication.
Summaniti, L. and Summaniti, S. (2017). Spatial transformation and accessibility efficiency of
transportation network with land use in the context of Chiang Mai comprehensive plan.
Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 14, 105-126.
Suppawimut, V. (2018). Agricultural land losses in surrounded area of Chiang Mai middle ring
road. VRU Research and Development Journal Science and Technology, 13, 103-113.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ