พัฒนาการของรูปสัณฐาน และองค์ประกอบของเมืองเด่นชัย จังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • จิรเดช ช่วงชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ณวิทย์ อ่องแสวงชัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.14

คำสำคัญ:

แพร่, เด่นชัย, พัฒนาการ, องค์ประกอบของเมือง, รูปสัญฐานเมือง, รถไฟสายเหนือ

บทคัดย่อ

เด่นชัย เป็นเมืองที่เคยมีบทบาทสำคัญในเส้นทางการค้า โดยม้าต่างวัวต่างของภาคเหนือ จากที่ตั้งที่เป็นเมืองผ่านระหว่างล้านนาตะวันออก และตะวันตก ที่เชื่อมต่อไปยังภาคอื่นๆต่อได้ จวบจนการมาถึงของเส้นทางรถไฟสายเหนือ ที่เด่นชัยได้เป็นสถานีประจำจังหวัดแพร่ ก่อนที่ทางรถไฟจะมุ่งหน้าไปทางตะวันตก ทำให้สถานีเด่นชัยเป็นสถานีเชื่อมต่อการเดินทางไปยังล้านนาตะวันออกต่อไปโดยถนน สถานีเด่นชัยยังเป็นชุมทางสำหรับทางรถไฟส่วนต่อขยายไปยังเชียงราย แต่การก่อสร้างได้ถูกระงับไป เมื่อการมาถึงของถนนที่ได้มาตราฐานมากขึ้นและทางหลวงเชื่อมระหว่างจังหวัดและภูมิภาคที่ทั่วถึงมากขึ้น เด่นชัยยังคงเป็นจุดประสานของถนนที่มาจากล้านนาตะวันออก-ตะวันตก ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสาน แต่การเดินทางโดยรถยนต์ที่สะดวกสบายขึ้น ก็ทำให้ทางรถไฟเสื่อมความนิยมในการเดินทางและขนส่งสินค้าลง รูปแบบของการเดินทางที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุค จึงส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของโครงสร้าง รูปสัณฐาน และการจัดวางองค์ประกอบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆของเมืองเด่นชัยมาโดยตลอด งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายพัฒนาการดังกล่าว ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเดินทางในแต่ละยุค โดยวิธีการสำรวจภาคสนาม ผ่านการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัย และผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่และองค์ประกอบต่างๆของเมือง รวมทั้งการสำรวจเก็บข้อมูลโครงสร้าง และองค์ประกอบของเมืองที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่จริง โดยอาศัยแผนที่เทศบาลตำบลเด่นชัยปี พ.ศ. 2560 เป็นแผนที่ฐาน เพื่อเปรียบเทียบกับแผนที่อื่นๆก่อนหน้านี้ ร่วมกับภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายเหตุการณ์ต่างๆในสถานที่ และเอกสาร รายงาน บันทึกต่างๆที่มีก่อนหน้านี้  ข้อมูลทั้งหมดถูกนำมาจัดระเบียบตามช่วงเวลา และจัดทำแผนที่พัฒนาการการของเมือง เพื่ออธิบายสาเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ควบคุมหรือส่งอิทธิพลต่อรูปสัณฐาน และการจัดระเบียบองค์ประกอบของเมืองจนปรากฏให้เห็น การศึกษาพบว่าเด่นชัยพัฒนามาจากชุมชนหมู่บ้านเกษตรกรรมบนพื้นที่แอ่งกระทะ ที่มีรูปสัณฐานอ้างอิงกับแนวริมฝั่งแม่น้ำยมและน้ำแม่พวก สู่การเป็นชุมชนค้าขายเมื่อทางรถไฟมาถึงสถานีเด่นชัย พร้อมกับการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนหลากชาติพันธุ์ เกิดการสร้างตลาด เรือนค้า ห้องแถว ศาสนสถาน ตามมา พร้อมกับอาคารต่างๆของรัฐ ในแต่ละช่วง โดยทั้งหมดขยายตัวจากบริเวณพื้นที่หน้าสถานีรถไฟไปตามถนนยันตรกิจโกศล ที่เชื่อมไปสู่เมืองแพร่ กอปรเป็นรูปสัณฐานของเมืองเด่นชัยที่ยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เพราะหลังจากการเดินทางโดยถนนสะดวกสบายขึ้น ทางรถไฟได้เสื่อมความนิยม ทำให้เมืองเด่นชัยเงียบเหงาลง จากบทบาทของการเป็นเมืองสถานีรถไฟ

References

การรถไฟแห่งประเทศไทย. (2561). เส้นทางรถไฟไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2561.

จาก http://portal.rotfaithai.com.

จังหวัดแพร่. (2528). ประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาคจังหวัดแพร่. ปทุมธานี : โรงพิมพ์สถานสงเคราะห์หญิง ปากเกร็ด

จังหวัดแพร่. อำเภอเด่นชัย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 10 พฤจิกายน 2561. จาก http//www.wungfon.com.

ชัยพงษ์ สําเนียง. (2560). พัฒนาการของกลุ่มทุนและเครือข่ายธุรกิจในภาคเหนือของประเทศไทย

พ.ศ. 2446 – ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2545). รายงานการวิจัย เรื่อง พ่อค้าวัวต่าง : ผู้บุกเบิกการค้าขายในหมู่บ้านภาคเหนือของประเทศไทย

(พ.ศ.2398 – 2503). เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.

ณวิทย์ อ่องแสวงชัย. (2557). สถาปัตยกรรมเมือง. เชียงใหม่ : คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เทศบาลตำบลเด่นชัย. ประวัติเทศบาลฯ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2561.จาก http://www.denchaicity.go.th.

เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2560). เปิดแผนยึดล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : มติชน.

พูนพร พูลทาจักร. (2530). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในมณฑลพายัพหลังการตัดเส้นทางรถไฟสายเหนือ พ.ศ.2464-

กรุงเทพ : สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร

พระครูบรรพตชัยโสภณ, พระครูวิทิตพิพัฒนาภรณ์. (2560). ชำระประวัติความเป็นมาของ อ.เด่นชัย จ.แพร่.

แพร่ : วัดศรีคิรินทราราม หมู่ที่ 11 ต.เด่นชัย อ.เด่นชัย จ.แพร่.

มีเรื่องมาเล่า มีข่าวมาบอก. (2559) อนุสรณ์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่1 ณ อำเภอเด่นชัย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ

พฤศจิกายน 2561. จาก http//oknation .nationtv.tv/blog/usakanay/2015/10/29/entry-1.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 5 : ดอยหลวง,

อุทยานแห่งชาติ-ทองดี โพธิยอง, นาง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์

โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ. (2563). สถานีเด่นชัย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563. จาก https://www.facebook

.com/โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ-222323771159492

เหมือนพิมพ์ สุวรรณกาศ. (2557). อุตสาหกรรมป่าไม้กับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของเมืองแพร่ (พ.ศ.2479-

. กรุงเทพ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 6 กระทรวงคมนาคม ร.6 คค.5.3/2 ตรวจทางรถไฟสายเหนือ

เพื่อจะสร้างต่อไปในมณฑล(26ธ.ค.2453-22 ม.ค. 2454)

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ร.6 ม.24/1 รายงานการตรวจมณฑล

มหาราษฎร์( พ.ศ.2454-พ.ศ.2464 )

หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. เอกสารกรมราชเลขาธิการรัชกาลที่ 6 กระทรวงมหาดไทย ร.6 ม.24/2 รายงานการตรวจมณฑล

มหาราษฎร์( พ.ศ.2454-พ.ศ.2464 )

อิจิโร คากิซากิ. (2560). จากรถไฟสู่ทางหลวง ความเปลี่ยนแปลงนโยบายการคมนาคมและการหมุนเวียนสินค้าของ

ประเทศไทย พ.ศ.2478-2518. นนทบุรี : ต้นฉบับ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่. (2550). ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ 2550. แพร่ : เมืองแพร่การพิมพ์

Human Excellence. (2560). กบฏเงี้ยว พ.ศ.2445 - การต่อต้านสยามของประเทศราชล้านนา. [ออนไลน์].

สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2561. จาก http://huexonline.com/knowledge/22/165/

Kostof, Spiro. (1992). The City Assembled: Elements of Urban Form through History. Little Brown, Boston ;

second printing Thames & Hudson New York 2005.

Kostof, Spiro. (1999). The City Shaped: Urban Patterns and Meanings Through History.

second edition Thames & Hudson, New York 1999.

สัมภาษณ์

จรูญ ภัดมีเทศ. (2561, 12 กุมภาพันธ์). ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 3 อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. [สัมภาษณ์]

จุรีย์ แซ่ตั้ง. (2561, 12 กุมภาพันธ์). ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 2 อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. [สัมภาษณ์]

วรชัย สายตรง (2561, 14 กุมภาพันธ์). ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 9 อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. [สัมภาษณ์]

สุวิชชา นพณัฐทัตพงศ์. (2563, 5 พฤศจิกายน). เจ้าหน้าที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากง-ม่าเด่นชัย อำเภอเด่นชัย

จังหวัดแพร่. [สัมภาษณ์]

อารีวัย อยู่เจริญ. (2561, 12 กุมภาพันธ์). ประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 2 อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. [สัมภาษณ์]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-04

How to Cite

ช่วงชัย จ., & อ่องแสวงชัย ณ. (2023). พัฒนาการของรูปสัณฐาน และองค์ประกอบของเมืองเด่นชัย จังหวัดแพร่. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(2), 107–126. https://doi.org/10.14456/bei.2023.14