ความสัมพันธ์ของผู้ใช้ห้องต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ในห้องเรียนปรับอากาศ

ผู้แต่ง

  • ณัยน์ปพร มั่งสวัสดิ์ คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.8

คำสำคัญ:

คาร์บอนไดออกไซด์, ห้องเรียน, ห้องปรับอากาศ, คุณภาพอากาศภายในอาคาร, การระบายอากาศ

บทคัดย่อ

งานศึกษานี้เป็นการหาความสัมพันธ์ของผู้ใช้ห้องเรียนต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในห้องเรียน
ปรับอากาศ โดยทำการวัดค่าความเข้มข้นของ CO2 ภายในห้องเรียนปรับอากาศ สาขาวิชาโยธาสถาปัตยกรรม
คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 3 ห้อง ที่มีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกันและมีกิจกรรม
การเรียนการสอนต่างกัน ด้วยเครื่องวัดคุณภาพอากาศ Air meter Fluke 975 ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐาน (ASHRAE)
กำหนดค่าความเข้มข้นของ CO2 ให้ไม่ควรเกิน 1,000 ส่วนในล้านส่วน (Part per million : ppm) ผลการตรวจวัด
พบว่าภายในห้องเรียนที่มีจำนวนผู้ใช้ห้องเรียนไม่เกิน 30 คน มีค่าความเข้มข้นของ CO2 ตั้งแต่ 393 ถึง 5,314 ppm
ทุกห้องติดเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 2 เครื่อง และไม่มีพัดลมดูดอากาศ เมื่อมีการใช้ห้องเป็นเวลา 45 ถึง 60 นาที
พบว่าค่าความเข้มข้นของ CO2 จะเกิน 1,000 ppm อันแสดงถึงการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากมีผู้ใช้ห้อง
เป็นจำนวนมากและไม่มีการติดตั้งระบบแลกเปลี่ยนอากาศภายในห้อง จึงควรพักช่วงเวลาในการใช้งานห้อง โดยให้
ผู้ใช้ห้องออกจากห้องและเปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ทุกๆ 45 ถึง 60 นาที และเมื่อผู้ใช้ห้องอยู่ภายในห้อง
เป็นเวลา 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเกิน 1,800 ppm ทุกครั้ง ซึ่งอาจทำให้
ผู้เรียนผู้สอนเกิดอาการวิงเวียน ปวดศีรษะ หมดแรง ไม่มีสมาธิ ระคายคอ ระคายจมูก และพบว่าห้องเรียนในช่วงบ่าย
จะมีการสะสมของ CO2 จากช่วงเช้าจนเกินมาตรฐานแล้ว แม้จะหยุดการใช้งานห้องเรียนในช่วงพักเที่ยงและไม่มีคน
อยู่ภายในห้องเรียนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก็ไม่สามารถลดความเข้มข้นของ CO2 ให้ต่ำกว่า 1,000 ppm ได้
จากการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ใช้ห้องเรียนที่ไม่ทำให้ระดับความเข้มข้นของ CO2 เกิน 1,000 ppm ในช่วง
เวลาเรียน 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง คือ 3 ถึง 6 คนต่อห้อง ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้จริง ควรเพิ่มการไหลเวียนของอากาศบริสุทธิ์
ภายนอกเข้ามาภายในห้อง และดูดอากาศภายในห้องออกไปภายนอกในระหว่างการใช้งาน เช่น การติดตั้งพัดลมดูด
อากาศแบบมีระบบดูดเข้า-ออก และหากต้องการให้อากาศเกิดการถ่ายเทได้เร็วขึ้น ควรติดตั้งพัดลมดูดอากาศเข้า-ออก
สองเครื่องในตำแหน่งตรงข้ามกัน ผลการศึกษายังพบว่า การเรียนในห้องเดียวกันนี้โดยไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ แต่เปิด
ประตูหน้าต่างในตำแหน่งตรงข้ามกัน ให้อากาศระบายโดยวิธีธรรมชาติร่วมกับการเปิดพัดลมเพดาน ค่าความเข้มข้น
ของ CO2 มีค่าสูงสุดเพียง 459.5 ppm เท่านั้น ซึ่งเป็นปริมาณที่เหมาะสมและไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ใช้ห้อง

References

ภารดี ช่วยบำรุง และชัญฐิศา ประพันธ์พจน์. (2558). ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายในระบบขนส่งมวลชนทางบกในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 23 ฉบับที่ 6 (ฉบับพิเศษ), 898-913.

ลิขิต น้อยจ่ายสิน และสุวพิชชา พิษณุพงควิชชา. (2562). การประเมินประสิทธิภาพการระบายอากาศภายในห้องสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2562, 945-957.

สุมาวลี จินตาพล. (2562). คุณภาพของสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Journal of Architectural/Planning Research and Studies. 16(1), 93-105.

อธิวุฒิ ทิมา และชูพงษ์ ทองคำสมุทร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในห้องเรียนปรับอากาศ. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อริสา กาญจนากระจ่าง และภารดี ช่วยบำรุง. (2560). การตรวจวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการระบายอากาศภายในห้องเรียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 25 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560, 960-974.

American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers [ASHRAE]. (1999). ASHRAE 62- Ventilation for acceptable indoor air quality. Atlanta: Author.

American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers [ASHRAE]. (2010). ASHRAE 62.1 standard thermal environmental conditions for human occupancy. Atlanta: Author.

Bureau of Environmental Health. Department of Health. (2016). Handbook of Measurement Indoor Air Quality for the Authorities. Bangkok: Bureau of Environmental Health. (in Thai)

Myhrvold, A.N., Olsen, E. and Lauridsen. (1996). Indoor Environment in Schools – Pupils Health and Performance in Regard to CO2 Concentrations, Proceedings of Indoor Air’ 96: the 7th International Conference on Indoor Air Quality and Climate, Nagoya, Japan.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-21

How to Cite

มั่งสวัสดิ์ ณ. (2023). ความสัมพันธ์ของผู้ใช้ห้องต่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ในห้องเรียนปรับอากาศ. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(2), 1–13. https://doi.org/10.14456/bei.2023.8