การปรับปรุงระดับความส่องสว่างสำหรับทางสัญจรทางเท้า: แนวทางการออกแบบแสงสว่างเพื่อคนทั้งมวลของ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • นิชากร เฮงรัศมี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นิธิวดี ทองป้อง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2023.28

คำสำคัญ:

การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล, การออกแบบแสงสว่าง, ทางสัญจรทางเท้า, ความส่องสว่าง, พื้นที่สาธารณะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาและความสำคัญของระดับความส่องสว่างที่เป็นสากลในการสร้างพื้นที่
สาธารณะที่ทุกคนเข้าถึงได้ และให้คำแนะนำเชิงปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ในบริบทของการออกแบบไฟส่องสว่าง
ที่เพียงพอสำหรับทางสัญจรทางเท้ามีความสำคัญอย่างยิ่ง
สำหรับผู้สูงอายุ และผู้ที่มีสายตาเลือนราง รวมไปถึงผู้ที่มี
ความบกพร่องทางการรับรู้ด้านอื่นๆ เนื่องจากพวกเขาอาจต้องพึ่งพาประสาทสัมผัสและการมองเห็นที่เหลืออยู่ เช่น
ใช้การรับรู้ทางสายตามากขึ้นเพื่อชดเชยความบกพร่องในการได้ยินโดยใช้การอ่านริมฝีปาก หรือการอ่านสีหน้า สภาพ
แสงที่ดีสามารถเพิ่มความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุและเพิ่มอิสระให้กับผู้สูงอายุและคนทั้งมวลใน
การดำเนินชีวิตประจำวันและพึ่งพาตนเอง บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบปรับปรุงไฟส่องสว่างสำหรัย
ทางสัญจรทางเท้าที่สามารถรองรับคนทั้งมวลในบริเวณพื้นที่สาธารณะของศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ด้วยวิธีการ
ลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูล และบันทึกผลในบริเวณที่ต้องคำนึงถึงระดับความส่องสว่างตามมาตรฐานเพื่อคนทั้งมวลที่
สังเคราะห์ได้จากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกณฑ์มาตรฐาน กฎและข้อบังคับทั้งในประเทศและในระดับ
สากลที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า บริเวณที่ต้องคำนึงถึงระดับความส่องสว่างเพื่อคนทั้งมวลในพื้นที่ศึกษา
มีทั้งหมด 7 จุด ซึ่งมีค่าความส่องสว่างไม่เพียงพอ โดยสามารถลำดับความต้องการในการปรับปรุงแก้ไขระดับความ
ส่องสว่างของทั้ง 7 จุดจากมากไปน้อย ได้แก่ ทางลาดสำหรับรถเข็นล้อ ศาลารอรถสาธารณะ ประตูทางเข้า-ออกศาลา
กลางจังหวัดขอนแก่น ทางเข้าสวนสาธารณะ ทางม้าลายข้ามถนน ทางสัญจรทางเท้าและถนนสำหรับสัญจรโดยรถยนต์
โดยได้นำผลลัพธ์มาสร้างเป็นแบบจำลองแสงสว่างและสภาพแวดล้อมด้วยโปรแกรม DIALux เพื่อ
นำเสนอแนวทางในการออกแบบเพื่อปรับปรุงระดับความส่องสว่างในบริเวณดังกล่าวตามข้อเสนอแนะ

References

- City of Winnipeg. (2023). 2015 City of Winnipeg Accessibility Design Standard. (3rd ed.). Retrieved March 12, 2023, from https://legacy.winnipeg.ca/finance/findata/matmgt/documents/2018/388-2018/388-2018_Appendix_A.pdf

- IESNA. (2014). IESNA Recommended Practice Manual: Lighting for Exterior Environments Roadway/street lighting. (Vol. IESNA-RP-33-99). New York, USA: IESNA.

- GmbH, DIAL. (2017). Dialux (Version 4.13.02). Lüdenscheid: DIAL GmbH, Retrieved March 12, 2023, from https://www.dial.de

- Government of Newfoundland and Labrador. (2021). Universal Design Standard 2021. Canada.

- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กระทรวงมหาดไทย. (มปป.) มาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ. เข้าถึงเมื่อ 21 พฤษภาคม 2566, จาก http://www.dla.go.th/work/e_book/eb1/stan3.htm

- สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน. กรุงเทพฯ: พลัสเพรส.

- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชกิจจานุเบกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-28

How to Cite

เฮงรัศมี น., & ทองป้อง น. (2023). การปรับปรุงระดับความส่องสว่างสำหรับทางสัญจรทางเท้า: แนวทางการออกแบบแสงสว่างเพื่อคนทั้งมวลของ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 22(3), 191–203. https://doi.org/10.14456/bei.2023.28