แนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์
DOI:
https://doi.org/10.14456/bei.2024.19คำสำคัญ:
การอนุรักษ์, การฟื้นฟู, ย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมา, การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรม ลักษณะทางกายภาพทางสังคมวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมและองค์ประกอบภายในย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมา วิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพและแนวโน้มการพัฒนา พร้อมทั้งเสนอแนวทางการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนาย่านดังกล่าวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โดยรวบรวมข้อมูลอาคารกรณีศึกษาและวิถีชีวิตจากเจ้าของอาคาร ข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากนักวิชาการ ข้อมูลโครงการและนโยบายที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวจากหน่วยงานภาครัฐ การสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวด้วยแบบสอบถาม เพื่อนำมากำหนดทิศทางการพัฒนา จากนั้นจึงจัดเวทีระดมความคิดเห็นจากกลุ่มตัวแทนทุกภาคส่วนมาวิเคราะห์และกำหนดแนวทางการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน ซึ่งสามารถสรุปแนวทางการพัฒนาได้ดังนี้ คือ 1) การอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรม ได้แก่ การสร้างความตระหนักให้เห็นคุณค่าและรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์ โดยจัดทำฐานข้อมูล ประเมินคุณค่าอาคารและเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ หรือการมอบรางวัลจากหน่วยงานทางด้านการอนุรักษ์ให้กับอาคารเก่า การกำหนดแนวทาง นโยบาย มาตรการ หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่จากหน่วยงานราชการ รวมถึงการออกกฎหมายเทศบัญญัติท้องถิ่นควบคุมอาคารและพัฒนาพื้นที่ 2) การพัฒนาพื้นที่ภายในย่าน ได้แก่ การปรับปรุงอาคารสถานที่สำคัญ การสร้างพื้นที่วัฒนธรรม การปรับ ภูมิทัศน์ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก 3) การฟื้นฟูผ่านการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ได้แก่ การเดินชมเมืองโดยใช้แผนที่และแอพพลิเคชั่นนำเที่ยวที่ติดตั้งในโทรศัพท์มือถือ การจัดแพ็กเกจท่องเที่ยวหรืองานเทศกาลประจำปี ทั้งนี้ การที่จะพัฒนาย่านการค้าเมืองเก่านครราชสีมาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่ยั่งยืนได้นั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ภาควิชาการ องค์กรอิสระ รวมถึงคนในชุมชน ในการขับเคลื่อนให้เกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูและพัฒนา
References
กิจอุดม เสือเจริญ. (2559). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตเมืองเก่าจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
เทศบาลนครนครราชสีมา. (2548). บันทึกเจ็ดสิบปีที่โคราช. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครราชสีมา: สำนักงาน.
ปกรณ์ พัฒนานุโรจน์ และนิตยา พัดเกาะ. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและปรับปรุงสภาพแวดล้อมเมือง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว บริเวณเมืองเก่า สกลนคร. สกลนคร: มหาวิทยาลัยเทคโนราชมงคลอีสาน
ปรานอม ตันสุขานันท์. (2559). การอนุรักษ์ชุมชนเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เพจโคราชในอดีต. 2557. โคราชในอดีต. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.facebook.com/korat.in.the.past. (12 พฤษภาคม 2563)
ภาณุพงศ์ สิทธิวุฒิ. (2544). การพัฒนาเชิงอนุรักษ์พื้นที่เมืองเก่าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา อ.เมือง จ.น่าน. วิทยานิพนธ์การวางผังเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง และคณะ. (2547). รายงานฉบับสมบูรณ์ เส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ศูนย์ศึกษาและพัฒนาโคราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2562). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่านครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2558). โคราชของเรา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: มติชน.
หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา. (2542). ย้อนรอย ๑๐๐ ปี โคราชวาณิช. กรุงเทพฯ: ฟิวเจอร์ เพรส แอนด์ มีเดีย.
Kevin Lynch. (1960). The Image of the City. Cambridge, Ma: MIT Press
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและข้อคิดเห็นของบทความที่ปรากฏในวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน ไม่ถือว่าเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ