การประเมินอาคารหลังการใช้งาน กรณีศึกษา อาคารเรียนรวมและพัฒนาทักษะพื้นฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.5

คำสำคัญ:

การประเมินอาคารหลังการใช้งาน, คุณภาพพื้นที่อาคาร, สำรวจอาคาร, อาคารเรียน

บทคัดย่อ

การประเมินอาคารหลังการใช้งานเป็นกระบวนการประเมิน เพื่อได้ข้อมูลประสิทธิภาพการใช้อาคารในระหว่างการใช้งาน บทความนี้นำเสนอการประเมินคุณภาพพื้นที่ใช้งานของอาคารเรียนรวมและพัฒนาทักษะพื้นฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินอาคารหลังการใช้งาน วิธีการดำเนินการโดยการเดินสำรวจและประเมิน ในเวลาที่มีการใช้งานปกติ และนอกเวลาทำการปกติ ทำการบันทึก และถ่ายภาพ การใช้พื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากวัตถุประสงค์ของการออกแบบ และ การใช้งานอาคารโดยผู้ใช้อาคาร ผลการศึกษาแสดงพบว่า พื้นที่ใช้งานที่แตกต่างจากแบบอาคาร ได้แก่ พื้นที่จอดรถจักรยานยนต์ พื้นที่ร้านค้า พื้นที่ส่วนงานบริการอาคาร และพื้นที่โถงบางส่วนในอาคาร การประเมินพื้นที่ที่ถูกใช้งานโดยผู้ใช้อาคาร การใช้พื้นที่โดยไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดในแบบอาคาร ส่วนสุดท้ายของงานศึกษานำเสนอตัวอย่างรายการตรวจสอบสำหรับผู้ออกแบบและเจ้าของอาคารเพื่อใช้สำหรับปรับปรุงหรือการออกแบบอาคารใหม่ที่มีการใช้งานคล้ายกัน ข้อมูลที่ได้นำเสนอในการศึกษาเป็นแนวทางเพื่อใช้สำหรับผู้ออกแบบและผู้บริหารเพื่อกำหนดอาคารให้ตรงกับความต้องการในการใช้งานของผู้ใช้ได้ต่อไป

References

Higher Education Funding Council for England (HEFCE). (2006). Guide to Post Occupancy Evaluation. London: Higher Education Funding Council for England (HEFCE).

Preiser, W. F. E., Rabinowitz, H. Z., & White, E. T. (1988). Post-Occupancy Evaluation. New York: Vans Nostrand Reinhold.

Royal Institute of British Architects. (2020). Post Occupancy Evaluation- An Essential Tool to Improve the Built Environment. London: Royal Institute of British Architects.

Royal Institution of British Architects. (2017). Post Occupancy Evaluations: How the government can get most out of capital funding programmes Post Occupancy Evaluation Guidance. London: Royal Institution of British Architects.

Whyte, J., & Gann, D. M. (2001). Closing the loop between design and use: post-occupancy evaluation. Building Research & Information, 29(6), 460-462. doi:10.1080/09613210110072683

Williams, J. J., Humphries, B., & Tait, A. (2016). Post occupancy evaluation and building performance evaluation Primer. London: Royal Institution of British Architects.

Zhang, H., & Lei, S. L. (2012 ). An Assessment Framework for the Renovation of Existing Residential Buildings Regarding Environmental Efficiency. Social and Behavioral Sciences, 68, 549 – 563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

ไชยะกุล ย. (2024). การประเมินอาคารหลังการใช้งาน กรณีศึกษา อาคารเรียนรวมและพัฒนาทักษะพื้นฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(1), 73–85. https://doi.org/10.14456/bei.2024.5