การออกแบบอาร์ตทอยด้วยวัสดุเซรามิกส์แรงบันดาลใจจากตัวละครเอกในวรรณคดีไทยที่ถูกกลั่นแกล้งล้อเลียนเรื่องรูปลักษณ์

ผู้แต่ง

  • สุภาพร อรรถโกมล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/bei.2024.7

คำสำคัญ:

อาร์ตทอย, เซรามิกส์, วรรณคดีไทย, กลั่นแก้งล้อเลียนข่มเหงรังแก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งหวังที่จะศึกษาเรื่องตัวละครในวรรณคดีไทยที่ถูกกลั่นแกล้งล้อเลียนเรื่องรูปลักษณ์ มาใช้ในการออกแบบอาร์ตทอยโดยใช้วัสดุเซรามิกส์จากดินพื้นบ้านโดยมีวิธีการศึกษาหาข้อมูลภาคเอกสารด้านตัวละครวรรณคดี จากหนังสือตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาวิเคราะห์เพื่อหาอัตลักษณ์ของตัวละครแต่ละตัวโดยเลือกตัวละคร 4 ตัว ได้แก่ เงาะป่า แก้วหน้าม้า ขุนช้าง ผีเสื้อสมุทร ด้านการออกแบบอาร์ตทอยได้ทำแบบสอบถามเพื่อหาปัจจัยในการออกแบบอาร์ตทอย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์กำหนดแนวทางในการออกแบบ สร้างแบบร่างจำนวน 10 แบบ มีการสื่อสารโดยใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ รูปร่าง สีหน้า รูปลักษณ์สัดส่วน ท่าทาง  พาหนะ และเทคนิคการขึ้นรูป ด้านนามธรรมได้แก่ สัญลักษณ์ และความหมายของสิ่งของ(ความหมายโดยนัย Connotation) ประเมินผลการออกแบบโดยการเก็บแบบสอบถามผลการประเมินแบบที่ได้ค่าคะแนนลำดับต้นๆ เป็นแบบที่ใช้ท่าทางนอนอิงหมอนสามเหลี่ยม แบบขี่สัตว์ประหลาดตัวละครมีสองหน้า แบบผิดสัดส่วน และแบบที่ใช้เทคนิคในการขึ้นรูป ด้านวัสดุดินพื้นบ้านได้นำดินบ้านหนองเรือมาทำการทดลองจำนวน 16 สูตรด้วยตารางสามเหลี่ยม สูตรที่นำมาใช้ในการขึ้นรูปคือสูตรที่ 13 มีส่วนผสมของดินหนองเรือร้อยละ 50 ดินทรายร้อยละ 10 และดินขาวร้อยละ 40 เนื้อดินมีความเหนียวดีขึ้นรูปได้ดี หลังเผาที่อุณหภูมิ 1,200 (° C) ในบรรยากาศแบบ ออกซิเดชั่น เนื้อดินมีสีน้ำตาลแดง หดตัวร้อยละ12 และดูดซึมน้ำร้อยละ 6  นอกจากนี้ยังมีการตกแต่งด้วยการหยอดน้ำดิน การตกแต่งด้วยน้ำดินสี การเขียนสี และการเคลือบมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน

ผลลัพธ์จากการวิจัยและการทดลองนี้มีประโยชน์ในการออกแบบคาแรคเตอร์ที่สื่อความหมายและมีอัตลักษณ์ โดยการนำเอาลักษณะของตัวละครมาใช้เป็นแนวทางในการสร้างคาแรคเตอร์อาร์ตทอยที่สื่อความหมายได้

References

ชลดา เรืื องรัักษ์์ลิิขิิต. (2548). แก้้วหน้้าม้้า: ความหมายของหน้้าม้้าและนางเอกแบบใหม่่. ในวรรณวิิจััยรวมบทความ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30

How to Cite

อรรถโกมล ส. (2024). การออกแบบอาร์ตทอยด้วยวัสดุเซรามิกส์แรงบันดาลใจจากตัวละครเอกในวรรณคดีไทยที่ถูกกลั่นแกล้งล้อเลียนเรื่องรูปลักษณ์. สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างวินิจฉัย, 23(1), 105–119. https://doi.org/10.14456/bei.2024.7