การออกแบบอัตลักษณ์องค์กรสำหรับโครงการฟาร์มอัจฉริยะ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อรรคพล ล่าม่วง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • มนต์ธิดา เลิศนิมานรดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ธนสิทธิ์ จันทะรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์องค์กร, ฟาร์มอัจฉริยะ, การออกแบบกราฟิก, การสื่อสารแบรนด์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาและออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและเรขศิลป์สำหรับโครงการฟาร์มอัจฉริยะ "KKU Farm Dee" มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยใช้ระเบียบการดำเนินการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ การทบทวนวรรณกรรมจากหนังสือและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอัตลักษณ์องค์กรและเรขศิลป์ ร่วมกับการสนทนากลุ่มโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ การตลาด และเกษตร โดยผลการวิจัยแบบออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ชื่อ     แบรนด์ สโลแกน ตราสัญลักษณ์ และลวดลายเรขศิลป์ พบว่าการออกแบบตราสัญลักษณ์และลวดลายจำเป็นจะต้องสื่อสารถึงตัวตนของแบรนด์ ความมั่นคง น่าเชื่อถือ จดจำง่าย และสามารถสื่อความหมายสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของแบรนด์ โดยแนวทางการออกแบบองค์ประกอบทางเรขศิลป์สำหรับแบรนด์สินค้าเกษตรควรเน้นย้ำถึงการสื่อสารความสัมพันธ์ของแบรนด์กับผู้บริโภค สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี นอกจากนี้ การประยุกต์ใช้อัตลักษณ์องค์กรบนแพลตฟอร์มของสื่อต่างๆ ควรรักษาความสม่ำเสมอทั้งในด้านภาพลักษณ์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยการวางแผนและควบคุมทิศทางการสื่อสารอย่างเป็นระบบเพื่อการสื่อสารแบรนด์อย่างมีประสิทธิภาพ

References

Adams, A., & Cox, A. L. (2008). Questionnaires, in-depth interviews and focus groups. Cambridge University Press.

Krungsri. (2564). เทรนด์ธุรกิจเกษตรปี 2564: โอกาสทองของเกษตรกรยุคดิจิทัล. https://www.depa.or.th/th/article-view/adaptation-of-Thai-farmers-to-the-digital-age

Lupton, J. C. P. E. (2560). Graphic Design The New Basics

. นนทบุรี: IDC Premier.

Morgan, R. L., Kelley, L., Guyatt, G. H., Johnson, A., & Lavis, J. N. (2018). Decision-making frameworks and considerations for informing coverage decisions for healthcare interventions: a critical interpretive synthesis. Journal of clinical epidemiology, 94, 143-150.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). แผนพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ พ.ศ. 2564 - 2568. https://www.moac.go.th/news-preview-432791791102

แก่นฟ้า แสนเมือง. (2556). การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยเพื่อผลิตก๊าซหุงต้มของชุมชนศีรษะอโศกจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี, 4(1), 4-20.

จุติพงศ์ ภูสุมาศ. (2558). สิบรูปแบบการสร้างนวัตกรรม : หลักการสร้างพัฒนาการที่ยิ่งใหญ่. นนทบุรี: ไอดีซี พรีเมียร์.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2557). Ci : Corporate Identity Communications. Marketplus.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2563). โครงการวิจัยรูปแบบแผนงานวิจัย (Research Program). ภายใต้แผนงานวิจัยฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming). http://202.28.117.10/research_grants/inside/research_program/Funded_Persons/2563

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2562). รายงานผลการวิจัยเรื่อง การพัฒนาโมเดลธุรกิจฟาร์มอัจฉริยะแบบครบวงจร. https://smartfarm.mju.ac.th/

วิลาวัณย์ หงษ์สุวรรณ. ( 2542). กลยุทธ์การสร้างอัตลักษณ์และภาพลักษณ์เครื่องมือสร้างความแตกต่างในยุคการเปลี่ยนแปลงสูง. กรุงเทพมหานคร: วารสารนิเทศศาสตร์.

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ พ.ศ. 2563 - 2567. https://www.depa.or.th/storage/app/media/file/depa-Promotion-Plan-Book61-65.pdf

อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. (2541). การออกแบบตราสัญลักษณ์. กรุงเทพฯ: ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-03