ทหารกับรูปแบบการสร้างความสงบในทัศนะพุทธปรัชญาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • แม่ชีธรรมอธิษฐาน พรบันดาลชัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ทหาร, รูปแบบการสร้างความสงบ, พุทธปรัชญาเถรวาท

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องทหารในพุทธปรัชญาเถรวาท เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องรูปแบบการสร้างความสงบในพุทธปรัชญาเถรวาท และเพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องทหารกับรูปแบบการสร้างความสงบในพุทธปรัชญาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสาร จากผลการศึกษา พบว่า แนวคิดของทหารในพุทธปรัชญาเถรวาทมองว่า ทหาร คือ บุคคลผู้ทำหน้าที่รบและปกป้องความสงบ แยกออกเป็น 2 แบบ คือ ทหารตามหน้าที่ โดยมีหลักใหญ่ว่าเป็นการทำในฐานะรักษากับปกป้องตามอุดมคติของสังคม และทหารในฐานะอาชีพ เป็นความจำเป็นในการรักษารัฐไว้ ส่วนแนวคิดเรื่องรูปแบบการสร้างความสงบในพุทธปรัชญาเถรวาทซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ 1. รูปแบบการสร้างความสงบทางศาสนา เป็นการสร้างความดีภายในใจหรือสร้างแรงขับเคลื่อนทางดีสำหรับการตัดสินใจทำดีแม้ในท่ามกลางความขัดแย้ง และ 2. รูปแบบการสร้างความสงบทางโลก เป็นการสร้างกระบวนการทางรูปธรรมต่อการตัดสินความขัดแย้งด้วยการประนีประนอมหรือแม้แต่การทำสงครามเพื่อพยายามหาความชอบธรรมให้กับการฆ่าด้วยการโยงกับจุดหมายที่จะทำนั้นว่ามีเหตุผลและสมควรมากน้อยเพียงใด แนวคิดเรื่องทหารกับรูปแบบการสร้างความสงบในพุทธปรัชญาเถรวาท วิเคราะห์ลักษณะสำคัญ 2 อย่างคือ 1. ทหารกับรูปแบบการสร้างความสงบผ่านการฆ่า พิจารณาบนฐานเจตนาที่บริสุทธิ์และเป้าหมายของการฆ่านั้นด้วย และ 2.ทหารกับรูปแบบการสร้างความสงบผ่านคุณธรรม โดยทหารที่จะสร้างความสงบต้องทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองมากกว่าที่จะเน้นการฆ่าแบบทหารอาชีพกับการแย่งชิงซึ่งนำไปสู่ความไม่พอใจ และทำให้ความสงบเกิดขึ้นได้ยาก

References

กฤษณไทวปายนวยาส. (2561). ภควัทคีตา. แปลโดย สมภาร พรมทา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วารสารปัญญา.

พระกรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. (2555). มหาภารตยุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2552). จารึกอโศก (ธรรมจักรบนเศียรสี่สิงห์) : รัฐศาสตร์แห่งธรรมาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

ปกรณ์ สิงห์สุริยา. (2558). “ความขัดแย้ง อัตลักษณ์ และการเคารพยอมรับ”. มิติทางปรัชญาและวัฒนธรรมของการสร้างสันติภาพ. บรรณาธิการโดย มารค ตามไท. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ผลิธัมม์.

พระพุทธโฆสาจารย์. (2536). พระธัมมปทัฏฐกถาแปล ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระพุทธโฆสเถระ. (2558). อรรถกถาภาษาไทย พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 9.พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เพลโต. (2559). รีพับลิก. แปลโดย เวธัส โพธารามิก. พิมพ์ครั้งที่ 3. สมุทรสาคร : พิมพ์ดี.

นิโคโล มาคิอาเวลลี. (2558). เจ้าผู้ปกครอง. แปลโดย สมบัติ จันทรวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ยูวัล โนอาห์ แฮรารี. (2562). 21 บทเรียนสำหรับศตวรรษที่ 21. แปลโดย นำชัย ชีววิวรรธน์ และ ธิดา จงนิรามัยสถิต. กรุงเทพมหานคร : ยิปซี กรุ๊ป.

สันตินา ปีเตอร์ เดลล่า. (2561). ต้นไม้แห่งโพธิ : คำสอนพื้นฐานแห่งพระพุทธศาสนา มหายาน วัชรยานและอภิธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี : ภาพพิมพ์.

สุรชาติ บำรุงสุข. (2561). รัฐและอุดมการณ์ทหารในลาตินอเมริกา. กรุงเทพมหานคร : พารากราฟ. เอกสารภาษาอังกฤษ

Bill Rhodes. (2009). An Introduction to Military Ethics: A Reference Handbook. California : ABC_CLIO,LLC.

Peter Harvey. (2000). An Introduction to Buddhist Ethics. UK: Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2020