พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของชาวบ้านในชุมชนวังทรัพย์สิน ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระครูสิทธิวราคม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระฌานิพิทย์ อินทจารี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • อาทิตย์ ชูชัย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • สุชาติ อ่อนสร้อย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • วรวุฒิ สุขสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
  • สอาด ภูนาสรณ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, ศีล 5, ชาวบ้านชุมชนวังทรัพย์สิน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาพฤติกรรมและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของชาวบ้านในชุมชนบ้านวังทรัพย์สิน ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 

ผลการวิจัย พบว่า  พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของชาวบ้านในชุมชนบ้านวังทรัพย์สิน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และรายด้านมีพฤติกรรมการรักษาศีล 5 อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านความสนใจในการรักษาศีล รองลงมาคือ ด้านผลของการรักษาศีล ส่วนด้านที่มีความคิดเห็นต่ำสุดคือด้านศีล 5

ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของชาวบ้านในชุมชนบ้านวังทรัพย์สิน ตำบลชะแมบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามเพศ โดยภาพรวมมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการรักษาศีล 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ โดยเพศชายมีความคิดเห็นต่อต่อพฤติกรรมการรักษาศีล 5 สูงกว่าเพศหญิง

จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการรักษาศีล 5 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ชาวบ้านในชุมชนบ้านวังทรัพย์สินที่มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีความคิดเห็นสูงกว่าระดับปริญญาตรี และระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านความสนใจในการรักษาศีล มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านผลของการรักษาศีล มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนด้านศีล 5 มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

References

จำลอง ดิษยวณิช. (2544). จิตวิทยาของความดับทุกข์. เชียงใหม่ : กลางเวียงการพิมพ์ จำกัด.

บุญมี แท่นแก้ว. (2547). พระพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอ. เอ.พริ้นติ้ง เฮ้า.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

รังสรรค์ แสงสุขและคณะ. (2544). ความรู้คู่คุณธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วารีญา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม. (2544). จิตวิทยาพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทเมดาร์ท.

วิไลพร อุ่นเจ้าบ้าน. (2554). “ศึกษาพฤติกรรมการนำศีล 5 ไปใช้ในชีวิตประจำวันของผู้บริหารและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก. (2548). วิธีสร้างบุญบารมี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นพรัตน์.

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2516). จามเทวีวงศ์ พงศาวดารเมืองหริภุญไชย. พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดบรรณกิจเทรดดิ้ง.

สุพัตรา สุภาพ. (2549). ปัญหาสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2020