มิติของการตีความคำสอนของศาสนาส่งผลต่อจุดยืนและวิธีการเข้าถึงความจริงสุงสุด

ผู้แต่ง

  • ธานี สุวรรณประทีป วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส มหาวิทยาลัยมหาจุฬ่าลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชัยชาญ ศรีหานู วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส มหาวิทยาลัยมหาจุฬ่าลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระปลัดประพจน์ สุปภาโต วิทยาลังสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสมศักดิ์ ญาณโพโธ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คำสอน, การตีความ, ความจริงสูงสุด

บทคัดย่อ

การตีความคำสอนที่ตั้งอยู่บนฐานแบบเทวนิยมนำไปสู่การปฏิบัติที่บ่งถึงเป้าหมายเชิงการยอมรับและมองโลกในเชิงหนทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายเชิงภาววิสัย ส่วนการตีความของอเทวนิยมตั้งอยู่บนฐานของการสร้างความรู้แจ้งตนเองเชิงญาณวิทยา โดยแบ่งฐานความรู้ออกเป็น ๒ อย่างคือ ความรู้เชิงสมมติและความรู้เชิงปรมัตถ์ ความรู้ที่แท้จริงมีความเชื่อมโยงกับจิตในฐานะผู้รู้ที่มีฐานของความเป็นปรมัตถ์ในตัวเอง การมองเห็นฐานปรมัตถ์ในตัวเองทำให้เกิดการมองเห็นภาวะที่สมบูรณ์ในตัวเอง จึงไม่จำเป็นต้องแสวงหาเป้าหมายอื่น ความรู้แจ้งความเป็นจริงแท้แบบปรมัตถ์จึงมีความบริบูรณ์เพื่อทำให้จิตเข้าสู่เอกภาพมีลักษณะเป็นอัตวิสัย ส่วนการตีความเชิงเทวนิยมยังมีการแบ่งแยกความจริงของโลกในฐานะสิ่งถูกรังสรรค์ขึ้นและตัวผู้รังสรรคสมบูรณ์ในฐานะแหล่งเดิมเพื่อนำไปสู่การเข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งสมบูรณ และวิธีการดังกล่าวตั้งอยู่บนฐานของความยินยอมหรือศรัทธาซึ่งเป็นภาวะจิตแบบภาววิสัย จึงส่งผลต่อพฤติกรรมของการดำเนินชีวิต ๒ แบบคือ อเทวนิยมเน้นความรู้ที่เกิดจากการรู้แจ้งความเป็นจริง ส่วนอย่างหลังคือเทวนิยมรอการประทานหรือการเปิดเผยจากพระผู้สรร้าง ซึ่งเป็นสิ่งอื่นนอกจากจิตตนเอง การเข้าถึงจึงมีลักษณะ
ภววาท

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ,ราชวิทยาลัย, 2535.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สมบัติ พรศิริเจริญพันธ์, เฮอร์เมนูติกส์: ศาสตร์แห่งการตีความและศิลปะแห่งการเข้าใจ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พิ.พี. จำกัด, 2559.

พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร. บทความเรื่อง “หลักการตีความในพระพุทธศาสนา” (ออนไลน์)https://www.mcu.ac.th/article/detail/507 (22 มกราคม 2563)

พระมหาสมปอง มุทิโต, อภิธานวรรณนา, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ บริษัท ประยูรวงศ์พรินท์ติ้ง จำกัด, 2547.

Grondin,Jean, Introduction to Philosophical Hermeneutics, USA: Yale University, 1994.

Pual Lee Tan, The Interpretation of Prophecy, Dallas, TX: Bible Communication Inc., 1993.

St.Thomas Aquinas, Summa Theologiae, trans. English Dominicans, New York: Christian Classics, 1981.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020