พระพุทธเจ้าชนะมารในปรัชญา 5 กระบวนทัศน์

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดสุรวุฒิ แสงมะโน อาจารย์สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระปลัดวสันต์ ธีรวโร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • บัญชา ธรรมบุตร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • แสงอาทิตย์ ไทยมิตร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระพจนันท์ กุมพล มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

คำสำคัญ:

ชัยชนะ, พระพุทธเจ้า, มาร, ปรัชญา 5 กระบวนทัศน์

บทคัดย่อ

ท่านเชื่อในเรื่องอภินิหารหรือไม่ ?  ในบทสวดพุทธชยมงคลคาถา ซึ่งเป็นบทสรรเสริญถึงชัยชนะอันยิ่งใหญ่ 8 ครั้งของพระพุทธเจ้าที่ทรงเอาชนะมารในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างราบคาบ พระคาถาบทนี้เป็นที่เชื่อถือและศรัทธาในบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายตลอดมาแต่ครั้งโบราณกาล  โดยนำไปใช้สวดในพิธีต่าง ๆ มากมาย หรือแม้แต่ในพิธีหลวงก็เช่นกัน ถึงแม้จะมีบางคนสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงเอาชนะมารมากมายเหล่านี้ได้อย่างไร  แต่ก็ไม่มีใครกล้าตั้งคำถามขึ้นมา เพราะคงจะเป็นเรื่องแปลกสำหรับสังคมนั้นทันที  ความเชื่อเช่นนี้ก็มีอยู่ศาสนาเทวนิยมอื่น ๆ ด้วยเช่น คริสต์ และอิสลาม เป็นต้น เพราะศาสนาเหล่านี้เชื่อในอภินิหารของพระผู้เป็นเจ้า ว่าสามารถดลบันดาลสิ่งใดๆ ให้เกิดกับชีวิตมนุษย์ได้  กระบวนทัศน์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับความเชื่อในปาฏิหาริย์จึงมีอยู่เสมอ  แต่ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย  โดยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม การศึกษา เพศ วัย สภาพสังคม และความคิดของคนในยุคนั้น ๆ ดังนั้น ทฤษฎีปรัชญาจึงแบ่งกระบวนทัศน์เหล่านี้ในแต่ละยุคเรียกว่า “ปรัชญา 5 กระบวนทัศน์” เพื่อที่จะอธิบายกระบวนทัศน์เหล่านั้นให้ชัดเจน    และทำให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงนี้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่จะใช้สติปัญญาอย่างต่อเนื่องของมนุษย์ ผู้เป็นเวไนยสัตว์และประเสริฐกว่าสัตว์อื่นๆ สำหรับชาวพุทธแล้ว กระบวนทัศน์ที่ใช้เหตุและผลอย่างมีสติปัญญารู้คิด กอปรกับมีศรัทธาอันมั่นคงในอภินิหารของพระพุทธเจ้าที่ปรากฎอยู่ในพุทธชยมงคลคาถานี้   ก็ย่อมทำให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ว่า สาระที่แท้จริงของพระคาถานั้นอยู่ที่การประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรมที่ทรงเอาชนะต่อมารทั้งหลาย   และพระองค์ทรงกระทำเป็นแบบอย่างให้ปรากฎ  เมื่อนั้น ศรัทธาที่มีอยู่ย่อมพัฒนาไปสู่ปัญญาที่ถูกต้องแท้จริงคือ “สัมมาทิฐิ”  อันเป็นหนึ่งในอริยมรรค 8 ซึ่งจะนำไปสู่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ในที่สุดนั่นเอง

Author Biography

พระครูปลัดสุรวุฒิ แสงมะโน , อาจารย์สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

พระครูปลัดสุรวุฒฺิ แสงมะโน

สาขาวิชาพระพุทธศาสนาและปรัชญา

คณะศาสนาและปรัชญา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

References

กรมการศาสนา. (2525). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับหลวง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

กีรติ บุญเจือ. (2545). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

คัมภีร์ไบเบิ้ล มัดธาย 4:8-10. มัดธาย 10:34-39 เปโตร 5:8, 9 สุภาษิต 27:11. https://www.bible.com/th/bible/2046/MAT.13.TH1940 เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2563

ชัยอนันต์ สมุทวาณิช. (2544). บทความการบรรยายเรื่อง อนาคตการเมือง – การตื่นขึ้นทางวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เมื่อ 22 มิถุนายน. (เอกสารคัดสำเนา).

ปิยรัตน์ อินทร์อ่อน. (2552). โขลนทวาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

พระญาณสังวร, สมเด็จพระสังฆราช. (2557). เทศนานิพนธ์, 45 พรรษาของพระพุทธเจ้า เล่ม 2. กรุงเทพฯ:ธรรมะอินเทรนด์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2530). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์

พระธรรมปิฎก, (ป.อ.ปยุตโต) (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (ชำระ-เพิ่ม ช่วงที่ 1/ยุติ).พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 2 อักษร ข-จ. กรุงเทพฯ:

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2533). วิวัฒนาการวรรณคดีบาลีสายพระสุตันตปิฎกที่แต่งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020