ความเชื่อเกี่ยวกับผีและพุทธที่ปรากฎในพิธีกรรมพื้นบ้าน:กรณีศึกษาพิธี"ส่งในบ้าน"ของกลุ่มชาติพันธุ์ชองในจังหวัดตราด
คำสำคัญ:
พิธีส่งในบ้าน, ความเชื่อดั้งเดิม, พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการดำรงอยู่ของพิธี"ส่งในบ้าน"ของกลุ่มชาติพันธุ์ชองที่อาศัยอยู่ในจังหวัดตราดในภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งเป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อเซ่นนสรวงผีจะได้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะการผสมผสานของความเชื่อดั้งเดิมกับพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพิธีกรรมนี้
ผลการศึกษา พบว่า พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในลักษณะของการแทรกซึมรวมเข้าไปกับความเชื่อดั้งเดิมในพิธี"ส่งในบ้าน"ในปัจจุบันนี้ทั้งในระดับรูปธรรมคือส่วนที่จะมองเห็นได้ เช่นพื้นที่ที่เลือกเครื่องสักการะ ภาษาปรากฎในชื่อพิธีและผู้เข้าร่วมพิธี ส่วนในระดับนามธรรมคือ คติความเชื่อที่แฝงในพิธีและการให้คุณค่า
References
จิณนา เผือกนาง สมภพ รัตนประชา. (2559). การปรับตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมในการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในประเทศไทย: กรณีศึกษาชาติพันธุ์ชอง. สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). แนวคิดมานุษยวิทยากับการศึกษาความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสังคมไทย. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 47.
พรรณิดา ขันธพัทธ์, นันท์ชญา มหาขันธ์. (2555). การปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรม ความเชื่อและอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 41 มกราคม.
พิมพ์นภัส จินดาวงค์. (2555). การดำรงอยู่ของพิธีบูชาเลาอินทขีล:การผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมและพุทธศาสนาในพิธีกรรมปัจจจุบัน. วารสารไทยศึกษา ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 กุมภาพันธ์-กรกฎาคม.
พรรณิดา ขันธพัทธ, นันท์ชญา มหาขันธ์. (2558). การปรับเปลี่ยนวิถีทางประเพณีพิธีกรรม ความเชื่อและอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 23 ฉบับที่ 41 มกราคม-เมษายน.
พระครูโสภิตปุญญากร (กล้า กตปุญฺโญ) และพระครูโอภาสนนทกิตติ์. (2559). บทบาทของวัดในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรม. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ ปีที 2 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม.
พระมหาสมชัย ปริมุตโต, พระครูสิริสุตาภรณ์ และพระมหาณัฐ กิตติอนารโท. (2562). แนวทางส่งเสริมการทำบุญของชาวพุทธ ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 7 ฉบับเพิ่มเติม.
พระศุภราชัย สุรสโก, พระครูสุธีคัมภีรญาณและจันทร์ศิริพลอยงาม. (2563). กระบวนทัศน์ใหม่ของความเชื่อในสังคมไทย: ผี พราหมณ์พุทธศาสนาและวิทยาศาสตร์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น ปีที่ 7 ฉบับที่ 3.
โสวัตรี ณ ถลาง กนิษฐา แย้มโพธิ์ช้ะ และสุดารัตน์ รอดบุญส่ง. (2556). มิติทางวัฒนธรรมและการปรับตัวของกลุ่มชาติพันธ์ชองในจังหวัดจันทบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 39(1):37-55.
อภิลักษณ์ เกษมผลกูล. (2555). การสืบทอดอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ "ของ"ผ่านพิธี "ส่งในบ้าน"ของชาวชอง บ้านทุ่งไก่ดัก อ.เมือง จ.ตราด. วารสารไทยศึกษา ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 กุมภาพันธ์ - กรกฎาคม.