สุขภาพองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • สุดธินีย์ ทองจันทร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • รวิช ตาแก้ว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • กีรติ บุญเจือ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิริกร อมฤตวาริน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สุขภาพองค์รวม, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, คุณค่าแท้ของชีวิต

บทคัดย่อ

สุขภาพและความเจ็บป่วยเป็นปัญหาที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำอย่างไรให้บุคคลที่มีความเจ็บป่วยสามารถยอมรับสภาพของตนเอง สุขภาพองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทางเลือกหนึ่งได้หรือไม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์เอกสารด้วยหลักการทางปรัชญา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์และตีความสุขภาพองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทรรศนะปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง 2. วิจักษ์และวิธานสุขภาพองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 3. สร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับสุขภาพองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการวิจัยพบว่า 1. เป็นระบบการพัฒนาสุขภาพองค์รวมที่เพียงพอและสมเหตุสมผลต่อการเข้าถึงคุณค่าแท้ของชีวิต เน้นการพึ่งตนเองด้านสุขภาพด้วยการดูแลและป้องกันความเจ็บป่วยที่ไม่ลดทอนคุณค่าตนเอง ไม่ยึดมั่นถือมั่น มีวิจารณญาณ และมีความเอื้ออาทรอย่างกล้าหาญ เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ จิตสังคม จิตวิญญาณ สติปัญญา และสิ่งแวดล้อมให้เกิดสภาวะความสุขที่มั่นคงและยั่งยืน 2. สุขภาพองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีคุณค่าต่อการเข้าถึงคุณค่าแท้ของชีวิต เน้นการพัฒนาทุกองค์ประกอบด้านสุขภาพ สอดคล้องกับการประยุกต์ใช้อย่างสร้างสรรค์ ปรับตัว มีส่วนร่วม และแสวงหาคุณค่าของตนเอง และ 3.องค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับสุขภาพองค์รวมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย ก. การส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านการดูแล และป้องกันความเจ็บป่วยอย่างสร้างสรรค์แต่ไม่สุดโต่งและส่งเสริมการปรับตัวโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นและไม่ลดทอนคุณค่าตนเอง ข. การมีส่วนร่วมด้านสุขภาพอย่างกล้าหาญ มีวิจารณญาณ มีความเอื้ออาทร และมีการแสวงหาความเข้าใจภาวะและสภาวะสุขภาพด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม จิตวิญญาณ สติปัญญาและสิ่งแวดล้อมอย่างมีเหตุผล และ ค. การสร้างเสริมภูมิต้านทานด้านสุขภาพที่เพียงพอและสมเหตุสมผลสามารถทำได้จริง ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และระดับรัฐ พิสูจน์ได้ด้วยการทดลองปฏิบัติให้ประจักษ์ด้วยตนเองจะพบว่าความสุขที่มั่นคงและยั่งยืนตามแนวคิดสุขภาพองค์รวมสามารถนำไปปฏิบัติในวิถีชีวิตจริงได้ด้วยการไม่ยึดมั่นถือมั่นในองค์ความรู้ใดองค์ความรู้หนึ่ง การมีวิจารณญาณ และการมีความเอื้ออาทรอย่างกล้าหาญ ต่อตนเองและสังคม

References

กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

กีรติ บุญเจือ.(2546). ชุดปรัชญาและศาสนาเซนต์จอห์น เล่มสาม ย้อนอ่านปรัชญายุคกลางของมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ: ฐานบัณฑิต.

กีรติ บุญเจือ.(2549). อรรถปริวรรต คู่เวรคู่กรรม ปรัชญาหลังนวยุค. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). สุขภาพองค์รวมคืออะไร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://mt.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2019 /10/ WellnessLeftlet.pdf [4 พฤษภาคม 2565].

จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา และปรียานุช ธรรมปิยา. (2557). ตามรอยพ่อ ชีวิตพอเพียง...สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

เฉลียว ปิยะชน. (2537). อายุรเวช ศาสตร์แห่งชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ซัม สาวพัตร์. (2559). พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส. กรุงเทพฯ: Uraigraphic.

ชุมพล อุ่นพัฒนาศิลป์, (2563). สุขภาพและสงครามภายใต้การนำทางของผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุข: การประสานกันของชุดความคิดและเครือข่ายตัวแสดงเพื่อการกำหนดนโยบายแก้ไขปัญหาการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2563): 77-117.

ปนัดดา ชำนาญสุข. (2559). วาทกรรมลวงๆ ทางการแพทย์และตำรวจ : โลกตำรวจ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.komchadluek.net/scoop/224988 [16 พฤษภาคม 2565].

พัชรินทร์ สิรสุนทร. (2558). ความรู้ อำนาจ และสุขภาพ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัฒนา กิติอาษา. (2549). พหุลักษณ์ทางการแพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม: ทรงเจ้าเข้าผีในวัฒนธรรมสุขภาพไทย (โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (บก.)). กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

เมธา หริมเทพาธิป. (2559). การมีส่วนร่วมในมุมมองหลังนวยุค. รายงานวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

รวิช ตาแก้ว. (2557). ความดีงาม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิเศษ แสงกาญจนวนิช และเอนก สุวรรณบัณฑิต. (2559). การวิเคราะห์การแพทย์แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิต: ระดับใหม่ของสังคมที่ดีขึ้น. รายงานการวิจัย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สิริกร อมฤตวาริน. (2562). ชีวิตที่มีความสุข. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://philosophy-suansunandha. com/2019/10/09/happy-life/ [24 กันยายน 2564].

สุวัฒน์ ทาสุคนธ์. (2559). ความคิดของขงจื๊อเพื่อสังคมที่เป็นสุข. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ ปีที่ 35 ฉบับที่ 1.

สุดธิณีย์ ทองจันทร์. (2563). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยด้วยหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JDAR/article/view/244040 [4 มิถุนายน 2565].

สุภาพร คชารัตน์. (2560). จาก “สุขภาพ” สู่ “สุขภาวะ” : การปฏิรูประบบสุขภาพของวงการสาธารณสุขไทยส่วนหนึ่งในดุษฎีนิพนธ์ เรื่อง “การสถาปนารัฐเวชกรรมผ่านโฆษณาชุดเสริมสร้างสุขภาวะในประเด็นชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาสหวิทยาการ, วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ. (2557). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). การสาธารณสุขไทย 2554-2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). หลักการทรงงาน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.rdpb.go.th/th/King/ [24 ธันวาคม 2564].

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). 2564. พันธกิจของ สปสช. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.nhso.go.th/page/history [24 ธันวาคม 2564].

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). 2564. การบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.nhso.go.th/page/coverage_rights_health_enhancement [24 ธันวาคม 2564].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 2565. ธรรมชาติบำบัด การดูแลสุขภาพแบบยั่งยืน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/blog/myblog/topic/861/ [4 พฤษภาคม 2565].

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ 2559. ประเทศไทยกับธรรมาภิบาลด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (รวิช ตาแก้ว (บก.): ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในฐานะอภิปรัชญาของปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เอนก สุวรรณบัณฑิต. (2560). ปรัชญาจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: บริษัท สุนทรฟิล์ม จำกัด.

Housman J & Odum M. (2015). Essential concepts for healthy living. 7th ed. Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning.

National Geographic Asia. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://ngthai.com/ science/21673/scienctificprocessing/ [24 ธันวาคม 2564].

O'Farrell, C. (2007). Michel Foucauil. London: Sage.

WHO. (2007). World Health Report, A Safer Future: Global Public Health Security in the 21th Century. The World Health Report. Geneva: World Health Organization.

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023